Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26638
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ ผดุงเจริญ-
dc.contributor.advisorณัฐดนัย อินทรสุขศรี-
dc.contributor.authorสุพพตา สาตรพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-28T09:15:12Z-
dc.date.available2012-11-28T09:15:12Z-
dc.date.issued2524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26638-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524en
dc.description.abstractกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้พยายามใช้เทคนิควิธีการของการพัฒนาองค์การเพื่อปรับปรุงองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จได้ด้วยดี เนื่องจากมีอุปสรรคและปัญหาหลายประการ ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเป็นทั้งปัญหาของกรุงเทพมหานครอันเกี่ยวกับโครงสร้างและนโยบายของผู้บริหาร และปัญหาของงานพัฒนาองค์การเอง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงเทคนิคและวิธีการที่กรุงเทพมหานครใช้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีและหลักการพัฒนาองค์การของนักปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย อันจะทำให้เห็นถึงอุปสรรค ปัญหา และข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการดำเนินการพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีการแบ่งส่วนราชการและกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการเพื่อการปฏิบัติงานออกเป็นหลายสำนัก หลายเขตและหลายกอง อีกทั้งในแต่ละส่วนราชการก็ยังมีการแบ่งงานออกไปตามลักษณะงานเป็นหน่วยย่อยออกมากมาย ดังนั้น การศึกษาถึงการดำเนินการพัฒนาองค์การของกรุงเทพมหานครจึงได้จำกัดขอบเขตการศึกษาเป็นเพียงเฉพาะกรณี โดยเลือกศึกษาเฉพาะโครงการพัฒนาองค์การของสำนักการศึกษา โครงการพัฒนาองค์การของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และโครงการพัฒนาองค์การของกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธาเท่านั้น จากการศึกษา ปรากฏว่าการพัฒนาองค์การของกรุงเทพมหานครในแต่ละโครงการมีข้อบกพร่องแตกต่างกันไป อันเป็นผลให้การพัฒนาองค์การไม่สามารถจะดำเนินไปอย่างเป็นระบบที่สมบูรณ์ทั่วทั้งองค์การได้ ปัญหาและข้อบกพร่องต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากโครงสร้างและข้อจำกัดของกรุงเทพมหานคร คือการมีงบประมาณจำกัด การที่เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความสามารถในการพัฒนาองค์การ ความเคยชินในการทำงานตามระบบราชการของข้าราชการในกรุงเทพมหานคร การไม่ยอมรับและให้ความร่วมมือของผู้บริหารระดับสูงอย่างเต็มที่ในการดำเนินการ อันอาจเนื่องมาจากการไม่มีความรู้และความเข้าใจถึงความจำเป็นในการที่จะต้องมีการพัฒนาองค์การอย่างเพียงพอก็เป็นได้ ประการสำคัญคือ การเปลี่ยนแปลงคณะผู้บริหารของกรุงเทพมหานครบ่อยครั้งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้งานพัฒนาองค์การต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยขึ้นกับนโยบายของแต่ละคณะบริหารที่มีต่อการพัฒนาองค์การ ส่วนลักษณะปัญหาอีกประการนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการของงานพัฒนาองค์การเอง คือ ลักษณะงานพัฒนาองค์การของกรุงเทพมหานครนั้นมักจะใช้วิธีการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและพัฒนาองค์การแต่เพียงประการเดียว ซึ่งตามหลักการแล้ววิธีการฝึกอบรมนั้นอาจไม่สามารถแก้ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมด และโครงการที่ทำอยู่ก็เป็นเพียงโครงการเล็ก ๆ เฉพาะหน่วยงานที่สนใจเท่านั้นโดยไม่ได้เริ่มจากกลุ่มผู้บริหารระดับสูง จึงทำให้งานพัฒนาองค์การของกรุงเทพมหานครเป็นโครงการระยะสั้นและจัดเป็นครั้งคราว ส่วนวิธีการดำเนินงานตามขั้นตอนของแม่แบบจำลองนั้นยังขาดการเน้นในรายละเอียดที่สำคัญอยู่หลายขั้นตอน นับแต่การติดต่อเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำความตกลงเรื่องบทบาทของผู้รับบริการและที่ปรึกษาที่ยังไม่ได้กระทำกันอย่างจริงจังและถูกต้อง การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับปัญหาที่วินิจฉัยได้ การปฏิบัติงานในบางโครงการเป็นดำริจากผู้บริหารระดับสูง ซึ่งในบางครั้งปัญหาที่กำหนดขึ้นมานั้นอาจไม่ใช่สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ส่วนในขั้นตอนการประเมินผลซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ทราบได้ว่าผลจากการพัฒนาองค์การนั้นดีขึ้นหรือไม่เพียงใด งานพัฒนาองค์การก็ไม่ได้ดำเนินการถึงขั้นตอนนี้เลย นับได้ว่าโครงการพัฒนาองค์การของกรุงเทพมหานครยังเป็นโครงการที่มีข้อบกพร่องอยู่มาก ดังนั้น สิ่งที่งานพัฒนาองค์การ กองฝึกอบรมควรจะต้องแก้ไขปรับปรุงคือ การพยายามทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูงให้เล็งเห็นถึงความจำเป็นและยอมรับที่จะให้มีการดำเนินการพัฒนาองค์การขึ้นในองค์การของตน รวมทั้งผู้ดำเนินการเองก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานพัฒนาองค์การอย่างแท้จริงด้วย และในการดำเนินการนั้นอาจเริ่มต้นที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งก่อนก็ได้ แต่จะต้องดำเนินการให้เป็นระบบสอดคล้องกันกับแผนงานใหญ่ที่วางไว้ และผู้ดำเนินการก็จะต้องพร้อมที่จะจัดการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์และสอบถามข้าราชการที่เคยได้รับบริการมาแล้วประมาณ 5% พบว่าส่วนใหญ่นั้นข้าราชการมีทัศนคติที่ดีต่องานพัฒนาองค์การอยู่มาก และต่างก็ได้พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นทั้งในด้านพฤติกรรมและผลงาน