Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25872
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สวัสดิวงษ์
dc.contributor.authorอิสราภรณ์ จันทรัศมี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-25T04:06:16Z
dc.date.available2012-11-25T04:06:16Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741730144
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25872
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกัน 3 แบบ คือ แบบที่ 1 ฟังจำนวน 1 ครั้ง แล้วเขียนบันทึก แบบที่ 2 ฟังจำนวน 2 ครั้ง แล้วเขียนบันทึก และแบบที่ 3 ฟังจำนวน 1 ครั้ง แล้วเขียนบันทึก ไม่มีการเก็บแบบบันทึก แล้วฟังซ้ำอีกครั้ง แล้วเขียนบันทึกใหม่ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษกับการใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษกับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกัน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษ การใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 404 คน ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงโรงเรียน 3 โรงเรียน จาก 3 เขตพื้นที่การศึกษา และในแต่ละโรงเรียนที่สุ่มได้ ผู้วิจัยสุ่มโดยวิธีจับฉลากนักเรียน เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับวิธีการฟังแบบที่ 1,2 และ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบวัดความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษ แบบสอบถามการใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษ และแบบสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่ามัชฌิมเลขาคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแบบที่ 3 มีค่ามัชฌิมเลขาคณิตของคะแนนความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษสูงสุด รองลงมาคือ นักเรียนที่ได้รับวิธีการฟังแบบที่ 2 และ แบบที่ 1 โดยค่ามัชฌิมเลขาคณิตของคะแนนความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษ เท่ากับ 43.75 36.85 และ 28.08 ตามลำดับ 2. มีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษกับการใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. มีความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษกับความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. มีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษ การใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study 1) the English immediate listening recall protocol of mathayom suksa five students receiving three different listening procedures 1. Listen, recall 2. listen, listen, recall and 3. listen, recall (students keep recall), listen, final recall, 2) the relationship between English immediate listening recall protocol and English language learning strategy use of mathayom suksa five students receiving different listening procedures, 3) the relationship between English immediate listening recall protocol and English language proficiency of mathayom suksa five students receiving different listening procedures and 4) the relationships among English immediate listening recall protocol, English language learning strategy use and English language proficiency of mathayom suksa five students receiving different listening procedures. The sample of this study were 404 mathayom suksa five students in schools under the Department of General Education, Bangkok Metropolis. They were purposively sampled from three schools of the three educational service areas. Students in each school were then randomly placed into three groups namely listening procedure 1, 2, and 3. The research instruments were English immediate listening recall protocol test, English language learning strategy use questionnaire and English language proficiency test. The obtained data were analyzed by means of arithmetic means, standard deviation, Pearson’s product moment correlation, and multiple correlations. The research findings were concluded as follows: 1. Mathayom suksa five students receiving listening procedure 3 had the highest arithmetic mean score on the English immediate listening recall protocol test, followed by those receiving procedure 2 and 1. Their arithmetic mean scores were 43.78, 36.85 and 28.08 respectively. 2. There was positive relationship between English immediate listening recall protocol and English language learning strategy use of mathayom suksa five students receiving different listening procedures at the .05 level of significance. 3. There was positive relationship between English immediate listening recall protocol and English language proficiency of mathayom suksa five students receiving different listening procedures at the .05 level of significance. 4. There were multiple correlations among English immediate listening recall protocol, English language learning strategy use and English language proficiency of mathayom suksa five students receiving different listening procedures at the .05 level of significance.
dc.format.extent3391762 bytes
dc.format.extent2944397 bytes
dc.format.extent20168845 bytes
dc.format.extent8594054 bytes
dc.format.extent2842010 bytes
dc.format.extent3870470 bytes
dc.format.extent16157537 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการระลึกทันทีหลังการฟังข้อความภาษาอังกฤษการใช้กลวิธีในการเรียนภาษาอังกฤษ และความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับวิธีการฟังแตกต่างกันen
dc.title.alternativeRelationships among English immediate listening recall protocol, English language proficiency of mathayom suksa five students receiving different listening proceduresen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Israporn_ch_front.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Israporn_ch_ch1.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Israporn_ch_ch2.pdf19.7 MBAdobe PDFView/Open
Israporn_ch_ch3.pdf8.39 MBAdobe PDFView/Open
Israporn_ch_ch4.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Israporn_ch_ch5.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Israporn_ch_back.pdf15.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.