Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงศ์ศักดิ์ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.advisorอังสนา บุณโยภาส
dc.contributor.authorประภาพร ธาราสายทอง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-27T06:38:58Z
dc.date.available2012-11-27T06:38:58Z
dc.date.issued2546
dc.identifier.isbn9741753454
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26384
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเรื่องการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อลดความเครียดและส่งเสริมสุขภาพจิตของคนในสังคม ส่งผลให้งานภูมิทัศน์ดังกล่าวสามารถช่วยบำบัดจิตใจ ทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในการศึกษาได้เก็บข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและกรณีศึกษาโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปเป็นแนวทางในการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อการบำบัดจิตใจ และนำข้อสรุปที่ได้มาวิเคราะห์กับงานออกแบบภูมิทัศน์ของไทยโครงการต่างๆที่สนับสนุนการบำบัดจิตใจ จากการศึกษาพบว่าองค์ความรู้ในการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อการบำบัดจิตใจมากจาก 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการออกแบบตามประเพณีที่สั่งสมมาจากอดีต ซึ่งตอบสนองสภาพธรรมชาติและปรัชญาความเชื่อในท้องถิ่น แนวทางด้านชีววิทยาและนิเวศวิทยา ซึ่งสร้างความรู้สึกสบายจากการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี และแนวทางที่ให้ความสำคัญกับบุคคล ซึ่งคำนึงถึงการเคลื่อนไหวทางสรีระ การสนับสนุนทางสังคมและการตอบสยองต่อสภาพธรรมชาติที่น่าพอใจ ซึ่งสามารถสรุปประเด็นของการออกแบบภูมิทัศน์ได้ 2 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก (ความรู้สึกว่าสามารถควบคุมได้และความเป็นส่วนตัว การสนับสนุนทางสังคม การเคลื่อนไหวทางสรีระ และการเข้าถึงธรรมชาติและสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจที่ดี) และประเด็นเกี่ยวกับการออกแบบกายภาพ (แนวคิดในเรื่องสิ่งเร้าในการบำบัดจิตใจ การออกแบบภูมิทัศน์ที่สร้างความพึงพอใจและภูมิทัศน์ที่มนุษย์ชอบ) ทั้งนี้เมื่อนำหลักการดังกล่าวมาวิเคราะห์กับกรณีศึกษาของไทยพบว่า ส่วนมากงานออกแบบภูมิทัศน์ของไทยมีการคำนึงถึงความรู้สึกว่าสามารถควบคุมได้และความเป็นส่วนตัว รวมทั้งการเข้าถึงธรรมชาติและสิ่งเบี่ยงเบนที่ดีในการออกแบบ โดยประเด็นอื่นๆจะให้ความสำคัญรองลงมา ส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับการออกแบบกายภาพนั้นงานออกแบบภูมิทัศน์ของไทยมีการคำนึงถึงการบำบัดจิตใจอยู่บ้าง โดยมีความแตกต่างบางประการเช่น ไม่นำเรื่องการรับรู้รสในการบำบัดมาใช้ ไม่คำนึงถึงสีในการบำบัดจิตใจเท่าที่ควร การออกแบบที่เน้นร่มเงาและรูปร่างของเงามากกว่าการรับแสงโดยตรง มีการใช้น้ำเป็นองค์ประกอบที่เด่นชัด การใช้สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนามาใช้บำบัดจิตใจ เป็นต้น โดยสามารถสรุปได้ว่าแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์เพื่อการบำบัดจิตใจจะต้องประกอบด้วยประเด็นหลัก ดังนี้คือ การออกแบบให้เกิดการกระตุ้นความรู้สึกอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความสมดุลของสิ่งเร้าด้านเสียง กลิ่น สัมผัส ภาพ และรส โดยเฉพาะการกระตุ้นทางสายตาด้วยภาพที่มีความหลากหลายและความวับซ้อนขององค์ประกอบที่ดึงดูดความสนใจ การจัดองค์ประกอบของพื้นที่ให้เกิดการรับรู้อย่างมีแบบแผน เอกภาพ ความสมดุล และจังหวะ ที่สร้างความพอใจและเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจให้สายตาจับผิดและติดตามภาพนั้นได้อย่างไม่เบื่อ การออกแบบพื้นที่โอบล้อมที่สร้างความลึกลับและน่าพอใจ ซึ่งจะสร้างความรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัย รวมทั้งสร้างกรอบทางสายตาที่รับรู้ภาพรวมได้ง่ายและน่าค้นหา ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจให้อยู่ในปัจจุบัน และการออกแบบให้มีองค์ประกอบที่มนุษย์ชอบและสื่อความหมายทางสัญลักษณ์ ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจตามสัญชาติญาณและการสั่งสมทางความคิด และความเชื่อของวัฒนธรรมนั้นๆ
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the Healing Landscape Design, which can reduce stress and support the better quality of life. The research is based on the revision of concerned literature and the analysis of case studies so that the design guidelines for Healing Landscape can be summarized, and then compared with the healing landscape design projects in Thailand. According to the study, the knowledge used in the design of Healing Landscape has generally come from 3 approaches. Firstly, the traditional approach which responds to natural condition and local philosophy. Secondly, the biological and ecology approach which creates relaxation from supportive environment. Thirdly, the people-oriented approach which cares for human's physical movement, social support, and reaction to pleasure environment. Factors considered in Healing Landscape Design can be divided into 2 categories; the emotional factors or the process of Healing (sense of control, privacy, social support, physical movement, access to nature and distractions), and the spatial design factors (sensual arousa , landscape preference and pleasurable design) . The study of the above-mentioned analysis compared with case studies in Thailand finds that most Thai Landscape Design are concerned with both emotional factors such as sense of control, privacy and access to nature and other positive distractions. Other factors receive less priorities. With regard to spatial design, Thai Landscape also considers mental healing with some differences ; for example , the negligence of the taste and color in the theory, the emphasis on shading and its shape rather than the direct sunlight, the usage of water as a key component , and the use of buddhism symbol for spiritual healing. In conclusion, the research has grouped the Design Guidelines for Healing Landscape into 4 approaches. Firstly, the stimulation of the senses with the balance of hearing , smelling , touching , sight, and taste , especially the sight stimulation by diversified and complex picture. Secondly, the arrangement of landscape composition to create perception of order, unity, balance, and rhythm that satisfactory and attractive. Thirdly , the enclosure of space to enable a sense of mystery, privacy, and pleasure which leads to familiarity and comfort , as well as frames all elements into overall interesting picture. Lastly, the design of garden elements with symbolic meaning to create human pleasure which responding to their instinct, beliefs, and culture.
dc.format.extent5368311 bytes
dc.format.extent3691081 bytes
dc.format.extent10110549 bytes
dc.format.extent14165163 bytes
dc.format.extent12330997 bytes
dc.format.extent22376607 bytes
dc.format.extent7832895 bytes
dc.format.extent1467136 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.titleภูมิทัศน์เพื่อการบำบัดจิตใจen
dc.title.alternativeThe healing landscapeen
dc.typeThesises
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapapom_th_front.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Prapapom_th_ch1.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open
Prapapom_th_ch2.pdf9.87 MBAdobe PDFView/Open
Prapapom_th_ch3.pdf13.83 MBAdobe PDFView/Open
Prapapom_th_ch4.pdf12.04 MBAdobe PDFView/Open
Prapapom_th_ch5.pdf21.85 MBAdobe PDFView/Open
Prapapom_th_ch6.pdf7.65 MBAdobe PDFView/Open
Prapapom_th_back.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.