Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27015
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปราณี ไชยชนะ | |
dc.contributor.advisor | สุรางค์ กุณวงษ์ | |
dc.contributor.author | สุดใจ เพ็ชรศิริ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-29T10:45:52Z | |
dc.date.available | 2012-11-29T10:45:52Z | |
dc.date.issued | 2523 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27015 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งหมายจะศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวน 6 แห่งคือ ห้องสมุดประชาชนสวนลุมพินี ห้องสมุดประชาชนซอยพระนาง ห้องสมุดประชาชนปทุมวัน ห้องสมุดประชาชนอนงคาราม ห้องสมุดประชาชนวัดสังข์กระจาย และห้องสมุดประชาชนบางเขน โดยศึกษาทั้งในด้านวัตถุประสงค์และหน้าที่ สภาพทั่วไป ครุภัณฑ์ หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ ระเบียบกฎเกณฑ์ การปฏิบัติงานของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ บริการและกิจกรรมของห้องสมุด จุดมุ่งหมายข้ออื่นๆ เพื่อทราบความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ใช้ เสนอแนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมงานห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังรวบรวมประวัติห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานครเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานต่อไป วิธีการวิจัยอาศัยข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์หัวหน้างาน บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานคร การสังเกตการณ์ห้องสมุดดังกล่าว และการแจกแบบสอบถามผู้ใช้ห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คนระหว่างวันที่ 6-30 ธันวาคม 2522 แบบสอบถามที่ได้กลับคืนมาสมบูรณ์ถูกต้องมีจำนวน 301 ชุด หรือร้อยละ 75.25 ของแบบสอบถามที่แจกไป ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้:- ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-29 ปี มาใช้ห้องสมุดสัปดาห์ละหลายครั้ง สาเหตุสำคัญที่สุดที่มาใช้ห้องสมุดคือความสะดวกในการเดินทาง จุดประสงค์ในการเข้าใช้เพื่อการศึกษาค้นคว้าและพักผ่อนหย่อนใจ ผู้ใช้สนใจห้องสมุดในระดับปานกลาง ผู้ใช้ให้ทัศนะว่า วัตถุประสงค์และหน้าที่ของห้องสมุดดีในระดับปานกลางถึงมากเฉพาะนิสิตนักศึกษาและครู-อาจารย์ ศึกษาค้นคว้าจากห้องสมุดได้น้อย ผู้ใช้คิดว่ายังไม่ใช่ห้องสมุดที่ดีมากของกรุงเทพฯ แต่บริการคนทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันมาก เว้นแต่กรรมกรที่คิดว่าปานกลาง นอกจากนั้นผู้ใช้ยังเห็นว่าติดตามความเคลื่อนไหวของประเทศและของโลกจากห้องสมุดได้เพียงปานกลางด้วย สภาพทั่วไปของห้องสมุดอยู่ในเกณฑ์ดีมากและปานกลาง ยกเว้นสวัสดิการของห้องสมุดเรื่องน้ำดื่ม ห้องน้ำ ซึ่งผู้ใช้ยังคิดว่าดีน้อยไป ครุภัณฑ์ของห้องสมุดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่อาชีพข้าราชการ และครู-อาจารย์ ยังเห็นว่าตู้และป้ายนิทรรศการเพียงพอเหมาะสมน้อย วัย 40 ปีขึ้นไปยังไม่พอใจ ตู้จุลสารและกฤตภาค กับโต๊ะเก้าอี้ ด้านหนังสือและสิ่งพิมพ์อื่นๆ ของห้องสมุด ผู้ใช้คิดว่ามีส่วนร่วมในการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดน้อย ห้องสมุดมีโสตทัศวัสดุ จุลสาร และกฤตภาคจำนวนน้อย มีหนังสือและวารสารปานกลางเท่านั้น การจัดหมู่ ทำบัตรรายการ และสภาพของหนังสือก็น่าพอใจปานกลางเช่นกัน กฎเกณฑ์การเข้าใช้และการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ดีปานกลางและมาก โดยเฉพาะผู้ใช้วัย 10-13 ปีและ 40 ปีขึ้นไป ตอบว่าบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่บริการดีมาก ส่วนกฎการเป็นสมาชิก และการยืม ผู้ใช้ยังพอใจปานกลางเท่านั้น เว้นแต่ที่ห้องสมุดประชาชนอนงคารามที่พอใจมาก เรื่องเวลาบริการและจำนวนบุคลากรก็อยู่ในระดับปานกลางด้วยบริการที่ผู้ใช้เห็นพ้องกันว่าดีมาก คืออ่านหนังสือในห้องสมุด และวัย 10-13 ปีเห็นว่าบริการตอบคำถาและช่วยการค้นคว้าดีมากด้วย แต่บริการและกิจกรรมอื่นๆ ยังอยู่ในระดับดีน้อยจนถึงน้อยที่สุด โดยเฉพาะกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่านิทาน การฉายภาพยนตร์และการอภิปราย ผู้ใช้แสดงความต้องการและข้อเสนอแนะไว้ว่า ห้องสมุดควรสนองวัตถุประสงค์และหน้าที่ได้ดีมากขึ้นจัดสภาพทั่วไปให้ดีขึ้น เพิ่มครุภัณฑ์และจัดให้เหมาะสม เพิ่มวัสดุห้องสมุดที่มีคุณค่าและทันสมัย แก้ไขกฎเกณฑ์บางประการที่ยังไม่เหมาะสม โดยเฉพาะกฎการเป็นสมาชิกและกฎการยืมหนังสือเพิ่มจำนวนบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่และให้ปฏิบัติงานได้ดีขึ้น เพิ่มบริการและกิจกรรมห้องสมุด ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยมีดังนี้:- ผู้บริหารควรเรียนรู้ถึงความสำคัญและสนใจห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานครให้มากขึ้น ยกฐานะงานห้องสมุดนี้ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกอง ให้มีพระราชบัญญัติห้องสมุดประชาชนของกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการบริหารงานห้องสมุด เพิ่มงบประมาณ ร่วมมือกับบรรณารักษ์ในการนำระบบห้องสมุดประชาชนมาใช้ดำเนินงานรวมทั้งในการจัดตั้งห้องสมุดประชาชนแห่งใหม่ ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ รับฟังข้อคิดเห็นของบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่และผู้ใช้ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้ดีขึ้น บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ควรจัดหาวัสดุห้องสมุดที่มีคุณค่า ทันสมัย และเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้ จัดบริการและกิจกรรมที่แปลกใหม่ เป็นประโยชน์พร้อมทั้งปรับปรุงบริการและกิจกรรมที่มีอยู่แล้ว ปฏิบัติงานด้วยความกระตือรือร้น กระตุ้นผู้ใช้ให้ร่วมมือกับห้องสมุด ร่วมมือกับผู้บริหารในการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และนำระบบห้องสมุดประชาชนมาใช้ ร่วมมือกับสถาบันอื่นๆ ในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อแลกเปลี่ยนหรือขอความช่วยเหลือ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ร่วมมือกันระหว่างบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่แก้ไขกฎเกณฑ์ห้องสมุดที่ยังไม่เหมาะสม ปรับปรุงมาตรฐานห้องสมุดประชาชนให้ทันสมัยและนำมาใช้เป็นแนวทางการดำเนินงาน | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis was to study the users’ attitudes towards the public libraries of Bangkok Metropolis, which were: (1) Lumpini Park Public Library, (2) Soi Pranang Public Library, (3) Patumwan Public Library, (4) Anongkaram Public