Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25800
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิชัย รุจิระชุณห์-
dc.contributor.advisorวรวรรณ ชัยอาญา-
dc.contributor.authorวิไลวรรณ อัศวกุล-
dc.contributor.illustratorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-24T05:56:55Z-
dc.date.available2012-11-24T05:56:55Z-
dc.date.issued2523-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25800-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2523en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาความเป็นมาของการจัดตั้งและการบริหารงานโครงการเลี้ยงไก่ไข่ ของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ หมู่บ้านที่ 1 ในโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ฯ และของบริษัทเอกชนที่ร่วมโครงการ ระหว่าง พ.ศ.2520 – 2521 และศึกษาปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ รวมทั้งสภาพทั่วไปและฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรหมู่บ้านสหกรณ์ที่ 1 โดยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐานต่างๆ รายงานการประชุมของโครงการ งบการเงินโครงการเลี้ยงไก่ไข่ สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่บริษัทและสอบถามสมาชิกเกษตรกร ผลที่ได้รับจากการวิจัยมีดังนี้ โครงการเลี้ยงไก่ไข่ได้จัดตั้งขึ้นด้วยการสนับสนุนของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด ธนาคารกรุงไทย จำกัด สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ หมู่บ้านที่ 1 เพื่อให้สมาชิกเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพเสริมและเพิ่มรายได้ขึ้น เนื่องจากรายได้จากการเพาะปลูกไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว การบริหารงานโครงการเลี้ยงไก่ไข่นี้มีผู้ร่วมดำเนินงาน คือ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ฯ เป็นผู้ดำเนินงานโครงการธนาคารกรุงไทย จำกัด เป็นผู้สนับสนุนด้านเงินลงทุน สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้ประสานงานและควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบริษัทฯ ในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้ของเกษตรกรนั้น เป็นผู้รับผิดชอบในการให้คำแนะนำการวางแผนการผลิตการจัดจำหน่ายผลผลิต และฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้ในการเลี้ยงสัตว์และสามารถดำเนินงานด้วยตนเองต่อไปในอนาคตเมื่อบริษัทได้ถอนตัวออกไปแล้ว นอกจากนี้บริษัทยังได้ประกันรายได้ขั้นต่ำให้เกษตรกรครอบครัวละ 800 – บาทต่อเดือน ผลตอบแทนจากการลงทุนของกลุ่มเกษตรกรฯ ได้คำนวณแยกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ 1 คำนวณโดยการเปรียบเทียบกำไรสุทธิจากการดำเนินงานกับสินทรัพย์รวม และ กรณีที่ 2 คำนวณโดยการเปรียบเทียบกำไรสุทธิภายหลังหักดอกเบี้ยกับสินทรัพย์รวม ซึ่งได้อัตราผลตอบแทนเป็น พ.ศ.2520 ตุลาคม – ธันวาคม อัตราผลตอบแทนในกรณีที่ 1 6.89% อัตราผลตอบแทนในกรณีที่ 2 5.87% พ.ศ.2521 มกราคม – มิถุนายน อัตราผลตอบแทนในกรณีที่ 1 11.78% อัตราผลตอบแทนในกรณีที่ 2 8.36% พ.ศ.2521 กรกฎาคม – ธันวาคม อัตราผลตอบแทนในกรณีที่ 1 13.57% อัตราผลตอบแทนในกรณีที่ 2 11.01% การคำนวณอัตราผลตอบแทนใน พ.ศ. 2521 แยกเป็น 2 ช่วง เพราะว่าในระหว่างครึ่งปีแรกยังอยู่ในระยะที่กำลังก่อสร้างและการเลี้ยงไก่ยังไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ส่วนในช่วงกรกฎาคม – ธันวาคม นั้นเป็นช่วงที่มีการดำเนินงานเต็มที่ตามเป้าหมาย คือเลี้ยงไก่จำนวน 24,000 ตัว ผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทเอกชนที่ร่วมโครงการ จากการเปรียบเทียบรายได้และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการฯ ปรากฏดังนี้ พ.ศ.2520 (บาท) รายได้จากการจำหน่ายสินค้าให้โครงการฯ รวม 1,172,334.20 รายจ่ายรวม 540,245.98 พ.ศ.2521 (บาท) รายได้จากการจำหน่ายสินค้าให้โครงการ ฯ รวม 3,712,275.75 รายจ่ายรวม 388,106.64 เมื่อได้คำนวณกำไรสุทธิโดยวิธีประมาณกำไรเบื้องต้นจากการขายสินค้า ปรากฏว่าบริษัทฯ ได้รับผลขาดทุนทั้ง 2 ปี คือ พ.ศ.2520 ขาดทุนสุทธิ 67,505.88 บาท และ พ.ศ.2521 ขาดทุนสุทธิ 36,749.90 บาท ในด้านความเป็นอยู่ของเกษตรกรและฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างที่อยู่ในหมู่บ้านสหกรณ์ สมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 70.15 ให้ความเห็นว่าสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้นกว่าเดิม เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อครอบครัวใน พ.ศ.2521 เท่ากับ 12,829.67 บาท ในจำนวนนี้ ร้อยละ 31.18 เป็นรายได้ขั้นต่ำที่ได้รับจากโครงการเลี้ยงไก่ไข่ซึ่งได้เริ่มจ่ายให้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2521 เป็นต้นมา และร้อยละ 29.31 เป็นรายได้จากค่าแรงและเงินเดือนที่ได้รับจากโครงการเลี้ยงไก่ไข่ ในขณะที่รายได้จากการเพาะปลูกนั้นเป็นร้อยละ 27.70 เท่านั้น จึงกล่าวได้ว่าผลตอบแทนจากโครงการเลี้ยงไก่ไข่ที่เกษตรกรได้รับมีส่วนช่วยให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น และเหนือสิ่งอื่นใด ประโยชน์ที่สมาชิกหมู่บ้านสหกรณ์ที่ 1 ได้รับจากโครงการนี้ก็คือ ความรู้ความสามารถในการเลี้ยงสัตว์ การจัดการฟาร์มและการจัดการด้านการตลาดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรเหล่านี้ประกอบอาชีพในการเลี้ยงสัตว์อย่างมั่นคงต่อไปได้ และมีรายได้เพิ่มขึ้นอันเป็นเป้าหมายของการพัฒนาชนบทตามนโยบายของรัฐบาล ผู้วิจัยจึงเห็นว่า รัฐบาลควรจะสนับสนุนให้ธุรกิจภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate the establishment and implementation of the Chicken Farm Project at the Livestock raising Farmer Group in the Cooperative Village Project at Sankampang District, Chiang Mai Province. The study included analyses of the return on investment