Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26686
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สรชัย พิศาลบุตร | - |
dc.contributor.author | สายพิณ กาญจนเสริม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-28T10:11:45Z | - |
dc.date.available | 2012-11-28T10:11:45Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745661139 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26686 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | ในการตัดสินใจว่าจะพ่นสารฆ่าแมลงให้กับต้นข้าวโพดเพื่อที่จะป้องกันหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดหรือไม่นั้น ทางกรมวิชาการเกษตรได้ศึกษามาเป็นเวลาหลายปี และสรุปผลออกมาว่า ถ้าผลจากการตรวจนับจำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดทุกต้น ทุกใบ ในแปลงที่ปลูกในสภาพไร่ที่มีแมลงศัตรูธรรมชาติ 60 -80 % ได้จำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดตั้งแต่ 15 กลุ่มต่อต้นข้าวโพด 100 ต้น จึงเริ่มพ่นสารฆ่าแมลงทันที่ (อรนุช กองกาญจนะและคณะ 2525) เหตุที่ต้องตรวจนับจำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดก่อนพ่นสารฆ่าแมลง เพราะถ้าพ่นสารฆ่าแมลงไปโดยที่ไม่ได้ตรวจนับจำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดแล้ว ผลที่ได้รับจะไม่คุ้มผลที่เสียไป คือ นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายในการพ่นสารฆ่าแมลงแล้วฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงจะไปทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติโดยไม่จำเป็น เมื่อปฏิบัติซ้ำกันหลายปีก็เกิดการไม่สมดุลย์ในธรรมชาติมากขึ้น โดยมีผลในปีต่อ ๆ ไปจำนวนหนอนเจาะลำต้นข้าวโพดในไร่ข้าวโพดจะเพิ่มมากขึ้นเพราะขาดแมลงศัตรูธรรมชาติช่วยควบคุม และตัวหนอนก็จะปรับตัวเกิดการดื้อยาขึ้น ดังนั้น การป้องการกำจัดหนอนครั้งต่อ ๆ ไปจะต้อง เพิ่มปริมาณสารฆ่าแมลงมากขึ้น แต่การนับจำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดนั้นทำได้ลำบากมากจากการศึกษาของ วัชรา ชุณหวงค์ และ คณะ (2525) กำหนดให้พ่นสารฆ่าแมลงเมื่อสำรวจในสภาพไร่ว่ามีกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเฉลี่ย 15 กลุ่ม/ 100 ต้น ในพื้นที่ ๆ มีศัตรูธรรมชาติทำลายไข่ 60-80% แต่การสุ่มตัวอย่างต้นข้าวโพดนั้นยังไม่ทราบจำนวนและวิธีการสุ่มที่แน่นอน ดังนั้น ถ้าหาแผนแบบการสุ่มตัวอย่าง และขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับประมาณยอดรวมกลุ่มไข่หนอนเจาะต้นข้าวโพดให้ค่าที่ได้ต่างจากยอดจริงไม่เกิน 2 กลุ่มต่อต้นข้าวโพด 100 ต้นแล้ว จะเป็นการช่วยชาวไร่ในการตัดสินใจพ่นสารฆ่าแมลงได้เป็นอย่างมาก ผลจากการวิจัยเพื่อทดสอบการแจกแจงกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดว่ามีการแจกแจงแบบทวินาม (binomial) แบบปัวซอง ( Poisson) หรือแบบเน็กกะทิฟไบโนเมียล ( negative binomial )โดยใช้การทดสอบภาวะสารูปสนิทดี ( test for goodness of fit ) และ การทดสอบแบบที ( t – test ) ปรากฏว่าข้อมูลของปีพ.ศ. 2525 จำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดมีการแจกแจงแบบเน็กกะทีฟไบโนเมียลหรือแบบกลุ่ม ( Poole , 1974 และ Southwood, 1978 ) 1 ช่วง คือ เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุ 30 วัน เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุ 75 วัน จำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดมีการแจกแจงเป็นแบบปัวซองหรือแบบสุ่ม ( Poole , 1974 และ Southwood, 1978 ) แต่เมื่อต้นข้าวโพดมีอายุ 45 วัน หรือ 60 วัน ไม่สามารถบอกได้ว่าจำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดมีการแจกแจงแบบใด สำหรับข้อมูลปี พ.ศ. 2526 การแจกแจงของกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเป็นแบบปัวซองหรือแบบสุ่มเกือบทั้งหมด ยกเว้นต้นข้าวโพดมีอายุ 5 สัปดาห์ ผลจากการทดสอบสมมติฐานว่าจำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดมีการแจกแจงเป็นแบบปัวซองหรือไม่ จะปฏิเสธสมมติฐาน ถ้าใช้ระดับนัยสำคัญ α = .05 แต่ถ้าใช้ระดับนัยสำคัญ α =.01 จะยอมรับสมมติฐาน ผลจากการทดสอบการแจกแจงของกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดเมื่อต้นข้าวโพดมีอายุต่าง ๆกัน แสดงว่า ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน คือ อาจจะเป็นแบบเน็กกะทิฟไมโนเมียล หรือปัวซอง หรือทวินาม หรือบางครั้งไม่ทราบการแจกแจงเลยก็มี