Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25553
Title: การหาความสัมพันธ์ระหว่างโมดูลัสเฉือนกับความเครียดเฉือนโดยเบนเดอร์อิลิเมนต์
Other Titles: Dertermination relashionship between shear modulus and shear strain by bender element
Authors: ณรงค์ศักดิ์ บุญยศ
Advisors: ฐิรวัตร บุญญะฐี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการเกิดขึ้นของความเครียดเฉือนของดินเหนียวธรรมชาติในบริเวณถนนบางนา ตราด กม.29+800 จากการทดสอบการอัดตัวคายน้ำแบบ 1 มิติ (Consolidation Test) โดยวิธีการแพร่กระจายของคลื่น (Wave Propagation) โดยเบนเดอร์อิลิเมนต์ ซึ่งในการใช้วิธีนี้จะต้องพิจารณาคลื่นหลักอยู่ 2 ชนิด คือ P- Wave (compressive Wave) และ S-Wave (Shear Wave) การเคลื่อนที่ของ P-Wave นั้นจะมีผลกระทบเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ผ่านน้ำหรือดินเปียกเนื่องมาจากน้ำเป็นของเหลวที่สามารถรับแรงอัดได้ (Compressible Fluid) ในขณะที่ S-Wave ไม่มีผลกระทบจากน้ำและได้นำทฤษฎีของ Elastic Wave Medium ประยุกต์ใช้ในการทดสอบ ด้วยการหาโมดูลัสโดยการใช้ เบนเดอร์อิลิเมนต์ ซึ่งเป็นการแปรสัญญาณจาก electro-mechanics ที่เป็น พลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าและในทางกลับกันเปลี่ยนพลังไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เบนเดอร์อิลิเมนต์เป็น piezo- ceramic plate 2 แผ่นมาประกบกัน สามารถใช้ได้เป็นทั้งตัวส่งและตัวรับคลื่น อีกทั้งการใช้วิธีเบนเดอร์อิลิเมนต์ยัง ง่ายและสามารถหาค่าโมดูลัสเฉือนระหว่างการทดสอบแรงเฉือน,อิ่มตัวด้วยน้ำของตัวอย่างและ การอัดตัวคายน้ำ ขณะที่วิธีอื่นๆ ทำไม่ได้ จากการทดสอบการด้วยเทคนิคที่นำเสนอนั้นได้ใช้ความถี่ที่ 0 - 500 Hz ในการกำเนิดคลื่นแรงเฉือน พบว่า เมื่อเพิ่มความถี่ของคลื่นแรงเฉือนจะเป็นผลทำให้เวลาในการเคลื่อนที่ของคลื่นลดลง และเนื่องระยะในการเคลื่อนที่มีค่าคงที่ ดังนั้นค่าความเร็วคลื่นแรงเฉือนที่คำนวณได้จึงมีค่าเพิ่มขึ้นและเป็นสัดส่วนเชิงเส้นกับความถี่ที่ใช้ กำเนิดคลื่นดังนั้นเมื่อความเร็วของคลื่นแรงเฉือนเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าโมดูลัสเฉือนที่คำนวณได้ตามทฤษฎีข้างต้นก็จะมี ค่าเพิ่มขึ้นตามความถี่ที่เพิ่มขึ้นด้วย จากการทดสอบการด้วยเทคนิคที่นำเสนอนั้นได้ใช้ความสูงคลื่น 0-120 Volt ในการกำเนิดคลื่นแรงเฉือน พบว่า เมื่อเพิ่มขนาดของคลื่นแรงเฉือนจะไม่ส่งผลต่อเวลาในการเคลื่อนที่ของคลื่นแรงเฉือน และเนื่องระยะในการ เคลื่อนที่มีค่าคงที่ ดังนั้นค่าความเร็วคลื่นแรงเฉือนที่คำนวณได้จึงมิค่าคงที่ไปตลอดทุกความสูงของคลื่นแรงเฉือนที่ใช้ ดังนั้นเมื่อความเร็วของคลื่นแรงเฉือนคงที่และนำมาค่าโมดูลัสเฉือนที่คำนวณได้ตามทฤษฎีข้างต้นก็จะมีค่าคงที่ ทุกความสูงของคลื่นแรงเฉือนที่ใช้ แต่จะส่งผลให้คลื่นแรงเฉือนที่เคลื่อนที่ผ่านมวลดินมีความสูงของลูกคลื่นมากขึ้น ทำให้การเคลื่อนตัวของอนุภาคมวลดินมีค่ามากตามไปด้วย จึงทำให้เกิดความเครียดเฉือนมากขึ้นและเป็นสัดส่วน เชิงเส้นกับความสูงคลื่นของคลื่นแรงเฉือน
Other Abstract: This research has studied on behavior of generating of shear strain in natural clay nearby Bang-na Trad road km:29+800. This test is consolidation test and wave propagation by Bender element in this method, it has to be considered two main kinds of waves : P-Wave (Compressive Wave) and S-Wave (Shear Wave). The motion of P-Wave receives an influence from water when it moves through water or wet clay. This is because water can get compressible fluid, while S-Wave do not receive impact from water. And Elastic wave medium theory is also applied to this test. Calculating modulus by Bender element is a signal translation from electro-mechanic that is mechanic energy to electronic energy and vice versa. เบนฯ is two pieces of piezo-ceramic plate. It can use for wave sender or receiver. Bender element is also available and can find shear modulus, situation and consolidation, while other methods cannot do. Based on this test, using frequency of 0-500 Hz. we found that when increasing frequency of shear wave, the time in motion of wave reduced. And because the distant is constant, so the speed of shear wave increase and relate linearly to frequency generating wave. So when the speed of shear wave increases, it make shear modulus calculated from this theory increase as well. Based on this test, using frequency 0-120 Volt, we found that when increasing shear wave, it did not impact on the time of motion of shear wave. And because the distant is constant, so the speed of shear wave calculated is constant in any height of shear wave. When the speed of shear wave is constant, the shear modulus calculated from this theory will be constant in any height of shear wave. But this will make shear wave moving through clay have more wave height. And that increases motion of particle and causes more shear strain related linearly with the height of shear wave
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25553
ISBN: 9745310344
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narongsak_bu_front.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Narongsak_bu_ch1.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Narongsak_bu_ch2.pdf8.92 MBAdobe PDFView/Open
Narongsak_bu_ch3.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open
Narongsak_bu_ch4.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Narongsak_bu_ch5.pdf904.75 kBAdobe PDFView/Open
Narongsak_bu_back.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.