of the farmer group and the participating private firm for the period A.D. 1977 – 1978, as well as problems encountered in the project implementation, and general and economic status of farmers in the Cooperative Village No.1 Data were gathered from official documents, project reports, project financial statements, interviews with concerned government agencies, and interviews with personnel of the participating firm and farmers. The Chicken Farm Project was established with support from Chareon Phokaphan Industry, Ltd., Krung Thai Bank Ltd., the Office of the Accelerated Rural Development Department, and the farmers in the Livestock – raising Group Village No.1. The objective of the project was for its participants to raise egg – laying chickens as a secondary occupation to supplement their income which otherwise was inadequate for their families. Project implementation was carried out by the four concerned parties. The Livestock – raising Farmer Group generally administered the project, whereas the Krung Thai Bank provided financial support, the Office of the Accelerated Rural Development Department coordinated and monitored project implementation, and the Chareon Phokaphan Industry, Ltd., as guarantors, were responsible for providing advice in the production planning, distribution, and traing in such a manner that the participants would be able to work independently upon withdrawal by the firm. The firm also ensured a minimum monthly income of 800 baht per family. Analyses of the return on investment of the Farmer Group followed two methods of computation : firstly, by comparison of net profit from operation to total asset; and secondly by comparison of net profit after interest deduction to total asset. The first method rendered a rate of 6.89 % during the period October – December, A.D. 1977 and 11.78% during January – June., A.D. 1978. The second method rendered the rates of 5.87 % and 8.36% respectively for each of the two periods. During these periods construction was not yet completed and chicken raising had not yet reached the targets. During the following July – December, A.D. 1978, when the project implementation had reached the targets, the rate of return computed by the two methods were 13.57% and 11.01% respectively. In A.D. 1977 the private firm which participated in the project gained 1,173,334.20 baht from product sales to the Chicken Farm Project, from which they spent a total of 540,245.98 baht. In A.D. 1978 their sales were 3,712,275.75 baht and their total expenditure was 388,106.64 baht. Calculation of net profits by estimated gross profit method from products salos showed a loss of 67,505.88 baht in A.D. 1977 and 36,749.90 baht in A.D. 1978. As regards the farmers’ standard of living and economic status, 70.15% of the farmers thought they had attained a better life. The average family income in A.D.1978 was 12,829.67 baht per annum, of which 31.18% was attributed to the minimum guaranteed income paid the farmers since August, 1978, another 29.31% was attributed to income earned from chicken raising, and another 27.70% was attributed to crops growing. It was concluded that the chicken raising project contributed in noticeable extent to the farmers’ better standard of living. What was most beneficial to these farmers was the knowledge and experience gained from the project, including farm management and marketing. Such knowledge and experience would enable farmers to make a better living in the future, which was the prime objective of the government’s policy on rural development. The investigator’s opinion is that the government should encourage the private sector to participate in the national social and economic development scheme.-
dc.format.extent582595 bytes-
dc.format.extent489039 bytes-
dc.format.extent1085477 bytes-
dc.format.extent1214231 bytes-
dc.format.extent1691402 bytes-
dc.format.extent948556 bytes-
dc.format.extent513931 bytes-
dc.format.extent1514078 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleผลตอบแทนในการลงทุนของบริษัทเอกชนของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ หมู่บ้านที่ 1 ในโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ตามพระราชดำริ ระหว่าง พ.ศ.2520-2521en
dc.title.alternativeThe return on investment of a private enterprise and the livestock-raising farmer group in the cooperative village project of Sankampang District, Chiang Mai Province, during A.D.1977-1978en
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilaiwan_As_front.pdf568.94 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_As_ch1.pdf477.58 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_As_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_As_ch3.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_As_ch4.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_As_ch5.pdf926.32 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_As_ch6.pdf501.89 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiwan_As_back.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.