Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27021
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา | |
dc.contributor.author | สุเชษฐ ชาวเรือ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-29T11:06:56Z | |
dc.date.available | 2012-11-29T11:06:56Z | |
dc.date.issued | 2524 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27021 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาออกแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น โดยมีความเหมาะสมของขนาดพื้นที่ใช้งานและความเหมาะสมในการจัดความสัมพันธ์ของส่วนใช้สอยต่าง ๆเพื่อพัฒนาต้นแบบนี้สำหรับใช้ก่อสร้างด้วยระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป ซึ่งเป็นระบบที่ถูกกว่าการก่อสร้างในระบบทั่วไป ในชั้นต้นได้ศึกษาขนาดบ้านเดี่ยว 2 ชั้น จากหมู่บ้านจัดสรรต่าง ๆจำนวน 228 หมู่บ้าน ปรากฏว่าร้อยละ 38.4 ของบ้านจัดสรรทั้งหมดมีขนาด 120 – 140 ตารางเมตร ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุด จึงได้สำรวจทำความพอใจและความต้องการอื่น ๆ เกี่ยวกับขนาดและการจัดส่วนของพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการต่อเติม ขยายบ้านด้วยโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์จากผู้อยู่อาศัยในบ้านขนาดดังกล่าวจากหลายหมู่บ้าน นอกจากนั้นได้นำระบบประสานทางพิกัดมาใช้กับงานก่อสร้างจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ได้ศึกษาขบวนการผลิต, ติดตั้ง และการขายบ้านสำเร็จรูป “ สตรามิตบอร์ด” และบ้าน “ซีคอน” ซึ่งเป็นบ้านสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากที่สุด ได้ศึกษาข้อมูลในการผลิตและการลงทุนจากบริษัทผู้ผลิต “ผลิตภัณฑ์คอนกรีต” 2 บริษัทในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อหาต้นทุนการผลติที่แท้จริงสำหรับประกอบการประมาณราคาค่าก่อสร้างในระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูป จากข้อมูลเหล่านี้ ได้วางเกณฑ์กำหนดและแนวความคิดหลักไว้ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญได้แก่ การกำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอยซึ่งมีขนาด 143 ตารางเมตร จัดแบ่งส่วนใช้สอยทั้งหมดนี้เป็น public zone, private zone, service zone โดยมีแกนสัญจรหรือ circulation core เป็นตัวเชื่อมส่วนต่าง ๆเข้าด้วยกัน ได้กำหนดการจัดวางส่วนต่าง ๆ เพื่อความสัมพันธ์ในการใช้งานและเหมาะสมในการที่จะต่อเติมภายหลัง โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการก่อสร้างครั้งละส่วนตามความจำเป็นของการใช้งานและงบประมาณ คำนึงถึงความสามารถในการหันเหและปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ของบ้านให้เหมาะสมต่อทิศทาง ทางเข้าในแต่ละที่ตั้งได้ จากเกณฑ์กำหนดและแนวความคิดนี้ได้ดำเนินการออกแบบต้นสำหรับก่อสร้างในระบบทั่วไป และพัฒนาแบบเพื่อใช้ก่อสร้างในระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปด้วย ทั้งนี้มีการประมาณราคาเปรียบเทียบกันระหว่างการก่อสร้างระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปกับการก่อสร้างระบบทั่วไป การประมาณราคาก่อสร้างในระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปนั้นได้เริ่มดำเนินการจากการวิเคราะห์หาการลงทุน การจัดตั้งโรงงานสำหรับผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปเพื่อทราบราคาชิ้นส่วนสำเร็จรูปแต่ละชิ้นส่วนที่แน่นอน การลงทุนสร้างโรงงานนี้จะคุ้มทุนได้ต้องขึ้นอยู่กับประมาณการผลิตที่พอเพียงเหมาะสมกันเพราะชิ้นส่วนสำเร็จรูปเหล่านั้นเป็นส่วนประกอบของบ้านอย่างเดียวที่มีราคาสูงหากผลิตจำนวนน้อยและจะลดลงเรื่อย ๆ หากผลิตในจำนวนมากขึ้น ในการศึกษาราคาบ้านตามต้นแบบที่สร้างในระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปนั้น ราคาต้นทุนรวมจะเท่ากับบ้านที่สร้างในระบบทั่วไป เมื่อสร้างเป็นจำนวน 37 หลังต่อปี ในการประมาณราคาตามการศึกษานี้ใช้ต้นทุนจริงของการก่อสร้างทั้ง 2 ระบบ เปรียบเทียบกันเท่านั้น ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและความได้เปรียบของเวลาที่สามารถสร้างได้เร็วขึ้นของระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปแต่อย่างใด และราคาที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้ราคาที่ก่อสร้าง เดือนเมษายน ปีพุทธศักราช 2524 เป็นพื้นฐานการประมาณราคา | |
dc.description.abstractalternative | This thesis is concerned with a series of design of two-storey, one-family houses whose compartments should be suitably proportioned for being built in a pre-fabrication system, since this process has more advantages, economically, over conventional methods. First, the study touched on investigating two-storey, one-family houses in 220 housing-projects. The result shows that 38.4% of all the houses in the housing projects are of a size between 120 m2. And 140 m2. Te study regards satisfaction and eventual needs concerning size and distribution of floor-area, including possibilities of expansion. Information were obtained through questionnaires and interviews with the inhabitants of the houses in question in various housing-projects. Next, the use of modular design methods in construction projects were explored, making use of former research done by the Thailand Institute of Scientific and Technilogical Research, and the SEACON, which has developed the most popular pre-fabrication system nowadays. Considerations were then made about the necessary investment for the fabrication of concrete components, using information from two leading concrete factories in the Samutprakarn area. This was done in order to assure accurate data for estimating the cost of pre-fabricated houses. Restriction, such as setting an area of the house around 143 m3., divided into a public zone, private zone, service zone and circulation core, as well as design criteria in terms of good utilization and expansibility, were taken into account. An optimum design of two prototypes, was proposed one following conventional methods, the other following pre-fabrication. Cost calculations for a pre-fabricated house were made in view of investments in factory, its fixed running expenses and fabrication cost. Thus, the cost of pre-fabricated components. Is indirect proportional to the amount of houses being fabricated. This study shows that the cost of a pre-fabricated house will be equal to that of a conventionally built house at a yearly production rate of 37 houses. Only building costs are compared in this study. If, however, lower management cost and shorter construction time would be taken into account, this would give some more positive evaluation to prefabrication. Costs are based on the A.D. 1981 prices. | |
dc.format.extent | 499437 bytes | |
dc.format.extent | 445111 bytes | |
dc.format.extent | 849616 bytes | |
dc.format.extent | 637234 bytes | |
dc.format.extent | 3095506 bytes | |
dc.format.extent | 446956 bytes | |
dc.format.extent | 2848908 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การใช้ระบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปสำหรับบ้านพักอาศัย : การออกแบบและการศึกษาความเป็นไปได้ | en |
dc.title.alternative | An application of prefabrication system to residential buildings : design and feasibility investigation | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suchet_Ch_front.pdf | 487.73 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchet_Ch_ch1.pdf | 434.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchet_Ch_ch2.pdf | 829.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchet_Ch_ch3.pdf | 622.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchet_Ch_ch4.pdf | 3.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchet_Ch_ch5.pdf | 436.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suchet_Ch_back.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.