Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25994
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ชัย ศิรินทร์ภาณุ | - |
dc.contributor.author | กาญจนา สีลากุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-26T02:56:43Z | - |
dc.date.available | 2012-11-26T02:56:43Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741754507 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25994 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพและความเชื่อมโยงของการท่องเที่ยว ศึกษาบทบาทการท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งเสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ โดยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและการสำรวจภาคสนามตลอดจนการสอบถามประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา เพื่อทำการวิเคราะห์ศักยภาพปัญหาและข้อจำกัดของพื้นที่รวมทั้งทัศนคติและความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมท่องเที่ยว ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าพื้นที่ศึกษามีศีกยภาพด้านการท่องเที่ยว คือ มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์ มีความพร้อมด้านการบริการการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีความเชื่อมโยงของแหล่งท่องเที่ยว โดยวิเคราะห์จากที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว ทำให้สามารถจัดกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองอุบลราชธานี-อำเภอวารินชำราบ ซึ่งมีศักยภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวทางด้านโบราณสถาน และขนบธรรมเนียมประเพณี และมีความพร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้กับชุมชนเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบริการการท่องเที่ยว สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ภายในเวลา 1 วัน แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัดทุ่งศรีเมือง วัดป่านานาชาติ วัดหนองป่าพง และแหล่งท่องเที่ยวทางประเพณี วัฒนธรรม ได้แก่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา (2) กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวอำเภอโขงเจียม – อำเภอสิรินธร - อำเภอพิบูลมังสาหาร แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ โดยแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง อุทยานแห่งชาติ ผาแต้ม อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะและแก่งสะพือ เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มนี้อยู่ห่างจากชุมชนเมืองอุบลราชธานี ประมาณ 89 กิโลเมตร และสามารถเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มเมืองปากเซ ประเทศ สปป.ลาว ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 และเชื่อมโยงกับเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 17 ของประเทศ สปป.ลาว (3) กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวอำเภอเมืองศรีษะเกษ-อำเภออุทุมพรพิสัย มีแหหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน เช่น ปราสาทหินวัดสระกำแพงใหญ่ ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย แหล่งท่องเที่ยวกลุ่มที่ 3 อยู่ห่างจากตัวชุมชนเมืองศรีสะเกษ ประมาณ 45 กิโลเมตร สามารถเดินทางไปกลับได้ภายใน 1 วัน (4) กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวอำเภอขุนหาญ-อำเภอกันทรลักษณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ (ผามออีแดง) ปราสาทเขาพระวิหาร (5) กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร มีความสำคัญทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี ได้แก่ ประเพณีบุญบั้งไฟ และหัตถกรรมพื้นบ้าน ลักษณะการท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร มีข้อจำกัดในเรื่องฤดูการ ท่องเที่ยว ซึ่งไม่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดฤดูกาล (6) กลุ่มแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดอำนาญเจริญ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ วัดถ้ำแสงเพชร พุทธอุทยานและพระมงคลมิ่งเมือง เป็นกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ชุมชนเมืองอำนาญเจริญ พื้นที่ศึกษานอกจากจะมีศักยภาพและความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวแล้วการท่องเที่ยวยังส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม กล่าวคือ การท่องเที่ยวมีผลต่ออาชีพและการจ้างงานของประชาชนในพื้นที่ โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้อ้างอิงผลการศึกษาของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาตร์ในเรื่องของการจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวชาวไทย 73 คน ก่อให้เกิดการจ้างงาน 1 คน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้ทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 44,804 คน และก่อให้เกิดการกระจายรายได้และเงินหมุนเวียนในพื้นที่ ช่วงปีเดียวกัน ประมาณ 2,435,109,279 บาท นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังช่วยลดปัญหาการว่างงาน และทำให้ประชาชนสามารถเลือกประกอบอาชีพได้มากขึ้น ส่วนผลทางด้านกายภาพ ได้แก่ ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาทรัพยาการท่องเที่ยวเสื่อมโทรม และปัญหาทัศนอุจาด เป็นต้น จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงได้เสนอแนวทางในการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ คือ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษ กำหนดให้แหล่งท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์ และโบราณสถาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก และกำหนดให้แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวรอง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดอำนาญเจริญเพื่อสนับสนุนกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี และกลุ่มประเทศอินโดจีน นอกจากนี้แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกำหนดให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและพัฒนาให้จังหวัดยโสธรเป็นจุดแวะพักวงจรท่องเที่ยวในกลุ่มอนุภาคอีสานบนและอีสานใต้ ส่วนแนวทางพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ใช้หลักของการมีส่วนร่วมประชาชนและหลักการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน | - |
dc.format.extent | 2771906 bytes | - |
dc.format.extent | 2134341 bytes | - |
dc.format.extent | 11261966 bytes | - |
dc.format.extent | 25331470 bytes | - |
dc.format.extent | 12259767 bytes | - |
dc.format.extent | 23316323 bytes | - |
dc.format.extent | 3200533 bytes | - |
dc.format.extent | 8797963 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | บทบาทการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ | en |
dc.title.alternative | The roles of tourism on the lower north eastern region : a case study Ubon Ratchathani, Sisaket, Yasothon and Amnat Charoen | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การวางแผนภาค | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kanjana_se_front.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanjana_se_ch1.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanjana_se_ch2.pdf | 11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanjana_se_ch3.pdf | 24.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanjana_se_ch4.pdf | 11.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanjana_se_ch5.pdf | 22.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanjana_se_ch6.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kanjana_se_back.pdf | 8.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.