Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25965
Title: ทัศนคติของข้าราชการครูต่อมาตรการทางประชากร ด้านสวัสดิการสังคมของรัฐ
Other Titles: Teachers' Attitudes towards population measure concerned with state social welfare
Authors: ดิเรก กฤชสินชัย
Advisors: สุนันทา สุวรรโฌดม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาสำรวจแนวความคิดและทัศนคดีขอข้าราชการครูในการกำหนดมาตรการทางประชากรด้านการให้สิ่งจูงใจด้วยบริการสังคมต่าง ๆ ของรัฐที่มีผลต่อการลดอัตราการเจริญพันธุ์ เช่น การกำหนดเงินสวัสดิการช่วยเหลือบุตร การให้สิทธิในการลาคลอด สิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาล สิทธิทีจะได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร สิทธิที่จะได้รับการหักลดหย่อนภาษาเป็นพิเศษ การให้บริการทำหมัน การให้สิทธิและสวัสดิการแก่คนโสดเป็นพิเศษกว่าผู้ที่สมรสแล้ว เป็นต้น ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้ทำการสุ่มตัวอย่างความคิดเห็นของข้าราชการครูสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และกรุงเทพมหานคร ใน 5 เขตการศึกษา ซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศรวมทั้งสิ้น 846 ตัวอย่างการวิเคราะห์ได้กระทำโดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจ และสังคม กับทัศนะหรือแนวความคิดที่มีต่อมาตรการจูงใจด้านสวัสดิการสังคมของรัฐในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งได้พิจารณาถึงลำดับความต้องการด้านบริการสังคมที่เป็นความประสงค์ของบุคคลกลุ่มตัวอย่างนี้ด้วย ผลจากการศึกษาครั้งนี้ ได้พบประเด็นสำคัญพอสรุปได้ดังนี้ คือ การจูงใจด้วยการให้สวัสดิการเงินช่วยเหลือบุตรเป็นรายเดือนนั้นพบว่า ในกลุ่มคนโสดทั้งชายและหญิงมีความเห็นว่าควรจำกัดจำนวนบุตรที่จะให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้พียง 3 คน แต่สำหรับผู้ที่สมรสแล้ว ปรากฏว่าสตรีเห็นด้วยในเรื่องเดียวกันนี้ในอัตราส่วนที่มากกว่าผู้ชาย คือ ร้อยละ 46.0 และ 31.1 ตามลำดับ และเมื่อนำเอาระดับตำแหน่งเข้ามาพิจารณาประกอบความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันนี้ ก็พบว่า ข้าราชการครูทุกระดับตำแหน่งมีความเห็นส่วนใหญ่ว่าควรกำหนดให้สวัสดิการนี้แก่ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ โดยจำกัดจำนวนบุตรไว้ไม่เกิน 3 คน ซึ่งสอดคล้องกับระดับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว ส่วนการกำหนดระเบียบให้ข้าราชกรสตรีลาคลอดบุตร โดยได้รับเงินเดือนเต็มได้ไม่เกินสามครั้งนั้น พบว่า ในกลุ่มคนโสดทั้งชายและหญิงเห็นด้วยกับนโยบายนี้ถึงร้อยละ 51.3 และ 54.7 ตามลำดับ แต่ในกลุ่มผู้สมรสแล้วทั้งชายและหญิงส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 52.1 และ 56.9 จะไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว สำหรับความเห็นในเรื่องการให้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลในการคลอกบุตรได้ไม่เกิน 3 คนนั้น ในกลุ่มที่สมรสแล้ว ไม่ว่าจะมีบุตรกี่คนหรือยังไม่มีบุตรเลยก็ตาม พบว่าส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ สำหรับนโยบายเกี่ยวกับการให้สิทธิเบิกค่าเล่าเรียนบุตรได้ไม่เกิน 3 คนนั้น พบว่าเฉพาะในกลุ่มคนโสดและผู้ที่สมรสแล้วแต่ยังไม่มีบุตรเท่านั้นที่เห็นด้วย สำหรับผู้ที่มีบุตรแล้วไม่ว่าจะมีกี่คนก็ตาม จะไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ทุกกลุ่ม และยิ่งมีบุตรมากคนก็ยิ่งไม่เห็นด้วยในสัดส่วนที่มากขึ้นด้วย การให้สิทธิหักค่าลดหย่อนในการเสียภาษีเงินได้ โดยกำหนดจำนวนบุตรไว้ไม่เกิน 3 คนนั้น ปรากฏว่าในกลุ่มข้าราชการครูที่เป็นโสดส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว แต่ในกลุ่มผู้ที่สมรสแล้วส่วนใหญ่จะไม่เห็นด้วย ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ข้าราชการครูยิ่งมีบุตรหลายคน แนวความคิดจะไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้มากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่พบในเรื่องของการกำหนดสิทธิการลาคลอดบุตร สำหรับข้อเสนอให้ลดหย่อนภาษีให้คนโสดนั้น ผลจากการศึกษากลุ่มคนโสดจะเห็นด้วยกับข้อเสนออย่างยิ่ง แต่กลุ่มข้าราชการครูที่สมรสแล้วกลับไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ เมื่อศึกษาความคิดเห็นต่อไปว่าถ้ารัฐให้สวัสดิการแก่คนโสดมากขึ้น จะเป็นแรงจูงให้คนโสดยืดอายุการแต่งงานออกไปอีกนั้น ข้าราชการที่เป็นโสดทั้งชาย หญิง จะมีความคิดเห็นไม่แน่ใจ เพราะน่าจะมีเหตุผลอื่น ๆ ประกอบด้วย ส่วนความคิดเห็นที่สนับสนุนหรือคัดค้านจะมีส่วนใกล้เคียงกัน ในเรื่องนโยบายการให้สิทธิเข้าอยู่อาศัยในการเคหะของรัฐ โดยจำกัดขนาดครอบครัวนั้น พบว่า ข้าราชการครูส่วนใหญ่ทั้งโสดและสมรสแล้วเห็นด้วยกับนโยบายนี้ สำหรับข้อเสนอที่ให้ข้าราชการหยุดงานสักระยะหนึ่งภายหลังการทำหมัน โดยไม่คิดเป็นวันลา ข้าราชการครูส่วนมากเห็นด้วยข้อเสนอที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความคิดเห็นว่าควรอนุญาตให้มีการทำแท้งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวางแผนครอบครัว และให้มีหน่วยงานของรัฐเพื่อบริการให้คำปรึกษาเรื่องการทำแท้ง ปรากฏว่าข้าราชการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว แต่ยิ่งครูที่มีอายุมากขึ้นเท่าใดยิ่งเห็นด้วยกับนโยบายนี้มากขึ้นตามลำดับด้วย สุดท้าย เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลควรจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนโดยทั่วไป ความเห็นของจ้าราชการครูส่วนใหญ่เสนอให้รัฐบาลจัดสวัสดิการเกี่ยวกับการให้บริการด้านการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนมากที่สุด
