Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27112
Title: มโนทัศน์เรื่องความเป็นอนัตตาของนิพพาน ในพุทธปรัชญาเถรวาท
Other Titles: The concept of pnatta of nibbana in theravada buddhist philosophy
Authors: วิสิทธิ์ วิลัยวงศ์
Advisors: สุนทร ณ รังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้อมูลในการศึกษาวิเคราะห์คำสอนเกี่ยวกับเรื่องความเป็นอนัตตาของนิพพานในพุทธปรัชญาเถรวาทที่ใช้ในวิทยานิพนธ์นี้ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ข้อมูลชั้นที่หนึ่งกับข้อมูลชั้นที่สอง ข้อมูลชั้นที่หนึ่ง ได้แก่ พระไตรปิฏก ข้อมูลชั้นที่สองได้แก่ อรรถกถา ฎีกา และตำราที่ท่านผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาได้เรียบเรียงไว้ จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว ทำให้ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดว่า ข้อความในหลักไตรลักษณ์ที่ว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” นั้น อนัตตาเป็นลักษณะร่วมของสังขตธรรมและอสังขตธรรมหรือนิพพาน สิ่งที่ถูกปรุงแต่งทั้งปวงหลังจากที่ได้วิเคราะห์แล้ว ก็พบว่าไม่มีส่วนใดเลยที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นอัตตา ทั้งมนุษย์และจักรวาลล้วนไม่มีแก่นแท้หรือสาระอะไร เป็นเพียงโลกแห่งปรากฏการณ์ที่อยู่ในภาวะกระแสหรือกระบวนการที่ไหลต่อเนื่องโดยไม่ขาดสาย นิพพานคือภาวะที่พ้นจากการปรุงแต่ง ทั้งจากการปรุงแต่งของความเชื่อเรื่องอัตตาหรือโซล และความยึดถือว่ามีตัวฉัน ของฉัน เพราะความเชื่อและความยึดถือนั้นล้วนเป็นทรรศนะที่ผิดจากความเป็นจริงและยังผลให้เกิดความทุกข์อยู่ร่ำไป
Other Abstract: The sources of the research on the concept of Anatta Nibbana in Theravada Buddhist philosophy used in this thesis are divided into two levels: primary and secondary. The primary source is the Pali Scripture. The secondary source is the commentaries, the sub-commentaries an other works of contemporary Buddhist scholars. From a critical analysis of all data concerned a definite conclusion can be drawn that the statement explaining the Three characteristics which says, “All dhammas are Anatta” indicates that Anatta is the characteristic of both compounded things and uncompounded thing or Nibbana. After a careful analysis, it is clear that not any part of all compounded things, can be found to be properly call Atta because the person and the universe are non-substantial and the phenomenal world is in the state of continuous flux or flow. Nibbana is a state beyond the conditional generation either of the belief of Atta or soul or the grasping of the self and my self because such a belief and grasping are the wrong views which generate suffering.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27112
ISBN: 9745776157
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Visit_vi_front.pdf2.51 MBAdobe PDFView/Open
Visit_vi_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Visit_vi_ch2.pdf14.18 MBAdobe PDFView/Open
Visit_vi_ch3.pdf10.11 MBAdobe PDFView/Open
Visit_vi_ch4.pdf9.1 MBAdobe PDFView/Open
Visit_vi_ch5.pdf14.23 MBAdobe PDFView/Open
Visit_vi_ch6.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Visit_vi_back.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.