Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25755
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ-
dc.contributor.authorชมพูนุท เติมสายทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-11-24T03:09:13Z-
dc.date.available2012-11-24T03:09:13Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25755-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดสัดส่วนของเสีย และมูลค่าความสูญเสียที่เกิดจากการแก้ไขและกำจัดชิ้นงานที่เกิดจากข้อบกพร่อง 2 ชนิด ได้แก่ ครีบย่น และขนาดไม่ตรงตามพิมพ์เขียว ซึ่งข้อบกพร่องทั้งสองมีสัดส่วนของเสียเท่ากับ71.80 % และ 77.11 % ตามลำดับ โดยการดำเนินงานได้ใช้หลักการซิกซ์ซิกม่าในการปรับปรุงกระบวนการ โดยมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนของเสียอย่างน้อย 50 % จากการผลิตปัจจุบัน ในการดำเนินงานวิจัยด้วยวิธีซิกซ์ซิกม่าประกอบด้วย 5 ขั้นตอน เริ่มจากระยะการนิยามปัญหาได้ศึกษาสภาพปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการปรับปรุง ในระยะการวัดเพื่อกำหนดสาเหตุของปัญหา ได้ทำการวิเคราะห์ระบบการวัดสำหรับข้อมูลเชิงคุณลักษณะ ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ความแม่นและความเที่ยงของระบบการวัด และการวัดประสิทธิผลของระบบการวัดแล้ววิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการผลิตในปัจจุบัน จากนั้นทำการระดมสมองหาปัจจัยนำเข้าที่อาจมีผลต่อข้อบกพร่องครีบย่น และขนาดไม่ตรงตามพิมพ์เขียว โดยใช้แผนภาพและตารางแสดงความสัมพันธ์ของสาเหตุและผล และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบในระยะการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาได้ทำการออกแบบการทดลองในปัจจัยคุณลักษณะ จากนั้นในระยะการปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้ทำการปรับปรุงปัจจัยแปรผัน เพื่อทำให้ค่าสัดส่วนของเสียมีค่าน้อยที่สุด และระยะสุดท้าย คือ ระยะการทดสอบยืนยันผลและติดตามควบคุม ได้ทำการทดสอบยืนยันผลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยได้จัดทำแผนควบคุมและมาตรฐานการปฏิบัติงานเพื่อควบคุมกระบวนการหลังการปรับปรุงหลังจากการปรับปรุงสามารถลดสัดส่วนของเสียในข้อบกพร่องครีบย่น และขนาดไม่ตรงตามพิมพ์เขียวเหลือ 20 % และ 11 % จากสัดส่วนของเสียเดิม 71.80 %และ 77.11 % ตามลำดับ และสามารถลดมูลค่าความสูญเสียได้ 462,135 บาทต่อการผลิต 12,798 ชิ้นหรือคิดเป็น554,562 บาทต่อปีen
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to reduce defective rate and total defective cost due to wrinkling and out of standarddefects, which have 71.80 % and 77.11 % defective rate respectively. This thesis applies the Six Sigma approach with the aim to reduce 50 % of defective rate. This thesis applied Six Sigma approach, which consisted of 5 phases. In the define phase, the problem, objective and scope were defined. Next, in the measure phase, attribute agreement analysis was evaluated for accuracy, precision and effectiveness of the measurement system. Then, process capability analysis was performed and possible causes of wrinkling and out of standard were brainstormed and analyzedin the cause and effect diagram, cause and effect matrix and failure mode and effects analysis (FMEA). In the analysis phase, the design of experiment was applied to test significant attribute factors affecting the defective. Next, in the improvement phase,variable factors were improved to yield the smallest proportion of defective. Finally, in control phase,confirmatory experiment was performed for 2 weeks. Moreover, the new control plan and work instruction were developed in order to control the process after improvement. The improvement result was the defective rate of wrinkling and out of standard was decreased from 71.80 % and 77.11 % to 20 % and 11 % respectively.This reduction led to the net saving of 462,135 baht from 12,798produced pieces or equivalent to 554,662 baht per year.en
dc.format.extent3740345 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1855-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการขึ้นรูปลึก (งานโลหะ) -- การลดปริมาณของเสียen
dc.subjectซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)en
dc.subjectการลดปริมาณของเสียen
dc.titleการลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่นสำหรับโครงหลังคาเหล็กรถกระบะen
dc.title.alternativeDefective reduction in metal sheet forming process for pick up metal roofen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisornapassavong.o@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1855-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chompunoot_te.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.