Other Abstract: The main purpose of this study was to investigate the attitude of teachers towards the government's incentive program in relation to fertility. These programs including the family allowance (provided for children), income tax relief, health services, school fee and the like, are attached to the State Social Welfare. The analysis was based mainly on data collected in 1980 by interviewing 846 teachers in government schools in 5 educational regions. An investigation on relationship between attitude towards the incentive programs and socio-economic and demographic factors was made. The study also explored the priority of needs on State Social Welfare of this group of population. The finding revealed that teachers both single and married expressed that the family allowance should be limited to only first three children of government officials. However, there was a larger percentage,of the female married teachers agreed with this concept. compared to that of the married males. When the official ranking was taken into consideration, it was found that the ,majority of teachers in each rank felt that the family allowance should be limited to only first three children within the family. For maternity leave, the results showed that the majority of both single male and female teachers indicated that the maternity leave with full paid should be limited to only three pragnancies. By contrast, the majority of married teachers both males and females disagreed with this measure. On the issue of financial assistance for a child delivery, the majority teachers disagreed with the regulation which propose to limit to only 3 times of aid. Towards the idea of stop paying the school fee for the fourth child of. government official, the findings indicated that only single and married teachers who had no children agreed with this measure. However, for the teacher who already had children, they strongly disagreed with this policy. Regarding the policy of income tax deduction covered only 3 children gained much support from teachers who were single. By contrast, the group of married teachers mostly disagreed with this measure. In addition, the more number of children they had, the greater degree of opposing this policy. The majority of teachers who were single agreed with the policy of income tax relief for a single person while the group'of married teachers were not. In searching of the effect of this policy as an incentive to posepone marriage, the result of this survey found no strong support. The study also indicated that the majority of both single and married teachers agreed with the policy of limiting size of family of the government official who would have the right to apply for housing provided by the government. Most teachers agreed with the policy of unrecorded full-pay leave after sterilization. In addition, the majority of teachers supported the idea of establishing health center to provide consultation regarding abortion and related matter. However, the older of their age the greater percentage of disagree to this issue. A. great number of teachers called'for the need of the efficiency of health services.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25965
ISBN: 9745614122
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Direk_Kr_front.pdf630.99 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Kr_ch1.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Direk_Kr_ch2.pdf455.4 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Kr_ch3.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Direk_Kr_ch4.pdf420.83 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Kr_ch5.pdf398.37 kBAdobe PDFView/Open
Direk_Kr_back.pdf367.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.