Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25672
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมในพุทธปรัชญากับปรัชญาเชน |
Other Titles: | A comparative study of the concept of Karma in the philosophy of Buddhism and Jainism |
Authors: | รุ่งทิพย์ กิจทำ |
Advisors: | สุนทร ณ รังษี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จุดมุ่งหมายในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมในพุทธปรัชญากับปรัชญาเชน ซึ่งเป็นปรัชญาอินเดียสายนาสติกะที่ไม่ยอมรับความถูกต้องและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท และต่างก็เป็นปรัชญาอเทวนิยมคือไม่เชื่อในพระเป็นเจ้าปรัชญาทั้งสองระบบนี้มีความเชื่อในหลักกรรมซึ่งเกี่ยวโยงไปถึงเรื่องเกิดใหม่ โดยมีความเชื่อคล้ายกันว่า กรรมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดสภาพชีวิตของมนุษย์ที่ท่องเที่ยวเวียนว่าตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ มนุษย์จะเป็นอะไร อย่างไร จะประสบสุขทุกข์ในชีวิตอย่างไรขึ้นอยู่กับกรรมที่เขาเคยกระทำไว้ในอดีต และที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบัน ส่วนในอนาคตบุคคลจะมีสภาพชีวิตเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของเขาในอดีตและในปัจจุบันรวมกัน ฉะนั้นตามทรรศนะของพุทธปรัชญาและปรัชญาเชน มนุษย์จึงเป็นผู้กำหนดวิถีและสภาพชีวิตของตนด้วยการกระทำของตนเอง การวิจัยทำให้ได้ทราบต่อไปว่า พุทธปรัชญากับปรัชญาเชนแม้จะเชื่อในเรื่องกรรมเหมือนกัน แต่ก็เน้นเรื่องกรรมต่างกัน คือ ในกรรม 3 อย่างที่แบ่งตามช่องทางแห่งการกระทำ อันได้แก่ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม นั้น พุทธปรัชญาเน้นมโนกรรมว่ามีบทบาทมากที่สุดในเรื่องความหนักเบาของกรรม กายกรรมและวจีกรรมจะเป็นกรรมไม่ได้ถ้าไม่มีมโนกรรม คือเจตนาเข้าไปประกอบด้วย ส่วนปรัชญาเชนกลับเน้นกายกรรมว่าสำคัญที่สุด และให้ผลรุนแรงมากกว่ากรรมที่ทำทางวาจาและใจ จากการศึกษาเปรียบเทียบทำให้พบว่า ปรัชญาเชนได้แบ่งกรรมออกเป็นประเภทย่อย ๆ มากมายเช่นเดียวพุทธปรัชญา แต่การเปรียบเทียบกรรมชนิดต่าง ๆ ของเชนกับกรรมชนิดต่าง ๆ ของพุทธปรัชญาเป็นสิ่งที่กระทำได้ยากอย่างยิ่ง เพราะต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักคำสอนเรื่องกรรมของทั้งสองระบบ ซึ่งการจะมีความเข้าใจดังกล่าวนี้อาจต้องใช้เวลาศึกษาตลอดชีวิต ฉะนั้นการเปรียบเทียบที่พยายามกระทำในงานวิจัยเรื่องนี้จึงเป็นการเปรียบเทียบเท่าที่มองเห็นว่าพอจะเปรียบเทียบกันได้แต่การเปรียบเทียบกรรมชนิดต่าง ๆ ของปรัชญาเชนกับพุทธปรัชญาเท่าที่ได้กระทำก็เพียงชี้ให้เห็นความคล้ายกันในลักษณะใหญ่ ๆเท่านั้น เช่นเปรียบเทียบพหุลกรรมของพุทธปรัชญากับเวทนียกรรมและโมหณียกรรมของปรัชญาเชน ชนกกรรมของพุทธปรัชญา กับโคตรกรรม ของปรัชญาเชน อุปฆาตกรรมของพุทธปรัชญา กับอันตริยกรรมของปรัชญาเชน เป็นต้น การวิจัยทำให้พบลักษณะแห่งความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับหลักคำสอนเรื่องกรรมของพุทธปรัชญากับปรัชญาเชน นั่นก็คือ กรรมในพุทธปรัชญามีลักษณะเป็นพลังงานแฝงที่แฝงอยู่กับตัวผู้กระทำ ถ้าหากยังไม่สามารถให้ผลในทันทีทันใดก็จะคอยให้ผลเมื่อสบโอกาสจนกว่าจะให้ผลเสร็จแล้วหรือหมดโอกาสให้ผลจึงจะสลายไป ส่วนกรรมตามทรรศนะของเชนนั้นมีลักษณะเป็นสสาร นั่นคือ เมื่อผู้กระทำได้กระทำกรรมลงไปแล้ว กรรมจะมีสภาพเป็นอณู หรืออนุภาคเล็ก ๆ แล้วถูกกิเลสที่เรียกว่า กษายะดึงดูดให้ซึมซาบเข้าไปเกาะติดอยู่ที่ชีวะ ทำให้ชีวะเศร้าหมองอันเป็นสาเหตุให้ชีวะต้องติดข้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ เมื่อใดสามารถขจัดอนุภาคของกรรมให้หลุดออกไปได้หมด เมื่อนั้นชีวะจึงจะเข้าถึงความหลุดพ้นหรือโมกษะตลอดไป นอกจากได้เปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมแล้ว ผู้วิจัยได้เปรียบเทียบเรื่องความหลุดพ้นของเชนกับพุทธปรัชญาในขอบเขตจำกัดด้วย เพราะปัญหาเรื่องความหลุดพ้นเกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องกรรมด้วย จากการเปรียบเทียบทรรศนะเรื่องกรรมระหว่างพุทธปรัชญากับปรัชญาเชนที่ได้ทำแล้วส่วนหนึ่งในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า ยังมีเรื่องที่ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างปรัชญาทั้งสองระบบนี้อีกมาก เช่นเรื่องความหลุดพ้นที่ควรจะได้เจาะจงศึกษาโดยเฉพาะเรื่องหลักจริยธรรมของทั้งสองระบบ เป็นต้น |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study comparatively the concept of Karma of Buddhism and Jainism belong to the Nastika tradition of Indian philosophy. These two systems of Indian thought subscribe to the belief in the doctrine of Karma in relation to the belief in rebirth. Both systems have a similar view that Karma has a dominant role in determining the nature and circumstances of human life while wondering in Samsara. Whatever and however a man will be, happiness or suffering he will have, in his present life depending on what he did in the past and is doing at present. Whatever and however he will be in the future depending on the sum total of his past and present Karma. Therefore according to Buddhism and Jainsm a man himself is the determiner of his own life by his own actions. The research gives a further information that although Buddhism and Jainism believe in the law of Karma, both have some different points of view. In 3 Kinds of Karma, namely, Kaya-kamma, vaci-kamma and Mono-kamma, Buddhism lays stress on Mano-Kamma in producing a heavier result; without an association of Mono-kamma, bodily action and verbal action cannot be called Karma. In this connection the Jaina lays stress on Kaya-Kamma as the most powerful of all actions performed through body, words and thought. A Comparative study reveals that Jainism has devided Karma into many Kinds like Buddhism. Comparison, however, of the doctrine of Karma of both systems is the utmost difficult task, for it requires a comprehensive and deep understanding of the doctrine of both systems. Such understanding may probably require a life-long study. A Comparison made in this research is, therefore, limited in scope, i.e., only some visible similarities and differences have been taken up to compare with one another; e.g. to compare Bahula-Bamma of Buddhism with Vedaniya-kamma and Mohaniya-kamma of Jainism, Buddhist Janaka –kamma with Jaina Gotra-kamma, Buddhist Upaghata-kamma with Jainna Antariya-kamma,etc. A significant difference is also found in the research, Viz., while Karma of Buddhism is a king of unseen power inherent in the performer of action which, if unable to produce its fruit immediately, will wait its appropriate time to give its result and then dissolves, the Jaina Karma is a kind of material substances. This Karmic substance will be absorbed into the Jiva by defilements called Kasaya which cousequently makes Jiva become defiled. The Jaina maintains that only when this karmic matter has been got vid of the Jiva will then attain liberation once and for all. Apart from comparing the doctrine of Karma of the two systems the concept of liberation has also been compared in a limited scope, ad this concept is to some extent related to the Karma doctrine. The writer would like to suggest that apart from the comparing of the concept of Karma already made in this research other significant concepts of the two systems such as the concept of liberation, the concept of morality, etc. should be studied and compared in the same manner. Such a study will be undoubtedly helpful to the study of Indian philosophy in general. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25672 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Roongtip_Ki_front.pdf | 450.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongtip_Ki_ch1.pdf | 343.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongtip_Ki_ch2.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongtip_Ki_ch3.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongtip_Ki_ch4.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongtip_Ki_ch5.pdf | 443.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Roongtip_Ki_back.pdf | 284.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.