Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27249
Title: | อนาคตภาพของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2540 |
Other Titles: | Scenarios of the residence hall of Chulalongkorn University in B.E. 2540 |
Authors: | ศรีรัตน์ จันทร์สมวงศ์ |
Advisors: | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ จุมพล พูลภัทรชีวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอนาคตภาพของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในปีพ.ศ. 2540 โดยใช้เทคนิค EFR และเทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้รู้ 2 กลุ่ม จำนวน 34 คน จำแนกเป็นผู้รู้กลุ่มผู้บริหารและนักวิชาการของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 8 คน และผู้รู้กลุ่มปฏิบัติการของหอพักนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 26 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา คำนวณหาค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน พิสัย ระหว่างควอไทล์ และทำการวิเคราะห์แนวโน้มเชิงปริมาณด้วยวิธีเฉลี่ยเคลื่อนที่และวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า การลงทุนและการบริหารกิจการหอพักนิสิต จะดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยในลักษณะหอพักแยก เพศหญิงชายที่นิสิตทุกระดับจะมีสิทธิ์ เข้าพักและนิสิตมีแนวโน้มต้องการ เข้าพักในหอพักนิสิตมากขึ้น การคัดเลือกนิสิต เข้าพักในหอพักจึงยังต้องมีต่อไป ทั้ง ๆ ที่หอพักนิสิตจะมีมากขึ้น และจะมีการเก็บค่าหอพักในอัตราที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในส่วนของงบดำเนินการ การบริการและสวัสดิการต่าง ๆ ในหอพักนิสิตจึงมีแนวโน้มดีขึ้น การบริหารหอพักนิสิตจะมีการขอความร่วมมือและประสานงานกับคณะต่างๆ มากขึ้น อนุสาสกหรือผู้ช่วยอนุสาสกหอพักนิสิตก็มีแนวโน้มที่จะเป็นอาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ได้รับการแต่งตั้งเช่นเดียวกับปัจจุบัน ในอนาคตหอพักนิสิตมีแนวโน้มที่จะได้รับการจัดให้เป็นแหล่งที่เพิ่มโอกาส และประสบการณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีแนวโน้มการจัดกิจกรรมในหอพักที่ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร และความรู้ในส่วนที่ไม่ได้รับจากการเรียนปกติ อันจะช่วยพัฒนานิสิตหอพักในอนาคตให้มีคุณลักษณะของผู้นำและผู้ตามที่ดี แต่ความสัมพันธ์ของนิสิตหอพัก จะมีแนวโน้มน้อยลง นอกจากนี้สัดส่วนระหว่างจำนวนนิสิตที่สมัคร เข้าพักในหอพักนิสิตกับจำนวนนิสิตที่หอพักสามารถรับได้ มีค่าแนวโน้มเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่าง 2.0 – 2.5 เท่า และมีแนวโน้มว่า จำนวนนิสิตใหม่ระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาจะมี เพิ่มขึ้น โดยจะมีจำนวนร้อยละของนิสิตใหม่ระดับปริญญาตรีที่พักหอพัก บ้านเช่า เพิ่มมากขึ้นด้วย |
Other Abstract: | The purpose of this study was to idenfity the future trends of Chulalongkorn University Residence Hall within the year 1997 by using EFR and EDFR techniques. The sample consisted of 34 Residence Hall experts which had been divided into 2 groups : 8 academicians and 26 practitioners. Questionnaire and interview were employed in this study. The obtained data were analyzed by means of content analysis, percentage, median, interquartile range and quantitative trends by moving average and the least square methods. The study revealed that the Residence Hall would be financed and managed by the university in a non co-ed form, for both undergraduate and graduate students. Since the needs to stay in the Residence Hall is expected to increase, the selection process will still be necessary. Instead of this increasing, the rate of fees would be set up sufficiently, and the services and facilities were anticipated to have a better quality. The participation and cooperation among faculties would be increased, as well. Residence Hall supervisors or their assistants tend to be Chulalongkorn lecturer elected to be in charge in the same way as the present. In the future, Residence Hall will be directed toward the facilitation of learning opportunities, experiences and extra-curricular activities which are not taught in classroom. This will be able to help the students to have good characteristics of leaders and followers as needed. However, the interaction among the students may decrease. Besides, an average proportion between candidates and students selected to stay will be 2.0 – 2.5 times. Enrollments of the freshmen and the graduates tend to increase. At the same time, the percentage of freshmen in dormitory and rent house will greatly increase. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27249 |
ISBN: | 9745683442 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Srirut_ch_front.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srirut_ch_ch1.pdf | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srirut_ch_ch2.pdf | 24.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srirut_ch_ch3.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srirut_ch_ch4.pdf | 17.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srirut_ch_ch5.pdf | 9.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srirut_ch_back.pdf | 18.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.