Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25761
Title: การดำเนินงานในการให้สินเชื่อการเกษตรของสหกรณ์การเกษตร
Other Titles: The credit provision activities of the agricultural cooperatives
Authors: สุรัชนา พงศ์อนันต์
Advisors: สุภชัย มนัสไพบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สหกรณ์การเกษตรเป็นสหกรณ์ที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยผลแห่งความพยายามของรัฐบาลในอันที่จะแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานของสหกรณ์หาทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการให้สินเชื่อแก่สมาชิกเกษตรกร ให้มีความเหมาะสมแก่สภาพการผลิตทางการเกษตร และให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น การจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้นในระยะแรกตั้งแต่ปีพ.ศ.2502 จนถึง พ.ศ. 2511 เป็นการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรขึ้นในรูปของสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรม ซึ่งเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ระดับอำเภอ มีสมาชิกจำนวนมากและมีการดำเนินงานหลายอย่างนอกเหนือจากการให้สินเชื่อแก่สมาชิก อันเป็นผลให้สหกรณ์สามารถให้บริการที่อำนวยประโยชน์แก่สมาชิกได้ดีกว่าสหกรณ์หาทุนขนาดเล็กเป็นอย่างมาก และจากผลสำเร็จจากการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรมนี้เอง ในปี พ.ศ. 2512 รัฐบาลก็ได้เริ่มทำการควบสหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่มีอยู่เข้าด้วยกันเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ระดับอำเภอ และมีการดำเนินงานเช่นเดียวกับสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรม พร้อมกับได้ทำการเปลี่ยนชื่อสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรมและสหกรณ์หาทุนที่ควบเข้าด้วยกันนี้เสียใหม่เป็นสหกรณ์การเกษตร จากการศึกษาข้อมูลในรายงานการเงินประจำปีของสหกรณ์การเกษตรของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เอกสาร และบทความทั้งของทางราชการและเอกชน ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการสหกรณ์หลายท่านได้พบว่า ในปัจจุบันมีสหกรณ์การเกษตรประเภทธนกิจนี้ทั้งหมดจำนวน 401 สหกรณ์ มีสมาชิก 171,306 คน หรือเฉลี่ยสหกรณ์ละ 427 คน และปรากฏว่าการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรในรูปสหกรณ์เครดิตเพื่อผลิตกรรมในระยะแรกนั้นแม้ว่าจะได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ภายหลังการควบสหกรณ์หาทุนเข้าเป็นสหกรณ์การเกษตรตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 เป็นต้นมา การดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรโดยทั่วไปกลับไม่ได้รับผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะสหกรณ์การเกษตรที่เกิดจากการควบสหกรณ์หาทุนยังมีความสามารถในการจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ ประกอบกับสมาชิกส่วนใหญ่ที่มาจากสหกรณ์หาทุนยังเป็นผู้มีฐานะยากจน มีการศึกษาต่ำ และมีความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการดำเนินงานในแบบสหกรณ์น้อยกว่าที่ควร ทำให้การจัดการและการบริหารงานของสหกรณ์เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพมากนัก และยากที่สหกรณ์จะประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรโดยทั่วไปได้ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานเป็นอย่างดี ผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงแนะนำข้อคิดเห็นและแนวทางในการที่จะปรับปรุงและส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรไว้หลายประการ ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้ ประการแรก จะต้องมีการปรับปรุงคุณลักษณะของสมาชิกสหกรณ์เสียใหม่ โดยสหกรณ์ควรเข้มงวดในการคัดเลือกสมาชิกให้มากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าเป็นสมาชิกให้มากขึ้น พร้อมทั้งพยายามปลดถ่ายสมาชิกที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมออกไป ประการที่สอง จะต้องมีการปรับปรุงในการบริหารและการจัดการภายในสหกรณ์เสียใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยจะต้องมีการให้การศึกษาอบรมทั้งในด้านหลักและวิธีการสหกรณ์ตลอดจนการดำเนินธุรกิจให้แก่กรรมการและสมาชิกสหกรณ์ให้มากขึ้นกว่าเดิม และสหกรณ์ควรพยายามจัดจ้างบุคคลที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในสหกรณ์มากขึ้น ยิ่งกว่านั้นสหกรณ์ควรดำเนินงานในด้านอื่น ๆ เช่น ในการจัดซื้อวัสดุการเกษตร การจัดขายหรือแปรรูปผลผลิตของสมาชิกควบคู่ไปกับการดำเนินงานด้านสินเชื่อด้วย เพราะการดำเนินงานในด้านอื่น ๆ เหล่านี้จะมีส่วนช่วยเหลือให้การดำเนินงานด้านสินเชื่อของสหกรณ์ประสบผลสำเร็จเร็วขึ้น ประการที่สาม ในการจัดหาเงินทุนเพื่อนำมาให้สมาชิกกู้ยืมนั้น สหกรณ์จะต้องพยายามสร้างเงินทุนของตนเองขึ้นมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในทุกวิถีทางและในขณะเดียวกันแหล่งเงินทุนภายนอกของสหกรณ์ที่สำคัญที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรก็ควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการให้เงินกู้แก่สหกรณ์เสียใหม่ เพื่อให้สหกรณ์สามารถกู้ยืมเงินทุนไปดำเนินงานให้มากขึ้นและสะดวกขึ้น ประการสุดท้าย รัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรให้มากขึ้นกว่าเดิมทั้งโดยทางตรง คือการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน การจัดการ และการบริหารงาน และโดยทางอ้อมในรูปของบริการสาธารณประโยชน์ การจัดสร้างระบบตลาดที่มีประสิทธิภาพและบริการอื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สหกรณ์มีฐานะการดำเนินงานที่มั่นคงเข้มแข็ง และสามารถดำเนินงานให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรโดยทั่วไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