ซึ่งพอจะพิจารณาสรุปได้ว่าโครงการพัฒนาองค์การของกรุงเทพมหานครนั้นหากได้มีการแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก็จะสามารถเป็นโครงการที่สมบูรณ์และประสบความสำเร็จได้ในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeFor seven years the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) is an organization, which has tried to use an organization development (OD) technique to improve its organization but it had not achieved much success because of many problems and obstacles. The problems lie in both the BMA’s structure together with its administrator’s policies and the Division of OD. The objective of this thesis is to study the OD techniques and methods that the BMA has used in order to compare them with the theories of all out-standing practicioners. This will point out existing obstacles and shortcomings and can serve as a guideline for improving the BMA’s OD projects in the future. The BMA is divided into many offices, districts and sections, each of which is further subdivided into many smaller parts. Thus, a study of the BMA’s OD projects has to be limited to certain case studies. In other words, it only looks at projects of the Office of Education, The Pom Prab Satru Pai district and the Office of Construction on Supervision of Public Works Department. The result of the study reveals that each OD project of the BMA has so many different shortcomings that it cannot be effectively carried out throughout the organization, These problems and short-comings are of two characteristics. Firstly, it is a problem of the BMA’s structure and policies, such as limited budgets, a lack of capable OD officers, the BMA officers’ conformation to the ineffective bureaucracy system, the executives’ hesitation to accept new ideas and give cooperation due to their unawareness of the need for an OD project and frequent changes in the administrative groups of the BMA, which is an important cause to make OD projects change their objectives very often. Secondly, it is the implementation of OD projects, which is carried out by the Division of OD. In other words, training programmes are often used to solve problems and develop the organization. Theoretically, this method may not solve all problems effectively. They are conducted only in some sections and not usually initiated by the top team. Thus, the BMA’s OD projects are merely shortrun projects and occasionally performed. Also the performance of OD projects, according to the BMA’s model, lacks an emphasis on important details at some stages, such as, the initial agreement about the role of clients and consultants is not correctly and seriously reached. The goal of implementation does not correspond to the problem. In some projects initiated by the top team sometimes problems which have been set does not have to be solved. Besides, the Division of OD has not reached the evaluation stage of which is a very important one. It is apparent that the BMA’s OD projects have many shortcomings. Thus, what is to be done is to convience the top team to see the need for OD and accept an introduction of OD to their organization. At the initial stage OD can be undertaken in any division as long as it is conducted in correspondence with the master project and that division is ready to handle and prevent any problem that may occur. However, it occurs, from an interviewing and questioning the officers who have received this service (around 5% ), that most of them have a good attitude towards OD projects. They have tried to improve both their behaviors and performances. Thus, it can be concluded that the BMA’s OD projects have quite a good status and if various peoblems are solved, they will be complete and successful in the future.-
dc.format.extent475423 bytes-
dc.format.extent355362 bytes-
dc.format.extent1652219 bytes-
dc.format.extent832512 bytes-
dc.format.extent1350758 bytes-
dc.format.extent862255 bytes-
dc.format.extent1614886 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาโครงการพัฒนาองค์การ ของกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study of organization development projects of Bangkok Metropolitan Administrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพาณิชยศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppata_Sa_front.pdf464.28 kBAdobe PDFView/Open
Suppata_Sa_ch1.pdf347.03 kBAdobe PDFView/Open
Suppata_Sa_ch2.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Suppata_Sa_ch3.pdf813 kBAdobe PDFView/Open
Suppata_Sa_ch4.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Suppata_Sa_ch5.pdf842.05 kBAdobe PDFView/Open
Suppata_Sa_back.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.