Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26597
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช-
dc.contributor.authorสุพจน์ อรุณรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-28T07:44:52Z-
dc.date.available2012-11-28T07:44:52Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745671053-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26597-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิชาอาชีพ เกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรในด้านเนื้อหาวิชา การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผล กิจกรรมเสริมหลักสูตร และการนำเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรไปใช้เป็นพื้นฐานการเรียนวิชาชีพเกษตรกรรม ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 จำนวน 324 คน ซึ่งสุ่มแบบแบ่งชั้น จากวิทยาลัยเกษตรกรรม สังกัดกรมอาชีวศึกษาเขตการศึกษา 6 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิชาอาชีพเกษตรกรรมจำนวน 254 คน ซึ่งสุ่มแบบแบ่งชั้น จากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในด้านการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรพบว่า ตัวอย่างประชากรนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรในด้านเนื้อหาวิชา การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนและการวัดผลและการประเมินผลว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตัวอย่างประชากรกลุ่มนี้มีความคิดเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ส่วนตัวอย่างประชากรนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิชาชีพมีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยว่า การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรของตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มพบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านการจัดการเรียนการสอนที่ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน 2. ในด้านการนำเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรไปใช้เป็นพื้นฐานการเรียนวิชาชีพเกษตรกรรมพบว่า ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยสอดคล้องกันว่าเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรเล่ม 1 , เล่ม 2, และเล่ม 4 นำไปใช้เป็นพื้นฐานการเรียนวิชาชีพเกษตรกรรมได้ในระดับปานกลาง ส่วนเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรเล่ม 3 นั้น ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่ม มีความคิดเห็นว่านำไปใช้เป็นพื้นฐานการเรียนวิชาชีพเกษตรกรรมได้ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มเกี่ยวกับการนำเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์เกษตรทั้ง 4 เล่ม ไปใช้เป็นพื้นฐานการเรียนวิชาชีพเกษตรกรรมพบว่า ตัวอย่างประชากรทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and compare the opinions of vocational education certificate students and upper secondary school vocational program students concerning agricultural science instruction in the following aspects: the subject matter, instructional management, instructional media, measurement and evaluation, extra-curricular activities and the implementation of agricultural science subject matter as a basis in learning agricultural subjects. The samples of this study were 324 third-year vocational education certificate students and 254 mathayom suksa six agricultural vocational program students who were stratified random sampled from agricultural colleges and upper secondary schools in educational region six respectively. The instrument used in this study was the questionnaire which was constructed by the researcher. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic means, standard deviation and t-test. The research findings were concluded as follows: 1. In the aspect of agricultural science instruction, the vocational education certificate students thought that the subject matter, instructional management, instructional media, and measurement and evaluation were appropriate at the moderate level, while the extracurricular activities were appropriate at the low level. The upper secondary school vocational program students thought that the agricultural science instruction was appropriate at the moderate level in all aspects. The opinions of the vocational education certificate students and upper secondary school vocational program students concerning the appropriateness of agricultural science instruction were significantly different at the 0.05 level in almost aspects except the instructional management aspect. 2. In the aspect of the implementation of agricultural science subject matter as a basis in learning agricultural subjects, the vocational education certificate students and upper secondary school vocational program students agreed that the subject matter of textbook I, textbook II and textbook IV could be used as a basis in learning agricultural subjects at the moderate level, but the subject matter in textbook III could be applied in learning agricultural subject at the high level. The opinions of the vocational education certificate students and upper secondary school vocational program students concerning the implementation of agricultural science subject matter in the four textbooks as a basis in learning agricultural subject were not significantly different at the 0.05 level.-
dc.format.extent500527 bytes-
dc.format.extent477922 bytes-
dc.format.extent1678931 bytes-
dc.format.extent384750 bytes-
dc.format.extent1063943 bytes-
dc.format.extent779502 bytes-
dc.format.extent869346 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์เกษตร ระหว่างนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิชาอาชีพen
dc.title.alternativeA comparison of opinions concerning agricultural science instruction between vocational education certificate students and upper secondary school vocational program studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supot_Ar_front.pdf488.8 kBAdobe PDFView/Open
Supot_Ar_ch1.pdf466.72 kBAdobe PDFView/Open
Supot_Ar_ch2.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Supot_Ar_ch3.pdf375.73 kBAdobe PDFView/Open
Supot_Ar_ch4.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Supot_Ar_ch5.pdf761.23 kBAdobe PDFView/Open
Supot_Ar_back.pdf848.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.