Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิทย์ ปุณณชัยยะ-
dc.contributor.advisorนเรศร์ จันทน์ขาว-
dc.contributor.authorวิสิทธิ์ชัย นิตยาพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-25T05:08:39Z-
dc.date.available2012-11-25T05:08:39Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25887-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำกระดาษอัดรูปที่มีอยู่ในท้องตลาด มาใช้เป็นแผ่นบันทึกภาพของการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์แทนฟิล์มรังสีเอกซ์ ซึ่งมีราคาแพงและมีความยุ่งยากในการล้าง การวิจัยนี้จะศึกษาถึงวิธีและขีดความสามารถของการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ โดยใช้กระดาษอัดรูป 3 เบอร์ คือ F2 F3 F4 ของบริษัทโกดัก เป็นแผ่นบันทึกภาพ และใช้ฉากเรืองแสง 3 ชนิด ของบริษัท Philips Toshiba Picker เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภาพถ่าย หาคอร์เรกชันแฟกเตอร์ของกระดาษอัดรูปทั้ง 3 เบอร์กับฉากเรืองแสงทั้ง 3 ชนิด พิจารณาหากระดาษอัดรูปและฉากเรืองแสงที่มีคอนทราสต์ และที่มีความไวสูงกว่าอีก 2 ชนิด เปรียบเทียบการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์โดยใช้กระดาษอัดรูปและฟิล์มรังสีเอกซ์ ในด้านคุณภาพของภาพ ราคาต้นทุน และการล้างรูป จากการวิจัยพบว่ากระดาษอัดรูปเบอร์ F4 ของบริษัทโกดัก ซึ่งฉาบด้วยสารไวแสงที่ประกอบด้วยเกลือเงินโบรไมด์และมีเกลือเงินไอโอไดด์ผสมอยู่เล็กน้อย จะมีความไวและคอนทราสต์มากกว่ากระดาษอีก 2 เบอร์ และฉากเรืองแสงของบริษัท Picker จะทำให้กระดาษอัดรูปเบอร์ F4 มีความไวและคอนทราสต์มากกว่าการใช้ฉากเรืองแสงอีก 2 ชนิด กระดาษอัดรูปจะมีขอบเขตการใช้งานจำกัดกว่าฟิล์มรังสีเอกซ์ คือจะใช้กับชิ้นงานที่เป็นเหล็กหนาไม่เกิน 3 เซนติเมตร เมื่อให้ศักดาไฟฟ้าแก่หลอดรังสีเอกซ์ 220 กิโลโวลท์ กระดาษอัดรูปจะให้คอนทราสต์และความไวใกล้เคียงกับฟิล์มรังสีเอกซ์ เมื่อใช้ถ่ายชิ้นงานที่มีความหนาไม่มากนัก แต่จะต้องให้ศักดาไฟฟ้ามากกว่าเล็กน้อย เช่น กระดาษอัดรูปจะเห็นเส้นลวดเส้นที่เล็กที่สุดเบอร์ 12 ของ Din 62 FE ที่ 220 กิโลโวลท์ ส่วนฟิล์มรังสีเอกซ์จะเห็นเส้นลวดเส้นที่เล็กที่สุดเบอร์ 12 ของ Din 62 FE เหมือนกันโดยให้ศักดาไฟฟ้าแก่หลอดรังสีเอกซ์ 200 กิโลโวลท์ ค่าเอกซ์โพเซอร์ของกระดาษอัดรูปจะมีค่าใกล้เคียงกันกับฟิล์มรังสีเอกซ์ เมื่อชิ้นงานมีความหนาไม่มากนัก กระดาษอัดรูปจะให้ภาพตัวอย่างชิ้นงานที่มีความคมชัด ความดำ คอนทราสต์ ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ภายในชิ้นงานได้ใกล้เคียงกับฟิล์มรังสีเอกซ์ จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าสามารถนำกระดาษอัดรูปมาใช้แทนฟิล์มรังสีเอกซ์ ในกรณีที่ชิ้นงานที่ต้องการตรวจสอบมีความหนาไม่มากนักโดยจะทำให้ต้นทุนของการถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์ลดลงถึง 4 เท่า และยังประหยัดเวลาในการล้างรูปด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the possibility of using photographic paper, available on the market, for x- ray radiography instead of x – ray film which is more expensive and more complicate to develop. This research concerned about (1) the method and the limitation of x- ray radiography by using 3 types of photographic paper, namely, F2, F3 and F4 distributed by the Kodak Company, as the screen with 3 different kinds of intensifying screens produced by the Phillips Company, Toshiba Company and Picker Company to increase photographic efficiency; (2) correction factor between these 3 types of photographic paper and intensifying screens; (3) the most suitable combination of photographic paper and intensifying screens used; (4) the result of using photographic paper and x- ray film in x- ray radiography regarding quality, cost and film developing From the research, it was found that (1) the combination of intensifying screen from Picker Company and Kodak photographic paper No.F4 coating with silver bromide with a little mixture of silver iodide resulted in higher sensitivity and more contrast than other combination ; (2) photographic papers had more limitation than x – ray film in the sense that it could be used with the iron test piece no thicker than 3 cm. with the x –ray energy of 220 kvp; (3) photographic papers would give almost the same degree of contrast and sensitivity as x – ray film when used with thin test specimens. For instance the smallest wire No.12 of Din 62 FE could be seen in the photographic paper at 220 kvp while it could be seen in the x – ray film at 200 kvp. The exposure of photographic paper would be in vicinity of x – ray film when it was used with thin test specimens. Photographic paper would produce sharpness definition, density and contrast picture and also details of the picture closely to what given by x – ray film. It is concluded that if the test specimens are thin, photographic papers could be used in stead of x – ray films resulting in cost, the cost saving of about 4 times over the x – ray film. Required film developing time would be save as well.-
dc.format.extent535227 bytes-
dc.format.extent280050 bytes-
dc.format.extent717344 bytes-
dc.format.extent986992 bytes-
dc.format.extent505069 bytes-
dc.format.extent664721 bytes-
dc.format.extent349924 bytes-
dc.format.extent865120 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการถ่ายภาพด้วยรังสีเอ็กซ์โดยการใช้กระดาษอัดรูปen
dc.title.alternativeX-radiography using photographic papersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิวเคลียร์เทคโนโลยีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wisitchai_Ni_front.pdf522.68 kBAdobe PDFView/Open
Wisitchai_Ni_ch1.pdf273.49 kBAdobe PDFView/Open
Wisitchai_Ni_ch2.pdf700.53 kBAdobe PDFView/Open
Wisitchai_Ni_ch3.pdf963.86 kBAdobe PDFView/Open
Wisitchai_Ni_ch4.pdf493.23 kBAdobe PDFView/Open
Wisitchai_Ni_ch5.pdf649.14 kBAdobe PDFView/Open
Wisitchai_Ni_ch6.pdf341.72 kBAdobe PDFView/Open
Wisitchai_Ni_back.pdf844.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.