Library, (5) Wat Sangkrajai Public Library, and (6) Bangkhen Public Library. The study included the objectives and functions of these libraries, the buildings, the equipment, the books and other materials, the regulations, the performance of staff, and the library services and activities. Other purposes of the thesis were to know the demands and recommendations of the users and to suggest the methods of improving and promoting the public libraries of Bangkok Metropolis. Besides, the researcher had compiled the history of these public libraries for the benefit of the library administrarion. The research methods were documentation, interviews with the chief and the staff. Of the 6 public libraries, observation of the libraries, and distribution of questionnaires to 400 users during December 6-30, 1979. The 301 complete questionnaires or 75.25% were returned The results of the research were as the following:- Most of the users were men between 20-29 years of age. They went to library several times a week, to study and were interested in the libraries at the medium level. The users stated that the libraries could meet their objectives and functions ranging from considerably well to very well. Students and teachers got less for their study. An overall attitude was that the library system could not be said as the best one in Bangkok, but it offered a fair treatment in the services to peoples of all walks of life. Still, in the laborers’ opinion the fair services were only at moderate level. Another function, the ability to follow news and movement of the country and the world though library use, was only fair. General library conditions were from considerably goo to very good except that the welfare services in the provision of drinking water fountains and lavatories were still not enough. Library equipment was moderate. Civil services employees and teachers would like to have more display cases and bulletin boards. Users with age level of over forty were dissatisfied with the pamphlet and chipping files and the seats. As for library materials, the users expressed their wish to share more in the book selection process. The book collection and journals were satisfactory and that was for the classification and cataloguing of book too. The non-print materials were still too few. Library rules and regulations and librarians and staff performance were ranged from satisfactory to very good. Users at the age levels of 10-13 years and 40 years over agreed that the performance was very goods. Members who attended the library at Anongkaram branch considered the rules and regulations there very good. Opening hours and number of librarians and staff were satisfactory. All users agreed that the best service was reading in the library. Children from 10-13 years old thought that reference services were very good. The rest of the library services such as storytelling, films showing, and special discussion programs, was from less satisfactory to the least satisfaction. The users recommended for the improvement of the library system as follow: the libraries should try more to better implement their objectives and functions; improve the building; add more equipment properly arranged; increase worthwhile and modern library materials; revise regulations especially on membership and lending rules; add more staff and improve their work; and offer more library services and activities. The research’s recommendations were as follows: The administrators should realize the importance of the public libraries of Bangkok metropolis; raise the status of their public library system equal to that of a division, promulgate an Act of the public libraries of Bangkok metropolis; set up a library committee; increase the budget; co-operate with the librarians in administering the public library system and in establishing new public libraries; frequently inspect the public libraries; listen to the staff members and the users’ suggestions to improve the libraries. The staff should provide for worthwhile and modern library materials which suit the users’ needs, start new useful services and activities and improve the on-going activities; be active in working; encourage the users’ co-operation; co-operate with the administrators in making the most of the budget and in adopting the effective library system; join with other institutes in Bangkok metropolis in order to exchange library materials or ask for some aids; execute more library promotion; co-operate among one another for the revision of regulations; revise the old public library standards, and use them as guidelines in the library administration. | |
dc.format.extent | 624652 bytes | |
dc.format.extent | 589110 bytes | |
dc.format.extent | 893407 bytes | |
dc.format.extent | 1276801 bytes | |
dc.format.extent | 2067576 bytes | |
dc.format.extent | 927209 bytes | |
dc.format.extent | 828558 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ห้องสมุดประชาชน ของกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | study of users' attitudes towards the public libraries of Bangkok metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Soodjai_Pe_front.pdf | 610.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soodjai_Pe_ch1.pdf | 575.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soodjai_Pe_ch2.pdf | 872.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soodjai_Pe_ch3.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soodjai_Pe_ch4.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Soodjai_Pe_ch5.pdf | 905.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Soodjai_Pe_back.pdf | 809.14 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.