Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26613
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณศิลป์ พีรพันธุ์
dc.contributor.authorปิยาภา ร่มสนธิ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-28T08:22:44Z
dc.date.available2012-11-28T08:22:44Z
dc.date.issued2546
dc.identifier.isbn9741758073
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26613
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ย่านเทเวศร์ รวมทั้งศึกษาเอกลักษณ์ ศักยภาพ ปัญหา และแนวโน้มการพัฒนาของพื้นที่ เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสม โดยแบ่งการศึกษาเป็น 4 สมัยคือสมัยเป็นพื้นที่เกษตรนอกเมือง สมัยมีเส้นทางคมนาคมตัดผ่าน สมัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และสมัยการเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการพัฒนา ผลการศึกษาพบว่าย่านเทเวศร์มีพัฒนาการมาจากชุมชนที่มีความผูกพันกับแม่น้ำลำคลองในเรื่องของการตั้งถิ่นฐาน การอุปโภคบริโภค และการสัญจร ต่อมาพื้นที่ได้รับอิทธิพลต่างๆจากการพัฒนา โดยเฉพาะการคมนาคม ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและลักษณะการใช้ที่ดิน ตลอดจนมีอิทธิพลจากแผนและนโยบายของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของประชากร ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการใช้ที่ดิน ทำให้ย่านเทเวศร์เปลี่ยนบทบาทจากพื้นที่พักอาศัยที่มีตลาดเป็นศูนย์กลาง มีวัด วังเป็นแกนนำของการขยายตัวมาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมที่มีหน่วยงานราชการ สถานศึกษา และชุมชนพักอาศัยเป็นองค์ประกอบสำคัญ ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ได้แก่ 1) ปัจจัยจากสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง 2) ปัจจัยจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 3) ปัจจัยจากเทคโนโลยี เช่น ระบบการขนส่ง และสิ่งปลูกสร้าง 4) ปัจจัยจากอดีต เช่น การใช้ที่ดินดั้งเดิม สิ่งจูงใจ อุปสรรคการตั้งถิ่นฐาน วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ และค่านิยม ข้อเสนอแนะจากการศึกษา : บทบาทของย่านเทเวศร์ในอนาคตคือ เป็นย่านการค้าควบคู่กับการพักอาศัย โดยมีตลาดสด และตลาดต้นไม้เป็นกิจกรรมการค้าหลักของพื้นที่ ตลอดจนมีสถาบันราชการ และสถาบันการศึกษาทั้งในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงเป็นสิ่งสนับสนุนให้สามารถคงบทบาทด้านการค้าไว้ได้ ส่วนแนวทางการพัฒนาพื้นที่ได้แก่ การอนุรักษ์สิ่งที่มีคุณค่า การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เน้นส่งเสริมความสำคัญของตลาดแก้ปัญหาด้านสังคม ลดความแออัดในชุมชน เพื่อดึงดูดไม่ให้คนย้ายออกจากพื้นที่ และสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวจากเอกลักษณ์และศักยภาพในด้านต่างๆของพื้นที่
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the development, development process and factors affecting the spatial development of Thewet District; to study the identity, potentiality, problem and development trend of area; and to propose the suitable spatial development guidelines for Thewet District in the future. The development of the district are divided into 4 periods-rural agriculture, construction of the transport network, land use changes and change from modern developments. The research found that the development of Thewet District in the past was closely tied to waterways: They were used to support settlements, consumptions and transportation. The area has been gradually affected by modern development, especially transportation development which has caused major changes in human settlement patterns and land use. At the same time, government plans and policies have affected population growth and the expansion of infrastructures and land utilization. Thus, Thewet District has changed from residential communities centered by market places, temples, and palaces in the past to commercial area surrounded by government offices, educational institutions, and residential communities. The factors affecting the spatial development of the area are: 1) social, economic, and political conditions; 2) natural and physical environment; 3) technology, i.e., transportation system and new buildings; 4) history including the early settlement patterns, attraction and difficulty of settlement, culture, religion, and value. The study proposes that the role of Thewet District in the future should be mixed commercial and residential area. Food market and plant market should be main commercial activities of area, Government offices and educational institutions within the area could help strengthen the district role. The proposed spatial development guidelines include conservation, economic development, promotion of the markets, social relief, decongestion, and promotion of cultural tourism.
dc.format.extent4263867 bytes
dc.format.extent2642452 bytes
dc.format.extent8692164 bytes
dc.format.extent29551748 bytes
dc.format.extent42319338 bytes
dc.format.extent36924710 bytes
dc.format.extent11299706 bytes
dc.format.extent9277132 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ย่านเทเวศร์กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeFactors affecting the spatial development of thewet district, bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyapa_ro_front.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open
Piyapa_ro_ch1.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open
Piyapa_ro_ch2.pdf8.49 MBAdobe PDFView/Open
Piyapa_ro_ch3.pdf28.86 MBAdobe PDFView/Open
Piyapa_ro_ch4.pdf41.33 MBAdobe PDFView/Open
Piyapa_ro_ch5.pdf36.06 MBAdobe PDFView/Open
Piyapa_ro_ch6.pdf11.03 MBAdobe PDFView/Open
Piyapa_ro_back.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.