Other Abstract: Agricultural cooperatives are established by the government to improve the operation of village credit cooperatives, especially in granting credits and loans to farmer-members for production purpose. The type of agricultural cooperative established during 1959 to 1968 was the co-operative credit societies at an amphoe (district) level. Because of its large size and multi-purpose nature, this type of cooperatives can provide more efficient services to member better than the small sized credit societies. The success of Production Credit Cooperatives convinced the government to organize more large size co-operative societies at district level by way of amalgamating small village credit societies starting in 1969. In the mean time, the production credit cooperatives and the small village credit societies which were merged together have been known as the agricultural cooperatives. From the study of financial statement of the cooperative Audit Department, governmental and private documents and also from the interview arranged with persons concerned with cooperatives work, the finding are presented as follows: In Thailand at the present time, there are 401 agricultural cooperatives with 171,306 members or the average of 427 members for each society. In the beginning, the operations of agricultural cooperative in the form of production credit cooperation have been satisfactory. However, after the amalgamation of small village credit societies since 1969, the progress of the cooperatives has slow due to shortage of fund for lending operations. Moreover, they have been facing with the problems of low formal education in addition to poverty and inexperience in cooperative movement among their members. Thus, the societies have the difficulties of attaining the operational goal in a reasonable period of time. The researcher would like to make some important suggestions for developing and improving the performance of agricultural cooperatives as follows: First, there must be restrictive requirements in admitting qualified members and dismissing the disqualified ones at the time. Second, there must be improvement of management and administration by means of training and providing more knowledge of business methods together with cooperative education for members and committies. They should employ high caliber of managerial personnel. Moreover, cooperatives should dressify their activities into distributing and processing member’s products as well as granting loans and credits. Since these business activities would promote loans operations to greater efficiency. Third, cooperatives should collect their own fund as much as possible for credit operations. Meanwhile, the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives which is the most important external source of fund for cooperatives should review the loan policy and operation, the Bank would then make loans to societies with larger amount of money and with more convenient terms for cooperatives. Finally, the government should promote and assist the activities of cooperatives directly and indirectly. Direct assistance could come in the form of free use of government facilities. These will help cooperatives to attain greater efficiency that will serve farmers more satisfactorily in the near future.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2517
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25761
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachana_Pa_front.pdf589.91 kBAdobe PDFView/Open
Surachana_Pa_ch1.pdf630.54 kBAdobe PDFView/Open
Surachana_Pa_ch2.pdf614.71 kBAdobe PDFView/Open
Surachana_Pa_ch3.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Surachana_Pa_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Surachana_Pa_ch5.pdf957.59 kBAdobe PDFView/Open
Surachana_Pa_ch6.pdf949.71 kBAdobe PDFView/Open
Surachana_Pa_back.pdf426.49 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.