Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/270
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมาลี ชิโนกุล-
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorดวงพร จริจิตไพบูลย์, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-06T09:40:22Z-
dc.date.available2006-06-06T09:40:22Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741729987-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/270-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบกลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานครในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545 จำนวน 397 คน ซึ่งผู้วิจัยได้จำแนกตัวอย่างประชากรออกเป็น 2 กลุ่มตามความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ คือ กลุ่มที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสูงจำนวน 24 คน และกลุ่มที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษต่ำจำนวน 24 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รับการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างประชากรดังกล่าวโดยใช้วิธีการรายงานตนเองออกมาเป็นคำพูด (Self-reports) แบบแสดงความคิดย้อนหลังออกมาเป็นคำพูด (Retrospective technique) ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการบันทึกเทปข้อมูล และถอดเทปข้อมูล ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยอีก 1 ท่าน นำข้อมูลมาวิเคราะห์กลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษ หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ความถี่ ร้อยละ ผู้วิจัยใช้สถิติทดสอบไค-แสควร์ เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใช้กลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษด้านความรู้ความคิดมากที่สุด และใช้กลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษด้านอารมณ์และจิตใจน้อยที่สุด และเมื่อจำแนกตามความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ทั้งในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ใช้กลวิธีเช่นเดียวกัน คือ ใช้กลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษด้านความรู้ความคิดมากที่สุด และใช้กลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษด้านอารมณ์และจิตใจน้อยที่สุด 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ใช้กลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษสูงและต่ำมีการใช้กลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษด้านความรู้ความคิด ด้านอภิปัญญา และด้านการชดเชย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to 1) study the English reading strategies used by mathayom suksa five students with different English reading comprehension ability and 2) compare the difference between two English reading comprehension abilities groups ; namely, advanced and low reading levels in their English reading strategies use. A total of 397 mathayom suksa five students (Science and Mathematics program) from different schools in Bangkok were assigned into two groups of English reading comprehension ability: advanced and low levels. The instrument used in this study was the English reading comprehension test constructed by the researcher and approved by three language-teaching specialists. The researcher conducted a self-report analysis using retrospective technique with a total 48 students, 24 students with advanced reading comprehension ability and 24 students with low reading comprehension ability. The students verbalized their thoughts immediately after completing the reading comprehension test. The data were tape recorded, transcribed, coded by the researcher and the other research assistant, then analyzed for mean, frequencies and percentage . Chi-square analysis was performed to test the hypothesis. The results of this study were as follows: 1. Mathayom suksa five students used the cognitive reading strategy more frequently than any other strategies and the affective reading strategy was the least frequently used strategy.The results also demonstrated that, in each group of students, the cognitive strategy was the most frequently used strategy while the use of affective strategies was reported as the least one. 2. Mathayom suksa five students with advanced and low reading comprehension ability significantly differed in their use of cognitive, metacognitive and compensatory reading strategy at the .05 level.en
dc.format.extent988939 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.754-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectการอ่านen
dc.titleการศึกษากลวิธีในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกันen
dc.title.alternativeA study on English reading strategies of mathayom suksa five students with different English reading comprehension abilitiesen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSumalee.C@chula.ac.th-
dc.email.advisorAumporn.M@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.754-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangporn.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.