Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26838
Title: | การศึกษาคาดการณ์ผลกระทบจากเขตเศรษฐกิจใหม่ตามแนวคลองไทยที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมและการโยกย้ายแรงงานใน 4 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย |
Other Titles: | A study on anticipated impacts of the the Thai canal new economic zone on industrialiZation and labormigration in four provinces of southern Thailand |
Authors: | สุกฤตา วิชญนันท์ |
Advisors: | พงศา พรชัยวิเศษกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการขุดคลองเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ณ บริเวณคอคอดกระ จ.ชุมพร ได้รับการศึกษาวิเคราะห์มาเป็นเวลานานกว่า 300 ปี แต่ยังมิได้มีข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากปัญหา ความไม่แน่นอนของผลกระทบที่การขุดคลองดังกล่าวอาจมีต่อประเทศไทยในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในปี 2545 รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เสนอโครงการขุดคลองเส้นใหม่ชื่อ คลองไทย ตาม แนว 9A ตัดผ่าน จังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช โครงการขุดคลองไทยกระตุ้นให้นักวิชา การแขนงต่างๆ กลับมาให้ความสนใจต่อผลดีและผลเสียของการขุดคลองเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกและ มหาสมุทรอินเดียอีกครั้ง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ วิเคราะห์และคาดคะเนผลกระทบของการขุดคลองไทยต่อภาค อุตสาหกรรมและการโยกย้ายแรงงานใน4 จังหวัดภาคใต้รอบแนวคลอง ผลการศึกษาจากตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิต (ขนาด 26 คูณ26) แสดงให้เห็นว่า การขุดคลองไทย จะก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจใน 4 จังหวัดดังกล่าวทั้งในภาคอุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมหนัก สำหรับอุตสาหกรรมเบาที่ควรให้การส่งเสริม ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นปัจจัยหลักในการผลิต อาทิเช่น อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ส่วนอุตสาหกรรมหนักที่ควรให้การส่งเสริม คือ อุตสาหกรรมอาศัยวัตถุดิบที่ได้รับการขนส่งผ่านคลองไทย อาทิเช่น น้ำมันดิบ ดังนั้น อุตสาหกรรมการกลั่น น้ำมันจึงควรได้รับการส่งเสริมในภาคนี้ การคำนวณจุดคุ้มทุนทางเศรษฐกิจจากผลตอบแทนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม รวมไปถึงค่าผ่านคลอง แสดงให้เห็นว่าโครงการขุดคลองไทย จะคืนกำไรในปีที่ 49นับจากปีเริ่มขุดคลอง แทนที่จะเป็นปีที่ 58 ดังที่เคยมีการศึกษาคำนวณจุดคุ้มทุนทางด้านการเงิน ซึ่งมิได้รวมผลตอบแทนการผลิตของ ภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ถึงแม้ว่า เขตเศรษฐกิจใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังการขุดคลองจะก่อให้เกิด ความต้องการแรงงานในท้องถิ่นมากขึ้น ค่าความยืดหยุ่นของการโยกย้ายแรงงานภายในจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง และนครศรีธรรมราช ระหว่างปี 2538 - 2544 ชี้ให้เห็นว่า แรงงานที่จะเพิ่มขึ้นเพื่อสนองต่อการเติบโต ทางด้านอุตสาหกรรม มีแนวโน้มที่จะมาจากการโยกย้ายแรงงานจากต่างจังหวัดหรือภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ แทนที่จะเป็นการโยกย้าย |
Other Abstract: | The Kra Canal Project has long been a controversial topic in Thailand for the last 300 years. This visionary project was named after the Kra Isthmus, the narrowest land strip in Thailand, where a canal would be dug to provide a maritime waterway between the Pacific and the Indian Oceans. Unfortunately, political, economic, social, and environmental controversies surrounding this project ignited endless debates resulting in its long delay. In 2002, the government of Prime Minister Taksin Shinnawatra proposed a new canal route (9A) cutting across Krabi, Trang, Pattalung, and Nakhon Sri Thammarat. Like its predecessor, the new project, known as the Thai Canal Project, stimulates manifold discussions and motivates multifarious researches. This thesis provides an analysis of the anticipated impacts of the Thai Canal on regional industries and labor migration in the four provinces. The results of the input-output table (26 by 26 sectors) indicate that economic growth would simultaneously occur in both light and heavy industrial sectors after the construction of the canal. The light industries that should be promoted would be those based on abundant local resources such as agricultural products. The heavy industries that should be promoted would be those based on passing cargo such as crude oil. After taking the production returns from both the industrial and agricultural sectors and the canal fee into consideration, the economic break-even point would occur in 49 years-9 years earlier than the financial break-even point, which excludes the two types of production returns. Although the emergence of the new economic zone would increase labor demand in the four provinces, the elasticity of labor migration of these provinces between 1995 and 2001 suggests that this demand would be fulfilled by labors from other parts of the country or from abroad rather than from within the region. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26838 |
ISBN: | 9741740344 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukritta_vi_front.pdf | 2.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukritta_vi_ch1.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukritta_vi_ch2.pdf | 7.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukritta_vi_ch3.pdf | 15.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukritta_vi_ch4.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukritta_vi_ch5.pdf | 12.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukritta_vi_ch6.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukritta_vi_back.pdf | 6.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.