Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25729
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพินธุ์ ชาติอัปสร
dc.contributor.advisorอรรถ ช่อผกา
dc.contributor.authorชาลินี นาคเวก
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-23T12:30:17Z
dc.date.available2012-11-23T12:30:17Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745636975
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25729
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractประเทศไทยได้มีการเลี้ยงปลาไหลมากว่า 10 ปีแล้ว แต่คนไทยไม่นิยมบริโภค การเลี้ยงจึงมุ่งเพื่อส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศ พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงคือปลาไหลญี่ปุ่น (Anguilla Japonica) เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เลี้ยงง่ายและมีผู้บริโภคกันอยู่ทั่วไป เพราะมีเนื้อนุ่มรสดี และเชื่อกันว่าเป็นยาบำรุงกำลัง แก้โรคลม ปวดเมื่อย เคล็ดยอก ทำให้ร่างกายอบอุ่น จึงมีราคาแพง พันธุ์ปลาไหลที่เลี้ยงนี้ได้มาจากแหล่งพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์ยังไม่สามารถผสมพันธุ์ปลาไหลนี้ได้เองจึงต้องออกไปดักจับในทะเลหรือตามปากแม่น้ำและนำมาเลี้ยงจนได้ขนาดที่อาจขายให้เอาไปเลี้ยงต่อเรียกว่า “กูโรโกะ” ซึ่งมีน้ำหนัก 300-500 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม และอาจเลี้ยงจนมีขนาดใหญ่ถึง 5-6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม สำหรับผู้ซื้อไปบริโภค ในการศึกษาต้นทุนปลาไหลญี่ปุ่นนี้ได้เลือกจากรุ่นที่เลี้ยงในปี 2525 ซึ่งใช้เวลาในการเลี้ยงตามเป้าหมายคือ 16 เดือน แต่สามารถขยายได้หมดในเดือนที่ 23 โดยเมื่อเลี้ยงไปได้ 6 เดือนก็ขายกูโรโกะไปบางส่วน และทยอยขายที่เหลือไปในเดือนที่ 12, 16 และ 23 ในขณะเดียวกัน เมื่อเลี้ยงไปถึงเดือนที่ 13 ก็ได้สั่งพันธุ์ปลารุ่นปี 2526 เข้ามาเลี้ยงอีก จึงมีการแบ่งเฉลี่ยต้นทุนบางส่วนให้กับปลาไหลรุ่นใหม่ด้วย พันธุ์ปลารุ่นปี 2525 นี้ซื้อมา 1,500,000 ตัว เหลือรอดชีวิตจนถึงขนาดที่ตลาดต้องการเพียง 1,143,750 ตัว เพราะสูญเสียในช่วงแรกของการเลี้ยงจนเป็นกูโรโกะไป 15% และสูญเสียในช่วงต่อมาอีก 15% ของที่เหลือ จากการวิเคราะหืได้ต้นทุนกูโรโกะตัวละ 6.19 บาท ปลาไหลที่เหลือซึ่งเลี้ยงเพื่อชายให้ผู้บริโภคได้มีการขายไปในเดือนที่ 12, 16 และ 23 และมีต้นทุนต่อตัวตามลำดับดังนี้คือ 19.82, 23.23 และ 33.82 บาท ซึ่งมีต้นทุนค่าพันธุ์ปลาเป็น 65.10%, 20.33%, 17.35% และ 11.92% ของต้นทุนทั้งหมดในการขายกูโรโกะเมื่อสิ้นเดือนที่ 6 และการขายปลาไหลในเดือนที่ 12, 16 และ 23 ส่วนต้นทุนอื่นที่เห็นได้ชัดคือค่าอาหาร ซึ่งมีอัตราส่วน 7.77%, 12.26%, 19.15% และ 27.72% ของต้นทุนทั้งหมดในการขายกูโรโกะ และเมื่อมีการขายในเดือนที่ 12, 16 และ 23 ซึ่งทำให้สรุปได้ว่า ต้นทุนหลักใน 2 ระยะแรกคือเมื่อขายกูโรโกะในเดือนที่ 6 และการขายปลาไหลในเดือนที่ 12 คือค่าพันธุ์ปลา ส่วนต้นทุนหลักใน 2 ระยะหลังคือเมื่อขายปลาไหลในเดือนที่ 16 และ 23 คือค่าอาหาร ฝ่ายบริหารจะใช้ต้นทุนเหล่านี้ประกอบกับการตัดสินใจว่าจะเลี้ยงต่อไปหรือจะขายในช่วงเวลาต่าง ๆ กันอย่างไรบ้าง และนอกจากนี้ยังอาจใช้ต้นทุนเหล่านี้ในการวางแผนถึงจำนวนปลาไหลที่จะซื้อเข้ามาเลี้ยงในรุ่นต่อไป รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการเลี้ยงและจำนวนที่จะขายด้วยว่าจะขายกูโรโกะจำนวนเท่าใด และเลี้ยงต่อจนได้ขนาดที่ต้องการจำนวนเท่าใด ปัญหาสำคัญของผู้ทำฟาร์มปลาไหลญี่ปุ่นคือ ราคาอาหารปลามีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ราคาขายปลาไหลญี่ปุ่นในตลาดสากลมีแนวโน้มต่ำลง ซึ่งปัญหานี้น่าจะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐบาลในการควบคุมราคาอาหารปลาเพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อส่งออกให้มีต้นทุนต่ำเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ ปัญหาเรื่องพันธุ์ปลาซึ่งมนุษย์ยังไม่สามารถหาทางเพาะขยายพันธุ์ได้เอง ปัญหาเรื่องน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาไหลก็เป็นปัญหาที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะมีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาไหล ดังนั้นจึงต้องมีการใช้เทคนิคทั้งทางวิชาการและจากประสบการณ์ในการควบคุมอุณหภูมิของน้ำ การระบายน้ำ และการปรับคุณสมบัติของน้ำให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาไหล นอกจากนี้การเลี้ยงปลาไหลยังต้องใช้น้ำบาดาลซึ่งเป็นน้ำตามธรรมชาติ ถ้ารัฐบาลมีนโยบายจะไม่ให้สูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้เพื่อป้องกันการทรุดตัวของแผ่นดิน ฟาร์มปลาไหลก็จะประสบกับปัญหาเป็นอย่างมาก เพราะการใช้น้ำประปาซึ่งมีคลอรีนผสมอยู่จะต้องผ่านน้ำเข้าเครื่องสกัดคลอรีนเสียก่อน ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนในอุปกรณ์เหล่านี้อีกเป็นจำนวนมากด้วย อย่างไรก็ตาม การทำฟาร์มปลาไหลต้องใช้เงินลงทุนสูงและต้องอาศัยเทคนิคในการเลี้ยงและการบริหารที่ดีด้วยจึงจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายได้
