Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26414
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ทนง ทองเต็ม | - |
dc.contributor.advisor | ศิริโสภาภาคย์ บูรพาเดชะ | - |
dc.contributor.author | สุภาพร ศรีสัตยากุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-27T07:53:00Z | - |
dc.date.available | 2012-11-27T07:53:00Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745663514 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26414 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อประเมินผลการพัฒนาองค์การด้านการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อความของการไฟฟ้านครหลวง โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษากระบวนการในการพัฒนาองค์การของการไฟฟ้านครหลวง และขั้นตอนการใส่สิ่งสอดแทรก เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารข้อความซึ่งประกอบด้วย โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การเขียนบันทึกและรายงาน” โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “โรงฝึกการนำประชุม” และโครงการจัดรถส่วนกลางรับส่งเอกสารอย่างเป็นระบบ และทำการประเมินผลการพัฒนาองค์การด้านการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อความในการไฟฟ้านครหลวงตามโครงการทั้งสามดังกล่าว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การเขียนบันทึกและรายงาน” สามารถนำความรู้เกี่ยวกับ รูปแบบของบันทึกความไปใช้ในการปฏิบัติงานทำให้การเขียนบันทึกข้อความมีรูปแบบเดียวกันทั้งองค์การ อีกทั้งทำให้การสื่อสารเข้าใจสาระสำคัญไปในทำนองเดียวกันมากยิ่งขึ้น และมีความเห็นว่าทำให้เกิดการประหยัดเวลาในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรดังกล่าวสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้แก้ปัญหาในด้านการเขียนบันทึกข้อความได้ในระดับปานกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณาในด้านของการปฏิบัติจริงนั้นอาจกล่าวได้ว่า หากผู้ผ่านการฝึกอบรมได้นำความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านการเขียนบันทึกและรายงานต่อไปอีกสักระยะหนึ่งก็จะทำให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ได้มากยิ่งขึ้น จึงสามารถกล่าวสรุปได้ว่า โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การเขียนบันทึกและรายงาน” เป็นสิ่งสอดแทรกที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อความของการไฟฟ้านครหลวง 2.ผู้ผ่านการฝึกอบรมตามโครงการฝึกอบรมหลักสูตร “โรงฝึกการนำประชุม” มีความเห็นว่า เมื่อต้องเป็นผู้นำประชุม สามารถสื่อข้อความให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจสาระสำคัญของการประชุมไปในทำนองเดียวกันโดยใช้เวลาน้อยกว่าเดิม นอกจากนี้ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวมีความเห็นว่าสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้แก้ปัญหาในด้านการนำประชุมได้ในระดับปานกลาง ซึ่งเมื่อพิจารณาในด้านของการปฏิบัติจริงนั้นอาจกล่าวได้ว่า หากผู้ผ่านการฝึกอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ได้มากยิ่งขึ้น จึงสามารถกล่าวสรุปได้ว่า โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “โรงฝึกการนำประชุม” เป็นสิ่งสอดแทรกที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อความของการไฟฟ้านครหลวง 3. เมื่อได้ทำการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิของโครงการจัดรถส่วนกลางรับส่งเอกสารอย่างเป็นระบบ ทำให้ทราบว่าหลังจากที่ได้มีการจัดรถส่วนกลางรับส่งเอกสารแล้วมีผลทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์การลงได้อย่างเห็นได้ชัด จากตัวเลขค่าใช้จ่ายเปรียบเทียบของฝ่ายจัดซื้อและพัสดุ ภายหลังจากที่มีการจัดรถส่วนกลางรับส่งเอกสารแล้วค่าใช้จ่ายในช่วง 3 เดือนลดลงประมาณ 8,800 บาท ซึ่งสามารถกล่าวสรุปได้ว่า โครงการจัดรถส่วนกลางรับส่งเอกสารเป็นระบบนั้นเป็นสิ่งสอดแทรกที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อความของการไฟฟ้านครหลวง | - |
dc.description.abstractalternative | The principle objective of this thesis is to evaluate the organization development in communication system development of the Metropolitan Electricity Authority (M.E.A.). In this thesis, the researcher has studied the process of the M.E.A. organization development and steps of interventions to develop communication system. These interventions include comprises the Effective Report Writing Program, the Effective Meeting workshop Program and the Systematic Vehicular Delivery of Official Documents Program. These three programs have been studies and analyzed in order to evaluate the organization development in communication system development of the Metropolitan Electricity Authority. Results of the research are summarized as follows: 1.Trainees who have successfully completed the Effective Report Writing Program are capable of adopting the pattern of report writing in their work, resulting in a standardized reporting writing style of the organization, similar understanding of the conveyed substance and time-saving in communication as well Knowledge obtained from this program has also enabled these trainees to moderately solve problems in their report writing consideration of their performance, however, has indicated that application of such knowledge in report writing for a prolonged period will enable these trainees to perform their work more efficiently. It can be therefore concluded that the Effective Report Writing Program is an appropriate intervention in the communication system development of the Metropolitan Electricity Authority. 2. Trainees in the Effective Meeting Workshop Program are of the opinion that whenever they are required to conduct a meeting, they are capable of conveying the salient features of the meeting to all attendants in shorter time. In addition, these trainees feel that they can moderately solve problems arising in conducting the meeting through the use of knowledge gained in the workshop program. Application of such knowledge in conducting the meeting for a longer period will nevertheless increase the efficiency of these trainees. It can be concluded that the Effective Meeting Workshop Program is another suitable intervention in communication system development of the Metropolitan Electricity Authority. 3.The study of the secondary data of the Systematic Vehicular Delivery of Official Documents Program reveals that expenses of the organization have been considerably reduced after the implementation of this program. Comparative expenditure figures prepared by the Purchasing Section has show the decrease of approximately 8,800 Baht of expenses in three months after the initiation of a car service for delivery of official documents. This has indicated that the Systematic Vehicular Delivery of Official Documents Program is another appropriate intervention in communication system development of the Metropolitan Electricity Authority. | - |
dc.format.extent | 486460 bytes | - |
dc.format.extent | 339271 bytes | - |
dc.format.extent | 363261 bytes | - |
dc.format.extent | 848630 bytes | - |
dc.format.extent | 1637394 bytes | - |
dc.format.extent | 362823 bytes | - |
dc.format.extent | 739940 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การประเมินผลการพัฒนาองค์การด้านการพัฒนาระบบการสื่อสาร ของการไฟฟ้านครหลวง | en |
dc.title.alternative | An evaluation of organization development in communication system development of metropolitan electricty authorty | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พาณิชยศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supaporn_Sr_front.pdf | 475.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Sr_ch1.pdf | 331.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Sr_ch2.pdf | 354.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Sr_ch3.pdf | 828.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Sr_ch4.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Sr_ch5.pdf | 354.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supaporn_Sr_back.pdf | 722.6 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.