Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26472
Title: โปรแกรมเพื่อช่วยออกแบบการจัดวางตำแหน่งดวงโคมภายในอาคาร
Other Titles: Software for luminaire-layout aided design inside architectural building
Authors: ปราโมทย์ แซ่ตั้ง
Advisors: ฐานิศวร์ เจริญพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2546
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และค้นหาแนวทางวิธีด้านการออกแบบการจัดการวางดวงโคมภายในอาคารสถาปัตยกรรม ซึ่งช่วยให้สถาปนิกซึ่งมีความรู้เรื่องการออกแบบแสงสว่างน้อย ขาดทักษะในการทำงานด้านนี้อยู่แล้ว ช่วยให้สถาปนิกตัดสินใจและทำงานง่ายขึ้น ปัจจุบันสถาปนิกเริ่มมีความจำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบมากขึ้น อีกทั้งคอมพิวเตอร์กลายเป็นอุปกรณ์สำนักงานในสำนักงานอยู่แล้ว คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคำนวณและประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อนได้ดีมาก เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยสถาปนิกในการออกแบบการจัดวางดวงโคมภายในอาคารได้ โดยจัดทำเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยอาศัยความเป็นไปได้ทางทฤษฏีและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นโปรแกรมให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลไปอย่างเดียว อีกทั้งในประเทศไทยยังขาดการพัฒนาโปรแกรมต่างๆในด้านการออกแบบ จึงต้องพึ่งพาโปรแกรมจากต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา การศึกษางานวิทยานิพนธ์นี้เราสามารถนำไปพัฒนาต่อไปอีกให้เป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ เชื่อมต่อฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางด้านแสงสว่างของบริษัทต่างๆซึ่งจะช่วยให้โปรแกรมมีการตัดสินใจและมีวิธีการที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก ขั้นตอนการศึกษาวิจัย เริ่มจากการศึกษาพื้นฐานของการออกแบบแสง รายละเอียดของดวงโคม รวมทั้งการทำงานของนักออกแบบแสงสว่างภายในอาคาร เพื่อให้โปรแกรมมีความแม่นยำ และสะดวกในการใช้งาน การศึกษานี้จะประยุกต์วิธีการคำนวณแบบลูเมน ซึ่งใช้ในกรณีที่ต้องการแสงสว่างอย่างสม่ำเสมอ ที่ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว และวิธีการคำนวณแบบจุดต่อจุด ซึ่งใช้หาการส่องสว่างแบบเน้นเป็นจุดหรือคำนวณอย่างละเอียด ให้ผู้ใช้เลือกวิธีที่ต้องการใช้งานมากที่สุด จากนั้นทำการทดสอบผลที่ได้จากการใช้งานโปรแกรมกับสถาปนิก และทำการประเมินผลลัพธ์ โดยผลการคำนวณที่ได้จากด้วยคอมพิวเตอร์นี้ เราสามารถนำไปทดสอบติดตั้งที่หน้างาน หากปริมาณแสงและตำแหน่งดวงโคมไม่เป็นที่ต้องการ สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้ ซึ่งอาจทำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โปรแกรมเพื่อช่วยในการออกแบบแสงสว่างในอาคาร สามารถนำไปพัฒนาต่อไปอีก ในการจำลองสภาพแสงในลักษณะ 3 มิติ และเพิ่มเติมในส่วนของปริมาณการส่องสว่างจากแสงภายนอก เพื่อให้โปรแกรมมีความสมบูรณ์และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The objective of this research was to identify how interior lighting design can be aided by the use of various software packages. Software can help inexperienced architects with limited skills and knowhow to make sound decisions and avoid planning mistakes. Nowadays architects make much use of computer aided design techniques .Computers are used in every architecture firm. They are used in dealing with complicated data. Custom mace software can be produced to help architects in designing better interior lighting. However those is a lack of CAD Software in Thailand, which leads to dependence on imported software. However it is possible for Thailand to produce its own software in this field. This research commenced with a review of interior lighting focusing on designers and functional lighting design. Two methods of calculating interior lighting needs are considered in this study .The first Lumen method is used when consistent lighting is required. The other is the Point by Point method which is used when contrasting lighting is required, or absolute accuracy .The software evaluated in this study can be used in making both types of calculations. All software evaluated in the study was assessed by architects .The accuracy of the software was also tested by onsite installation of software generated interior lighting designs. The software evaluated in this study could be further developed to perform dimension simulation and outdoor lighing simulations.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26472
ISBN: 9741734921
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pramote_sa_front.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_sa_ch1.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_sa_ch2.pdf16.13 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_sa_ch3.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_sa_ch4.pdf7.41 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_sa_ch5.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Pramote_sa_back.pdf673.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.