สำหรับขนาดตัวอย่างต้นข้าวโพดที่นำมาใช้ประมาณยอดกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดนั้น เมื่อต้นข้าวโพดอายุ 5 – 6 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดมีมากควรใช้ตัวอย่างต้นข้าวโพดประมาณ 5.5 เปอร์เซ็นต์ของต้นข้าวโพดที่ปลูกทั้งแปลง เมื่อระยะที่ต้นข้าวโพดอายุ 9 – 10 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดน้อย ควรใช้ขนาดตัวอย่างต้นข้าวโพดประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของต้นข้าวโพดที่ปลูกทั้งแปลง ส่วนอายุต้นข้าวโพดในระยะอื่น ๆ ควรใช้ต้นข้าวโพดตัวอย่างเพียง 3.5 เปอร์เซ็นต์ของต้นข้าวโพดทั้งแปลงก็เป็นการเพียงพอ ส่วนวิธีการที่ใช้ในกลุ่มสุ่มตัวอย่างต้นข้าวโพด เพื่อประมาณยอดรวมกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพดทำให้ค่าที่ได้ต่างจากค่ายอดรวมจริงน้อยที่สุดแบ่งตามอายุของต้นข้าวโพดได้ดังนี้ คือ เมื่อต้นข้าวโพดอายุได้ 2 สัปดาห์ใช้การสุ่มตัวอย่าง แบบใช้พื้นที่ขนาดกริดเป็น 2.25 เมตร X 4.5 เมตร ต้นข้าวโพดอายุ 3 สัปดาห์ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบใช้พื้นที่เช่นกัน แต่ขนาดกริดเป็น 3.75 เมตร X 3 เมตร ต้นข้าวโพดอายุ 4 สัปดาห์ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ต้นข้าวโพด 5 สัปดาห์ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบใช้พื้นที่ขนาดกริด 2.25 เมตร X 4.5 เมตร ต้นข้าวโพดอายุได้ 6 สัปดาห์ใช้การเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ ต้นข้าวโพดอายุ 7 – 8 สัปดาห์ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน ต้นข้าวโพด 9 สัปดาห์ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบการใช้พื้นที่ขนาดกริด 3 เมตร X 3 เมตร ต้นข้าวโพดอายุ 10 สัปดาห์ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน จะเห็นว่าการสุ่มตัวอย่างต้นข้าวโพดแต่ละระยะอายุต้นข้าวโพดแตกต่างกันไป ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการสุ่มตัวอย่างและเพื่อความสะดวกในการนำไปแนะนำให้ชาวไร่ได้อย่างถูกต้องและง่ายในการปฏิบัติ โดยสรุปแล้วถ้าใช้การสุ่มตัวอย่างต้นข้าวโพดแบบง่ายและแบบมีระบบจะให้ค่าประมาณยอดรวมที่ได้ต่างจากค่าจริงต่ำที่สุด | - |
dc.description.abstractalternative | For several years the Department of Agriculture has studied whether or not to spray insecticide on corn to kill corn stem borer. The department has now come to the following conclusions : If we find masses of eggs on corn stalks and leaves which amounts 15 eggs masses/100 plants due to the percentage of parasitization (60-80%) by the Trichogramma sp. parasite, then we should spray insecticide immediately. (Auranuj Kongkanjana, et al., 2525). The reason we check the masses of eggs is that if we spray insecticide the mass of eggs is less than 15 egg masses/100 plants, the insecticide could kill parasitization of corn stem borer such as Chrysopa basalis Walker, Proreus similans Slallen and Trichogramma australicum Girault. The result in this case is that the following year the corn stem borer will increase because of the lack of its natural enemies and the corn stem borer itself will become resistant to the insecticide which means that we must increase the concentration of the insecticide next time. Counting the mass of eggs requires a lot of experience. Therefore, if we can find a process of sampling and selecting good samples which can approximate the total of the mass of eggs with a 2 egg masses/100 plants tolerance, then this will be very helpful to the farmers. From our research, we have found that the distribution of the egg mass is in one of the forms of binomial, poisson or negative binomial. The test have that been used are the tests for “goodess of fit” and “t-test”. These tests have shown that the data in B.E. 2525 had a negative bionomial distribution or clump distribution (Poole, 1974 and Southwood, 1978) in one period. That period was when the corn was 30 days of age. However when the corn was 75 days of age, the distribution of mass of eggs is poisson distribution or random distribution. (Poole, 