dc.description.abstractalternativeThere has been an eel culture in Thailand for more than 10 years. Ironically, this type of eels is not popular to Thai consumers. Eel farmers therefore, do the business with exporting purpose. The most popular type of eel culture is the Japanese eel. It has become popular because it can be easily cultured, it is nourishing, tasty and presumably has some medical properties. It serves as a health tonic, prevents a stroke, helps in the recovery of stiff, aching muscle and muscle sprains, and keeps the consumers’ bodies warm. This type of eels is therefore more expensive than others. The eels are found only in nature. There has not been any artificial reproductive method for breeding. The only way for eel culture is fishing for them in the sea or around the estuary and feeding them in the pond until they are big enough. They can then be sold either to farmers who will continue feeding them and resell them in the future, this is usually done when eels, called Kuroko, are at the size when 300-500 of them weight 1 kilogram, or they can be sold directly to the consumers when they are of a size when 5-6 of them weigh 1 kilogram. The cost study on these Japanese eels was restricted to the 1982 cultured crop. This crop had been nourished for 16 months as previously planned but was totally sold in the 23rd month. Part of the crop was sold at the 6th month, when they were at kuroko size. The rests were partially sold at the 12th, 16th and lastly at the 23rd month. Meanwhile, eels of the 1983 cultured crop were brought into the farm at the 13th month. Expenses incurred since then were allocated between the two crops. There were 1,500,000 eels in the first crop. Loss, amounting to approximately 15 percent of the total crop would occur between the period from the beginning of the culture and the time eels are at kuroko size. The second loss, about 15% of the remaining, occurred during the period from kuroko size to selling time. The residue left for sale would be about 1,143,750 fish. Results of the analysis reveal that the cost of kuroko culture was Bahts 6.19 each while that of eel when sold at the 12th, 16th and 23rd month was Bahts 19.82, Bahts 23.23 and Bahts 33.82 each respectively. Breeding cost of eel when sold at the 6th, 12th, 16th and 23rd month was 65.10%, 20.33%, 17.35% and 11.92% of the total cost respectively. Another prominent cost was the cost of food which was 7.77%, 12.26%, 19.15% and 27.72% of the total culture cost for eels sold at the 6th, 12th, 16th and 23rd month respectively. Thus it can be summarized that the significant cost for the culture of eel up to 6th, 12th month was the breeding cost, while that of the two further stages of culture was the food cost. This knowledge should be beneficial to those engaged in eel culture in making decisions for the period of culture to be undertaken, the number of eels to be sold at different stages of culture. There are, however, several problems concerning eel culture. The price of fish feed is continuously increasing while the price of Japanese eels in the world market has a tendency to drop. In order to help promoting exporting of Japanese eels, Thai Government should assist by controlling the price of fish feed so that Thai exporters could complete with others. Water is also another problem since it significantly affects the growth of eels. Improved techniques are needed to control the water temperature, water circulation and water quality so that it is suitable for the culture and development of Japanese eels. At present underground water is the primary source of water used in the farm. If this practice is forbidden in order to stop land subsidence, the use of water supplied by the Water Works Authority would cause an additional cost, since it contains high content of chlorine which has to be got rid of before the water can be used by the farm. In order to be successful, eel culturing needs high investment, sufficient technical knowhow as well as good planning and good management.
dc.format.extent506030 bytes
dc.format.extent350376 bytes
dc.format.extent387392 bytes
dc.format.extent893417 bytes
dc.format.extent780252 bytes
dc.format.extent315361 bytes
dc.format.extent411182 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleต้นทุนการเลี้ยงปลาไหลญี่ปุ่นเพื่อการส่งออกen
dc.title.alternativeThe cost of eel (anguilla japonica) culture for export purposesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalinee_Na_front.pdf494.17 kBAdobe PDFView/Open
Chalinee_Na_ch1.pdf342.16 kBAdobe PDFView/Open
Chalinee_Na_ch2.pdf378.31 kBAdobe PDFView/Open
Chalinee_Na_ch3.pdf872.48 kBAdobe PDFView/Open
Chalinee_Na_ch4.pdf761.96 kBAdobe PDFView/Open
Chalinee_Na_ch5.pdf307.97 kBAdobe PDFView/Open
Chalinee_Na_back.pdf401.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.