Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26232
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิมลสิทธิ์ หรยางกูร | |
dc.contributor.author | สันทัสก์ อาจสาคร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-26T13:24:38Z | |
dc.date.available | 2012-11-26T13:24:38Z | |
dc.date.issued | 2529 | |
dc.identifier.isbn | 9745665444 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26232 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้ทำการศึกษาปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานราชการส่วนภูมิภาคที่มีที่ทำการภายในอาคารศาลากลาง เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพของที่ตั้ง ผังบริเวณและพื้นที่อาคารศาลากลาง ในทุกจังหวัดที่ใช้แบบมาตรฐานอาคารศาลากลางขนาดเล็กที่ออกแบบในครั้งหลังสุด ซึ่งมีการจัดสร้างและใช้เป็นที่ทำการแล้วใน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชัยนาท นครนายก ปทุมธานี พังงา ยโสธร ระยอง และสุพรรณบุรี เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขสภาพที่ไม่เหมาะสมของที่ตั้งผังบริเวณและพื้นที่อาคารศาลากลางที่เป็นอยู่ในจังหวัดดังกล่าว รวมทั้งเสนอแนวทางการกำหนดที่ตั้ง การจัดผังบริเวณและการจัดพื้นที่อาคารศาลากลาง สำหรับการจัดสร้างศาลากลางในจังหวัดต่าง ๆ ในอนาคต แนวเหตุผลของการศึกษานี้คือความจำเป็นในการกำหนดที่ตั้ง การจัดผังบริเวณและการจัดพื้นที่อาคารที่เหมาะสม สำหรับการจัดรวมสำนักงานราชการส่วนภูมิภาค ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่ต้องการรวมสำนักงานราชการส่วนภูมิภาคไว้ในอาคารศาลากลาง เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารราชการของจังหวัด ในการดำเนินการศึกษาได้ทำการเปรียบเทียบสภาพที่ตั้ง ผังบริเวณและพื้นที่อาคารศาลากลางที่เป็นอยู่ใน 8 จังหวัด กับสภาพที่ควรจะเป็นตามทฤษฏี มาตรฐาน และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับการพิจารณาระดับความสำคัญของปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบกับการพิจารณาระดับความสำคัญของปัญหาต่าง ๆ ซึ่งทำการประเมินจากความคิดเห็นที่ได้รับจากการสัมภาษณ์หัวหน้าส่วนราชการที่มีที่ทำการภายในอาคารศาลากลาง โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ปรากฏผลดังนี้ ก. สภาพที่ไม่เหมาะสมของที่ตั้งศาลากลางทำให้เกิดปัญหาความไม่สะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการในที่ตั้งศาลากลาง กับส่วนราชการอื่น ๆ ที่มีที่ทำการอยู่ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของชุมชนในเขตเทศบาล ความไม่สะดวกในการเดินทางมาติดต่อราชการของประชาชน เสียงรบกวนจากถนน และอุปสรรคต่อการขยายเขตเทศบาลครอบคลุมที่ตั้งศาลากลาง ข. สภาพพื้นที่ผังบริเวณศาลากลางไม่เพียงพอสำหรับการจัดเตรียมพื้นที่ลานรัฐพิธีรวมทั้งไม่มีการจัดรวมองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของจังหวัดได้แก่ ศาลาประชาคม และสถานีสื่อสาร การกำหนดจำนวนที่จอดรถที่เป็นอยู่ในผังบริเวณศาลากลางจังหวัดต่าง ๆ ไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการที่จอดรถยนต์ และการจัดระบบสัญจรภายในผังบริเวณไม่สอดคล้องกับระบบการจราจรของชุมชนในบริเวณที่ตั้งศาลากลาง ค. อาคารศาลากลางในจังหวัดต่าง ๆ มีสภาพพื้นที่อาคารไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการใช้พื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร รวมทั้งปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ ปัญหาต่าง ๆ มีสาเหตุจากสภาพพื้นที่อาคารศาลากลางไม่เพียงพอสำหรับการจัดรวมส่วนราชการ จัดการพื้นที่อาคารศาลากลางไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนราชหาร ประกอบกับการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของระบบบริหาราชการส่วนภูมิภาค ทำให้ลักษณะการจัดพื้นที่อาคารที่จัดเตรียมไว้เดิมมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของจังหวัด การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องกำหนดแนวทางการกำหนดที่ตั้ง การจัดผังบริเวณและการจัดพื้นที่อาคาร สำหรับการปรับปรุงสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและสำหรับการจัดสร้างอาคารศาลากลางขึ้นใหม่ในจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้ ก. ที่ตั้งของศาลากลางไม่ควรอยู่ในบริเวณศูนย์กลางธุรกิจการค้า โดยควรมีที่ตั้งในพื้นที่ที่อยู่ในรัศมีการเดิน 1 กิโลเมตรจากศูนย์กลางธุรกิจการค้า บริเวณที่ตั้งศาลากลางควรมีสภาพที่เหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นเมือง และสะดวกต่อการคมนาคมขนส่งระหว่างอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัด ข. ผังบริเวณศาลากลางควรมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ไร่ ภายในผังบริเวณควรจัดเตรียมลานรัฐพิธีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 ไร่ ภายในผังบริเวณควรจัดรวมเฉพาะสำนักงานราชการส่วนภูมิภาคที่ควรมีที่ทำการอยู่ภายในที่ตั้งศาลากลาง รวมทั้งจัดเตรียมศาลาประชาคม สถานีสื่อสารและสโมสรข้าราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติงานของจังหวัด และการบริการด้านสวัสดิการสำหรับข้าราชการ พร้อมทั้งจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการขยายตัวในอนาคตของอาคารต่าง ๆ ภายในผังบริเวณควรเตรียมที่จอดรถยนต์สำหรับอาคารประเภทสำนักงานจำนวนไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 