Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำลี ทองชิว
dc.contributor.authorดวงดาว สุภีกิตย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-26T03:50:44Z
dc.date.available2012-11-26T03:50:44Z
dc.date.issued2524
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26028
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ วิเคราะห์มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสำหรับเด็ก กลุ่มตัวอย่างประชากรคือ หนังสืออ่านประกอบจำนวน 32 เล่ม และหนังสืออ่านสนุกสำหรับเด็กจำนวน 80 เล่ม ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาไทยระหว่าง พ.ศ. 2515 -2522 วิธีการดำเนินงานวิจัยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา(Content analysis) และวิธีวิเคราะห์แบบวิจารณ์(Critical analysis) ทำการวิเคราะห์ในด้านต่อไปนี้คือแขนงวิทยาศาสตร์ต่างๆ ซึ่งปรากฏในหนังสือที่วิเคราะห์ ระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในหนังสือ ลำดับขั้นความรู้ที่มีในหนังสือ ความถูกต้องตามหลักการเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ความยากง่ายของเนื้อหาในหนังสือ และความสอดคล้องระหว่างความสนใจของเด็กกับเนื้อหาตามความเป็นจริงที่ปรากฏในหนังสือสำหรับเด็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือตารางการวิเคราะห์มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสำหรับเด็ก จำนวน 6 ตาราง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้วนำตารางวิเคราะห์ทั้งหมดไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 คน ตรวจแก้ไข ให้ข้อคิดเห็นในด้านความถูกต้องและความเหมาะสมเมื่อวิเคราะห์เนื้อหาในหนังสือสำหรับเด็กต่างๆ แล้วรวบรวมผลการวิเคราะห์โดยคิดเป็นร้อยละ ผลการวิจัย 1. ประเภทของเรื่องทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏมากที่สุดในหนังสือสำหรับเด็กคือเรื่องเกี่ยวกับหมวดสัตวศาสตร์ ประเภทของเรื่องทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏน้อยที่สุดในหนังสืออ่านประกอบคือเรื่องเกี่ยวกับหมวดวิชาสัตว์-พืชดึกดำบรรพ์ และประเภทของเรื่องทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏน้อยที่สุดในหนังสืออ่านสนุกสำหรับเด็กคือหมวดวิชาธรณีวิทยา 2.หลักการเขียนหนังสือวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ข้อเนื้อหาสัมพันธ์กับชื่อเรื่องปรากฏในหนังสือสำหรับเด็กทุกเล่ม แต่ข้อเขียนแยกระหว่างความจริงและความคิดเห็น มีปรากฏน้อยที่สุดในหนังสือสำหรับเด็ก 3.ขั้นตอนระเบียบวิธีวิทยาศาสตร์ ที่พบมากที่สุดในหนังสือสำหรับเด็กคือ ขั้นกำหนดปัญหาที่จะทำการศึกษา และขั้นตอนระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่พบน้อยที่สุดในหนังสือสำหรับเด็กคือ ขั้นปรับปรุงแก้ไขสมมุติฐานที่ตั้งไว้แต่เดิม และขั้นนำข้อยุติไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้อง 4. ลำดับขั้นความรู้ที่มีมากที่สุดในหนังสือสำหรับเด็กคือ ขั้นความรู้ และลำดับขั้นความรู้ที่มีน้อยที่สุดในหนังสือสำหรับเด็กคือ ขั้นการสังเคราะห์ 5. เนื้อหาในหนังสือสำหรับเด็กสอดคล้องกับความสนใจของเด็กระดับชั้น ป.5-ป.6 มากที่สุด สอดคล้องกับความสนใจของเด็กระดับชั้น ป.3-ป.4 เป็นอันดับรองลงมาและสอดคล้องกับความสนใจของเด็กระดับชั้น ป.1-ป.2 น้อยที่สุด
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to analyze the scientific concepts found in books for children. The subjects were thirty-two supplementary reading books and eighty children's trade books which had been published in C,E, 1972-1973. Content analysis and critical analysis were used in this research. These books were analyzed under the following topics: the branches of science found in these books, the stages of scientific method used in these books, the levels of perception found in these books, the criteria for writing science books for children, the levels of reading difficulty, and the correlation between children's interest and the content in these books. The researcher prepared six analytical tables as the instrument in analyzing the contents both in the supplementary reading books and in children's trade books. After preparing these tables, thirteen experts examined and made critique for the necessary improvement. The data collected by means of these analytical tables were analyzed and presented in percentage. Findings 1. Zoology was the branch of science found most often among books for children. Extinct animals and plants were the least found in supplementary reading books. Geology was the least found in children's trade books. 2. "The content corresponded to the title” was the criteria for writing science books found in every book for children but "writing science books for children by distinguishing between facts and opinions" was the least found in books for children. 3. "Problem statement" was the stage of scientific method found most often among books for children, while "revision of hypothesis" and "application" were the least found in books for children. 4."Knowledge" was the level of perception found most often among books for children and "synthesis" was the least found in books for children. 5. The contents in books for children were found most corresponded to children's interest in Prathom 5-6 while Prathom 3-4's were the second and Prathom 1-2's were the least.
dc.format.extent496514 bytes
dc.format.extent505057 bytes
dc.format.extent1960754 bytes
dc.format.extent498689 bytes
dc.format.extent756955 bytes
dc.format.extent1184467 bytes
dc.format.extent1917114 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือสำหรับเด็กen
dc.title.alternativeAn analysis of the scientific concepts found in books for childrenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangdaw_Su_front.pdf484.88 kBAdobe PDFView/Open
Duangdaw_Su_ch1.pdf493.22 kBAdobe PDFView/Open
Duangdaw_Su_ch2.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Duangdaw_Su_ch3.pdf487 kBAdobe PDFView/Open
Duangdaw_Su_ch4.pdf739.21 kBAdobe PDFView/Open
Duangdaw_Su_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Duangdaw_Su_back.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.