Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวลัย พานิช-
dc.contributor.authorจงรักษ์ แจ้งยุบล, 2504--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-06T08:31:43Z-
dc.date.available2006-06-06T08:31:43Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741715064-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/269-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร 3) เปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา กรุงเทพมหานคร ที่มีภูมิหลังต่างกันในด้านประสบการณ์การสอน วุฒิทางการศึกษา ระดับชั้นที่สอน และประสบการณ์การอบรม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่สอนวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 342 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูสังคมศึกษากำลังพิจารณาความเหมาะสมในการนำนวัตกรรมไปใช้ คือ การสอนโดยใช้แผนผังความคิด การสอนแบบร่วมมือ การสอนแบบบูรณาการ การสอนแบบโครงงาน การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยใช้เทคนิคหมวกคิด 6 ใบ สัญญาการเรียน รูปแบบการเรียนแบบ PSI การสอนโดยใช้ Storyline Method และการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียน 4 MAT ส่วนนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ครูสังคมศึกษามีความสนใจ คือการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ และการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2. การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 2.1 ปัจจัยด้านคุณสมบัติของนวัตกรรม พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือการเห็นผลสำเร็จของนวัตกรรมได้ชัดเจน, เป็นนวัตกรรมที่ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากและเป็นนวัตกรรมที่ใช้ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน 2.2 ปัจจัยด้านสภาพสังคมในโรงเรียน พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือ มีการฝึกอบรม, มีบรรยากาศเอื้อต่อการใช้นวัตกรรม และฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนการใช้นวัตกรรม 2.3 ปัจจัยด้านแหล่งสนับสนุนจากภายนอกโรงเรียน พบว่าปัจจัยที่ทำให้ครูสังคมศึกษายอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด คือ อบรม สัมมนา 3. การเปรียบเทียบการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน พบว่า ครู สังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอน วุฒิการศึกษา และระดับชั้นที่สอนต่างกัน มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนไม่แตกต่างกัน ยกเว้นครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์การอบรมต่างกัน มีการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the level of social studies teachers' acceptance of instructional innovations at secondary school levels in Bangkok Metropolis. 2) to study the factors of social studies teachers' acceptance of instructional innovations at secondary school levels in Bangkok Metropolis. 3) to compare the social studies teachers' acceptance of instructional innovations at secondary school levels in Bangkok Metropolis with different backgrounds of teaching experiences, educational levels, grade levels and training experiences. The number of 342 social studies teachers were multiple-stage randomly selected. The research instrument was a set of questionnaire. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic means, standard deviation and t-test. The research findings were as follows : 1. The instructional innovations that the social. studies teachers are considering the appropriateness in implementing of the innovations were concept mapping, cooperative learning, integrated instruction, project method, six thinking hats, learning contracts, the personalized system of instruction, storyline method, and 4 MAT. Web-based instructions and CAI were the instructional innovations that the social studies teachers were interested. 2. The factors of the social studies teachersʼ acceptance of instructional innovations were as follows, 2.1 Attributes of the innovation. Being able to observe the affectiveness, being economical, and being easy and convenient to use were the main factors. 2.2 School atmosphere Factors: Workshops, atmosphere and adminstratorsʼ supporting the implementing of the innovations were the main factors. 2.3 Outside school. Workshops and Seminars were the main factors. 3. There were no significant differences among teachers with different teaching experiences, educational levels and grade levels at the level of 0.05. There was a significant difference between teachers with and without inservice traning at the level of 0.05.en
dc.format.extent9455791 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.757-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการยอมรับนวัตกรรมen
dc.subjectนวัตกรรมทางการศึกษาen
dc.subjectครูสังคมศึกษาen
dc.titleการศึกษาระดับและปัจจัยในการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูสังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeA study on level and factors of social studies teachers' acceptance of instructional innovations at secondary school level, Bangkok Metropolisen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสอนสังคมศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWalai.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.757-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jongruk.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.