Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25827
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฤทัย บุญประเสริฐ
dc.contributor.authorสุรพล พุฒคำ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-24T09:21:02Z
dc.date.available2012-11-24T09:21:02Z
dc.date.issued2522
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25827
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาบทบาทของสภาการฝึกหัดครูแห่งประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสภาการฝึกหัดครู 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสภาการฝึกหัดครูของคณะกรรมการสภาการฝึกหัดครูและอธิการวิทยาลัยครู วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาบทบาทของสภาการฝึกหัดครู จากหนังสือ เอกสาร รายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องกับสภากาฝึกหัดครู และในบางส่วนจะได้คำตอบจากตอนที่ 3 ของการวิจัยนี้ ตอนที่ 2 ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสภาการฝึกหัดครู โดยการสัมภาษณ์กรรมการสภาการฝึกหัดครูชุดปัจจุบัน และใช้แบบสอบถาม สอบถามอดีตกรรมการสภาการฝึกหัดครูอีกจำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติโดยการหาค่าเปอร์เซ็นต์ และฐานนิยม (Mode) ตอนที่ 3 ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสภาการฝึกหัดครู โดยใช้แบบสอบถาม สอบถามกรรมการสภาการฝึกหัดครูชุดปัจจุบัน และอธิการวิทยาลัยครูต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติโดยการหาค่าเปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ผลการวิจัย 1. งานที่สภากระทำส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวกับการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้ายและถอดถอนอธิการ รองอธิการ หัวหน้าสำนักงานอธิการ รองหัวหน้าสำนักงานอธิการ หัวหน้าคณะวิชา รองหัวหน้าคณะวิชา หัวหน้าภาควิชา รองหัวหน้าภาควิชา ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และผู้ช่วยศาสตราจารย์ การอนุมัติการให้ปริญญา อนุปริญญาและประกาศนียบัตร การแต่งตั้งกรรมการเพื่อส่งเสริมให้คำแนะนำหรือดำเนินการของวิทยาลัยครู การออกกฎ ข้อบังคับและวางระเบียบของวิทยาลัยครูตลอดจนกำหนดคุณสมบัติและพื้นฐานความรู้ของผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในวิทยาลัยครู และวางระเบียบบริหารภายในวิทยาลัยครู และการอนุมัติหลักสูตรต่าง ๆ ส่วนงานที่กระทำน้อยมาก ได้แก่ การหาวิธีการอันจะยังการศึกษาอบรมและวิจัยของคณาจารย์ในวิทยาลัยครู 2. ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสภาการฝึกหัดครู ได้แก่ การกำหนดความสัมพันธ์ของสภาการฝึกหัดครูกับหน่วยงานอื่นในกระทรวงศึกษาธิการ ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน การกำหนดความรับผิดชอบในการตัดสินใจสั่งการที่แน่นอน การใช้วิธีการประนีประนอมในการตัดสินปัญหาต่างๆ มากกว่าการใช้เหตุผล การถูกครอบงำโดนบุคคลหรือกลุ่มบุคคล การสื่อสาร เพื่อการประสานงานระหว่างสภาการฝึกหัดครูกับวิทยาลัยครูต่างๆ และการไม่คำนึงถึงจุดมุ่งหมายหลักในการบริหารงานของสภาการฝึกหัดครู 3. ผลการเปรียบเทียบแนวความคิดเกี่ยวกับบทบาทสภาการฝึกหัดครูของกรรมการสภาการฝึกหัดครูกับอธิการวิทยาลัยครูต่างๆ พบว่า งานส่วนใหญ่ที่สภากระทำนั้นทั้งสองกลุ่มมีความเห็นที่ไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ จะมีความเห็นที่อยู่ในระดับเดียวกัน เช่น งานที่กรรมการสภาเห็นว่าเป็นงานที่สภากระทำอยู่ในระดับค่อนข้างมาก กลุ่มอธิกาวิทยาลัยครูต่างๆ ก็มีความเห็นว่าเป็นงานที่สภากระทำอยู่ในระดับค่อนข้างมากด้วย แต่จะมีงานอยู่บางประเภทที่ทั้งสองกลุ่มมีความเห็นที่แตกต่างกัน ได้แก่ การพิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งและยกฐานะสถาบันการฝึกหัดครู การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย และถอดถอนหัวหน้าสำนักงานอธิการและรองหัวหน้าสำนักงานอธิการ การให้การรับรองมหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษาอื่น การเปิดสาขาวิชาใหม่ระดับปริญญาตรี และการออกข้อบังคับเกี่ยวกับการให้มีอนุปริญญาและประกาศนียบัตร
dc.description.abstractalternativePurposes of the study : 1. To study roles of the teacher education council of Thailand. 2. To study problems and obstrales encountered the teacher education council’s performance. 3. To compare the opinion of roles of the teacher education council between the teacher education council committees and directors of teacher college. Methods and procedures : This research was devided into 3 stages as follows : 1. To identify actual roles of the Teacher Education Council through relevant document. Most of the evidence were obtained from the Teacher Education Council reports. Evidence were also gethered from the third stage of this study. 2. To identify problems and obstacles encountered The councils performance through interviewing member of the council. Data was also obtained from those who no longer serve as member of the council, ex-member, by questionnaires. Data were analyzed and presented in terms of percentage, and mode. 3. Opinions concerning roles and expectation of the Teacher Education Council were servayed from all present member of the Council and from directors of the teacher colleges throughout the country. The results of analysis were presented in form of percentage, mean and standard diviation Result 1. Most of the job teacher education council undertaken were consideration for admission; transfer and discharge of director of the teacher college, of the deputy director, of head of the director’s office, of assistant to the head of director’s office, dean, associated dean, head of department, vice head of department, professor, associated professor and assistant professor; granting degree, diploma and certificate; setting committees to advise or work in teacher college; setting rules and regulations for teacher college; setting criteria for admission into teacher college, curriculum approved. Work seldom done were to seek to improve the faculty professional experience and research capability. 2. Problems and obstactes of teacher education council were good relation between the council and the departments n the Ministry of Education, work ; delay an red-taped problems on responsibility; decision-making problem; one-man or minority domination; communication and losing sight of major purposes. 3. Opinions of the teacher education council committees and directors of teacher college toward the Teacher Education Council’s works were almost concensus. For instance, both groups agreed to the roles of doing (1) granting degree, diploma and certificate; (2) setting criteria for student admission and (3) curriculum approval. However, conflicting opinion appeared in (1) setting and raising status of teaching institutes; (2) accreditation other institutes; and (3) opening new program.
dc.format.extent540379 bytes
dc.format.extent396770 bytes
dc.format.extent540959 bytes
dc.format.extent3052412 bytes
dc.format.extent796007 bytes
dc.format.extent869662 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleบทบาทของสภาการฝึกหัดครูen
dc.title.alternativeRoles of the teacher education councilen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Su-rapon_Pu_front.pdf527.71 kBAdobe PDFView/Open
Su-rapon_Pu_ch1.pdf387.47 kBAdobe PDFView/Open
Su-rapon_Pu_ch2.pdf528.28 kBAdobe PDFView/Open
Su-rapon_Pu_ch3.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Su-rapon_Pu_ch4.pdf777.35 kBAdobe PDFView/Open
Su-rapon_Pu_back.pdf849.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.