Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25933
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสงัด อุทรานันท์
dc.contributor.authorสร้อยทอง ศิริมงคล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-25T11:54:32Z
dc.date.available2012-11-25T11:54:32Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745665992
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25933
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการกระจายของมหาบัณฑิตครุศาสตร์ สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตครุศาสตร์สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร 3. เพื่อศึกษาความเหมาะสมของหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรต่อการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานของมหาบัณฑิตครุศาสตร์ ในหน่วยงานต่าง ๆ 4. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะ สำหรับการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัยเป็นมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สำเร็จการศึกษาระหว่างปีการศึกษา 2517 ถึง 2527 จำนวน 195 คน และผู้บังคับบัญชาของมหาบัณฑิตอีก 195 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและใช้บริการทางไปรษณีย์รวมทั้งการติดต่อด้วยตนเองจากผู้ตอบที่สามารถติดต่อได้ ได้รับแบบอบถามคืนจากมหาบัณฑิตคิดเป็นร้อยละ 84.10 และ จากผู้บังคับบัญชาคิดเป็นร้อยละ 72.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( Mean ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( Standard Deviation ) และการจัดลำดับความสำคัญ ผลการวิจัย 1. มหาบัณฑิตปฏิบัติงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85.36 นอกนั้น กระจายตามหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งแต่ละแห่งมีจำนวนไม่มากนัก ส่วนมากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในสายงานการสอนและปฏิบัติงานอยู่ในถาคกลางและกรุงเทพมหานคร งานในหน้าที่ที่มหาบัณฑิตปฎิบัติส่วนใหญ่ ได้แก่ งานสอนและงานนิเทศการศึกษา 2. ในด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน มหาบัณฑิตได้เข้ารับการอบรมทางวิชาการในประเทศมากที่สุด ร้อยละ 67.68 และได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ปริญญาโท และ ปริญญาตรี หลังจากสำเร็จการศึกษาคิดเป็นร้อยละ 8.54 3. ประเภทผลงานวิชาการของมหาบัณฑิตที่มีมากที่สุดคือ การให้บริการทางวิชาการโดยเป็นวิทยากร ร้อยละ 73.17 4. ผู้บังคับบัญชาประเมินการปฏิบัติงานทั้งด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการและคุณลักษณะส่วนตัวของมหาบัณฑิต อยู่ในระดับสูง 5. ปัญหาในการปฏิบัติงานที่มหาบัณฑิตประสบมากที่สุด ร้อยละ 65.24 คือ การมีงานพิเศษอื่น ๆ มากเกินไปจนทำให้ปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาไม่เต็มที่ การบริหารงานในหน่วงงานไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 41.46 และการขาดเสรีภาพในการแสดงออกทางวิชาการร้อยละ 28.05 6. มหาบัณฑิตส่วนใหญ่ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรต่อการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับดี และสามารถนำความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 7. มหาบัณฑิต ร้อยละ 96.34 มีความเห็นว่า ควรปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยมหาบัณฑิต ร้อยละ 78.05 เสนอให้ปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้เจาะลึกทางด้านการนิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรในส่วนของเนื้อหาวิชาเอก 8. ในการพัฒนาการเรียนการสอนนั้น มหาบัณฑิต ร้อยละ 89.02 เสนอให้พัฒนาภาควิชาบริหารการศึกษาเป็นแหล่งวิทยาการทางการนิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
dc.description.abstractalternativePurposes: 1. To investigate the information about the distribution of the graduates of the master degree program of Supervision and Curriculum Development, Chulalongkorn University. 2. To Study the career performance and development of the graduates of the master degree program in Supervision and Curriculum Development, Chulalongkorn University. 3. To Study the graduates’ attitudes towards the master degree program of Supervision and Curriculum Development with their Career Responsibilities. 4. To suggest any recommendations given by the graduates concerned with the curriculum improvement of the master degree program of supervision and Curriculum Development, Chulalongkorn University. Research procedures: The sample size of the research consisted of 195 graduates from the program of Supervision and Curriculum Development from academic year 1974 – 1984, Faculty of Education, Chulalongkorn University and 195 of their supervisors. Data were obtained by means of questionnaire through mailing and personal contact. The questionnaire responded by the graduates and their supervisors were 84.10 percent and 72.82 percent respectively, The data were analysed in terms of percentage, mean (x̅), standard Deviation (S.D.) and ranking of items. Research Findings: 1. Eighty-three percent of the graduates were employed in various departments of the Ministry of Education. Most of them were teachers working in the Central Region and in Bangkok Metropolis. 2. About their career development, sixty-seven percent of the graduates, have participated in the academic seminars and conferences. Eight percent of them have been furthered their studies either in other fields of bachelor degree or master degree or doctoral degree. 3. About seventy-percent of the graduates had their major responsibilities as resource persons in academic services. 4. The attitudes of the supervisors were highly satisfied with their performance both in their academic ability and in their personal characters. 5. Concerning about the obstacles with their works, 65.24 percent of the graduates had to do some extra jobs together with their routine duties. About 41.46 percent were unsatisfied with the inefficiency of their office administration. About 28.05 percent were complained about their academic freedom. 6. Most of the graduates were satisfied with their master degree program in Supervision and Curriculum Development at high level. They were able to apply their studies’ skills and knowledge with their duties at high level too. 7. Ninety percent of the graduates suggested some appropriate improvement of the program in Supervision and Curriculum Development. About 78.05 percent of the graduates suggested the improvement of the curriculum in depth with emphasis on Supervision and Curriculum Development as their major subjects. 8. About the study development program, 89.02 percent of the graduates suggested that the Educational Administration Department, Graduate School, Chulalongkorn University should functionalize as a national academic career in Education Supervision and Curriculum Development in Thailand.
dc.format.extent567742 bytes
dc.format.extent524485 bytes
dc.format.extent1140804 bytes
dc.format.extent411865 bytes
dc.format.extent2061856 bytes
dc.format.extent968742 bytes
dc.format.extent976304 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการติดตามผลมหาบัณฑิต ปีการศึกษา 2517 ถึง2527 สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeA follow-up study of master degree graduates academic year 1974-1984 in supervision and curriculum development of the graduate school, Chulalongkorn Universityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soithong_Si_front.pdf554.44 kBAdobe PDFView/Open
Soithong_Si_ch1.pdf512.19 kBAdobe PDFView/Open
Soithong_Si_ch2.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Soithong_Si_ch3.pdf402.21 kBAdobe PDFView/Open
Soithong_Si_ch4.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Soithong_Si_ch5.pdf946.04 kBAdobe PDFView/Open
Soithong_Si_back.pdf953.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.