Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26789
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
dc.contributor.authorชนัดดา อยู่สุวรรณ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-29T02:27:28Z
dc.date.available2012-11-29T02:27:28Z
dc.date.issued2548
dc.identifier.isbn9741421095
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26789
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้ประโยชน์ที่ดินกับการตั้งถิ่นฐาน และโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัดเพชรบุรี 2) วิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัด ศักยภาพและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในอนาคต กับรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและโครงสร้างพื้นฐาน 3) เสนอแนะแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดินที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของที่ดินบนพื้นฐานของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี มีพื้นฐานแนวความคิดที่เชื่อว่าทรัพยากรที่ดินเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่นๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดินไปมากกว่านี้ จึงควรพิจารณาถึงแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดินที่เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ โดยการใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูล (Overlay Technique) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัญหาทรัพยากรที่ดินในจังหวัดเพชรบุรี พบว่า ปัญหาที่มีความสัมพันธ์ส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านอื่นๆ มากที่สุด ได้แก่ ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ ปัญหาขาดพื้นที่ทำการเกษตรและการตั้งถิ่นฐาน ปัญหาการบุกรุกป่าในเขตอนุรักษ์เพื่อการตั้งถิ่นฐาน เป็นต้น จากการศึกษาแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดินจังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวมจึงได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 โซนพื้นที่ คือ โซนที่ 1 ควรมีการส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธาร ร่วมกับควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ โซนที่ 2 ควรมีการจัดหาพื้นที่เพื่อสร้างแหล่งเก็บน้ำเพิ่มเติมสำหรับพื้นที่เกษตรกรรมในฤดูแล้ง จัดให้มีพื้นที่เกษตรกรรมแบบเข้มข้นในเขตชลประทาน แก้ไขข้อจำกัดของทรัพยากรดินต่อการเพาะปลูกและตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำให้เหมาะสม โซนที่ 3 ส่งเสริมการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนและทรัพยากรชายฝั่ง การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง การจัดหาแหล่งน้ำจืดให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลและการปรับปรุงดินให้สามารถเพาะปลูกได้ดีขึ้น โดยในการจัดการทรัพยากรที่ดินจังหวัดเพชรบุรีทั้ง 3 โซน จะต้องมีการแก้ปัญหาโดยการพิจารณาภาพรวมของพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
dc.description.abstractalternativeThis objectives of this thesis are 1) to study the relationship between settlement and land use and infrastructure in Phetchaburi province, 2) to analyze problems & limitation & potenciality and trend of land use change in the future with settlement pattern and infrastructure and 3) to purpose guidelines of suitable land resource management in which correspond with land capability based on sustainable development concept. The guidelines for land resource management in Phetchaburi based on the concept that land resource is the related to other resource in which the essential factors for human living. Therefore before resources would decline, we should consider suitable land resource management by applying overlay technique. The analysis reveals the relationship between land resource problems and others found that the most severe problems were land use that didn‘t follow regulation of watershed conservation, the shortage of agricultural land use and settlement area and invading the conserve forest area for settlement. The study showed that guidelines of land resource management in Phetchaburi could divided area into 3 zones; zone 1 should simultaneously promote upstream forest and conserve area. Moreover, the control land use depending on the quality of watershed level. Zone 2 should provide reservoir in dry season for agricultural land use, irrigation should be provided in intensive agricultural area, solve limitation of soil resource for planting and monitoring of water quality in river. Zone 3 areas promote mangrove and coastal resource conservation, prevente coastal erosion, provide fresh water supply in coastal area and improve soil for planting. However the land resource management problems in 3 zones must besolved by the consideration of macro scale from the upstream to the downstream of Phetchaburi watershed.
dc.format.extent5115233 bytes
dc.format.extent1529376 bytes
dc.format.extent10548721 bytes
dc.format.extent20390522 bytes
dc.format.extent15417861 bytes
dc.format.extent8027481 bytes
dc.format.extent3828125 bytes
dc.format.extent1049513 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดิน จังหวัดเพชรบุรีen
dc.title.alternativeGuideline for land resource management in Phetchaburi provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanadda_yu_front.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
Chanadda_yu_ch1.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Chanadda_yu_ch2.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open
Chanadda_yu_ch3.pdf19.91 MBAdobe PDFView/Open
Chanadda_yu_ch4.pdf15.06 MBAdobe PDFView/Open
Chanadda_yu_ch5.pdf7.84 MBAdobe PDFView/Open
Chanadda_yu_ch6.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open
Chanadda_yu_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.