80 ตารางเมตร การจัดระบบสัญจรภายในผังบริเวณควรสอดคล้องกับระบบการจราจรในถนนที่ผ่านที่ตั้งศาลากลาง พร้อมทั้งกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยโดยการควบคุมทางเข้าออกผังบริเวณ ซึ่งควรมีจำนวนทางเข้าออกไม่เกิน 2 ทาง ค. อาคารศาลากลางควรจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดรวมสำนักงานราชการส่วนภูมิภาคที่ควรมีที่ทำการภายในอาคารศาลากลาง โดยควรมีขนาดพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ตามที่กำหนดในมาตรฐานอาคารประเภทที่ทำการของทางราชการ ในส่วนของพื้นที่สำนักงานควรจัดเตรียมพื้นที่ทางเดินหลักขนาดร้อยละ 10 ของพื้นที่ปฏิบัติงานสำหรับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่เก็บพัสดุและเอกสารภายในสำนักงานขนาดพื้นที่ 2.2 ตารางเมตรต่อคน พร้อมทั้งจัดเตรียมพื้นที่สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานพิเศษอื่น ๆ ตามความจำเป็นของแต่ละส่วนราชการ ที่ตั้งของสำนักงานต่าง ๆ ควรอยู่ตำแหน่งชั้นที่เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานขงแต่ละสำนักงาน และมีการจัดความสัมพันธ์ระหว่างที่ตั้งสำนักงานต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับลักษณะการประสานงานระหว่างส่วนราชการในกระทรวงเดียวกันและการประสานงานระหว่างกระทรวง โดยเน้นการจัดความสัมพันธ์ระหว่างที่ตั้งของส่วนราชการ 3 กระทรวงในจำนวน 4 กระทรวงหลักที่จัดรวมไว้ในอาคารศาลากลางได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเกษตร พื้นที่ทำงานผู้บริหารระดับสูงควรมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 ตารางเมตร (รวมพื้นที่ห้องน้ำ ส้วม) พร้อมทั้งจัดเตรียมห้องทำงานเลขานุการรวมทั้งบริเวณพักรอขนาดพื้นที่รวมกัน 14 ตารางเมตร ซึ่งควรเข้าถึงได้โดยตรงจากพื้นที่ทำงานผู้บริหารระดับสูงและพื้นที่สำนักงานในบังคับบัญชา ภายในอาคารศาลากลางควรจัดเตรียมห้องประชุมขนาดจุผู้เข้าประชุม 100 คน จำนวน 1 ห้อง และห้องประชุขนาดจุผู้เข้าประชุม 25 คนจำนวน 2 ห้อง พร้อมทั้งจัดเตรียมห้องสมุดสำหรับใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารทางวิชาการที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดทำขึ้น การวิจัยในขั้นต่อไปควรศึกษาถึงรายละเอียดความต้องการสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่ของแต่ละองค์ประกอบภายในอาคารศาลากลาง เพื่อการจัดพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการบริหารราชการของจังหวัดยิ่งขึ้น และควรทำการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการกำหนดที่ตั้งการจัดผังบริเวณและการจัดพื้นที่อาคารสำหรับใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการอื่น ๆ ทั้งที่เป็นสำนักงานราชการส่วนภูมิภาคซึ่งไม่ได้จัดรวมไว้ภายในอาคารศาลากลาง รวมทั้งสำนักงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัด | |
dc.description.abstractalternative | This study investigated problems concerning efficiency in provincial operations, mainly the problems related to location, site and space plannings of provincial office building. Eight case studies of the recently built, small-typed standard provincial office buildings were undertaken. They are provincial office buildings in Chanthaburi, Chai Nat, Nakhon Nayok, Pathum Thani, Phangnga, Yasothon, Rayong and Suphanburi. The main objectives were to solve the existing problems related to location, site and space planning of provincial office buildings, as well as to set up guidelines for site selection, site and space plannings of such buildings in various provinces in the future. The study was based on the ministry of interior’s policy as regards the unification of all provincial off ices in the same building in order to increase operation efficiency. Comparative analyses of all the provincial office buildings were made in terms of location, site and space planning, as related to standards and regulations. The significance of problems as perceived by the head of provincial department headquarters in the study areas were also investigated through using interview schedules in data collection. The findings are as follows: A) An unsuitable location for provincial office building would hinder the provincial operation in terms of integration between offices in the provincial office building and others that scatter in the municipal area. Easy access of people would be rather difficult to attain. Moreover, there are also operational disturbances because the provincial office building is located in the district with highly congested traffic and high speed vehicles. In some cases provincial office buildings are located in areas which obstruct the expansion of municipality area. B) The site may not large enough for planning a provincial convention plaza, and for such facilities as provincial convention hall and provincial radio station. Existing parking spaces for government office buildings in various provinces are not sufficient in some