1974 and Southwood, 1978). From the age of 45 days and 60 days, the distribution is unknown. In B.E. 2526, most of the corn distribution from the sampling had poisson, except when the corn was 5 weeks old. Using this set of data, we formulated the hypothesis that the distribution will be poisson distribution. This hypothesis would be accepted if the α is equal to 0.01 but would not be accept if the α is equal to 0.05. From this tests, we found that distribution could be in the form of negative bionomial or poisson or bionomial. Sometimes the distribution is not in any know form at all. The samples of the corn stalks that were used in the approximation of the net amount of the egg mass were selected as follows. When the age of corn was 5 to 6 weeks, there was a lot of egg mass on the corn stalks. The samples were about 5.5 percent of the whole corn in that lot. From the age of 9 to 10 weeks, these was less egg mass and the samples were around one percent of the corn in that lot. However an infection of only 3.5 percentages of the corn stalks in the lot will be enough for all other ages. The techniques in sampling the corn for the approximation of the egg mass are selected in such a manner that the result is as close as possible to the exact amount. The sampling techniques used, depend upon the age of the corn as the follows. At the age of 2 weeks, the technique in sampling should be area sampling. In this case the grid size should be 2.25 lines of 4.5 meters. When the corn reaches the age of 3 weeks, the sampling technique is still area sampling with a new grid size of 3.75 meters by 3 meters. A new technique, sample sampling, is used with corn at age of 4 weeks. The area sampling is used again when the corn is reaches the age of 5 weeks using a grid size of 2.25 meters by 4.5 meters. At the age of 6 weeks the sampling technique is changed to systematic sampling. When the corn is 7 to 8 weeks old, a two stage sampling technique is used instead. At 9 weeks of age, the sampling technique is the area sampling with a grid size of 3 times 3 meters. At 10 weeks of age, the two stage sampling is used. From the above, it can be seen that the techniques that are used in sampling are different during different growth periods. So, for the purpose of this study in handling the sampling process and teaching the gardener to understand the process, the simple random sampling and the systematic sampling are the methods selected. Both techniques are provided in this case in practicing and also give good results because their approximations are lesser different from the exact percentage than any other techniques. | - |
dc.format.extent | 575597 bytes | - |
dc.format.extent | 375191 bytes | - |
dc.format.extent | 426546 bytes | - |
dc.format.extent | 1165871 bytes | - |
dc.format.extent | 358688 bytes | - |
dc.format.extent | 305648 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาแผนแบบการเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อใช้ประมาณจำนวนกลุ่มไข่หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด | en |
dc.title.alternative | A study of sampling design and optimal sample size on the estimation of the eggs mass of corn stem rober | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถิติ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saipin_Ka_front.pdf | 562.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saipin_Ka_ch1.pdf | 366.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saipin_Ka_ch2.pdf | 416.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saipin_Ka_ch3.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saipin_Ka_ch4.pdf | 350.28 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saipin_Ka_back.pdf | 298.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.