municipal areas. The security system with in the site may also disturb the internal traffic system in relation to off-site streets. C) Provincial office buildings in various provinces are inappropriately planned because the spatial allocations are not in accordance with the official standards and other related standards of space planning. Thus, a decent space utilization can hardly be achieved. The total space of provincial office building is not sufficient for the unification of all provincial department headquarters. The building layout is also not suitable for efficient operation and for the potential changes in local administrative system. To solve the problems, guidelines for location, site and space planning have to be worked out for the improvement of existing conditions as well as for future establishment of provincial office buildings. A) The strategic location should not be in close proximity to the center of business district. It should be within the walking distance of 1 kilometre from the center. The location should also be in accordance with urban development plan and near the center of transportation connecting all the districts of each province. B) The total area of the site should be at least 30 rai planned with a convention plaza of 5 rai in front of the main building. The site should be large enough to accommodate the necessary provincial department headquarters, a provincial convention center, a provincial radio station and an officers’ clubhouse which should support provincial operation and officers’ welfare. The total area should include spaces for future expansion of various buildings. As for the parking area, it should be sufficient as regards the existing traffice volume in each municipality. The standard should be one car per 80 square metres of floor area. The traffice system with in the site should be designed in accordance with the road system around the buildings, and also with the security system which demands not more than 2 entrances. C) The building should be designed for all local headquarters that should be unified in the provincial office building. Each office space should be planned according to government office standard. Ten percent of operational space should be planned for circulation with in the space, in addition to the storage spaces for equipment and document, about 2.2 square metres per person, including some other spaces for specific operation. Each local headquarter should be properly laid out in terms of floor level. Functionally related office spaces should be laid out in close proximity according to the interrelationship among or within individual ministries. The layout should reflect operational relationship among the main ministries, i.e., ministry of interior, ministry of education, ministry of agriculture and cooperative, and ministry of health. Each working space, including restroom, for chief administrators should not be less than 30 square metres. Space for a secretary and waiting lobby of 14 square metres with easy access to the chief ministrators and other office areas should be planned. Within the building a 100- person conference room and two 30-person conference rooms and a library for government documents should also be provided. For further study, the environmental demands for each part of the building should be investigated. This should improve the spatial arrangement for provincial administration. Research concerning guidelines for location, site and space plannings for other provincial government offices, should also be undertaken. | |
dc.format.extent | 536247 bytes | |
dc.format.extent | 1919713 bytes | |
dc.format.extent | 3882200 bytes | |
dc.format.extent | 3129243 bytes | |
dc.format.extent | 1367145 bytes | |
dc.format.extent | 1262215 bytes | |
dc.format.extent | 857866 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | แนวทางการกำหนดที่ตั้งการจัดผังบริเวณ และการจัดพื้นที่อาคารศาลากลาง | en |
dc.title.alternative | Guidelines for location, site and space plannings of provincial of building | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Santas_Ar_ch1.pdf | 523.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Santas_Ar_ch2.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santas_Ar_ch3.pdf | 3.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santas_Ar_ch4.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santas_Ar_ch5.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santas_Ar_ch6.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Santas_Ar_back.pdf | 837.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.