Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27264
Title: ทัศนคติของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ที่มีต่อเทคโนโลยีสารนิเทศ
Other Titles: Academic lobrarians' atttitudes on information technology
Authors: ศรีอร เจนประภาพงศ์
Advisors: นงลักษณ์ ไม่หน่ายกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 2 ประการ คือ 1) ศึกษาทัศนคติของบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีต่อเทคโนโลยีสารนิเทศ ในด้านความคิดเห็นและความรู้สึกของบรรณารักษ์ที่มีต่อเทคโนโลยีสารนิเทศและวิชาชีพบรรณารักษ์ และ 2) เปรียบเทียบทัศนคติของบรรณารักษ์ในกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันในด้านสภาพของการนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้ในห้องสมุด วุฒิการศึกษา ประเภทงานที่รับผิดชอบ และ ประสบการณ์การทำงาน สมมติฐานในการวิจัยมี 4 ประการ คือ 1) ทัศนคติของบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุดที่นำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้บ้างแล้ว ที่มีแผนงานจะนำมาใช้ และที่ยังไม่มีการนำมาใช้ ตลอดจนที่นำมาใช้บ้างแล้ว และมีแผนงานจะนำเทคโนโลยีสารนิเทศประเภทอื่นมาใช้ในอนาคต จะแตกต่างกัน 2) บรรณารักษ์ที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี จะมีทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารนิเทศ แตกต่างจากบรรณารักษ์ที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่า 3) บรรณารักษ์ที่รับผิดชอบงานที่ต่างกัน จะมีทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารนิเทศแตกต่างกัน และ 4) บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์การทำงานน้อย จะมีทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารนิเทศแตกต่างจากบรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า วิธีวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ และเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร ซึ่งเป็นบรรณารักษ์ที่ทำงานในหอสมุดกลาง ห้องสมุดคณะ และ ห้องสมุดวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 52 แห่ง (9 สถาบัน) รวมประชากรทั้งสิ้น 314 คน โดยส่งแบบสอบถาม 314 ชุด ได้รับกลับคืนมา 281 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.49 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ใช้วิธีทางสถิติ โดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าที และ ค่าเอฟ โดยเฉพาะค่าเอฟ เมื่อพบว่ารายการใดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จะทดสอบความแตกต่างของแต่ละกลุ่มเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของเซฟเฟ (Scheffe) การวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บรรณารักษ์ส่วนใหญ่มีทัศนคติในทางที่ดีต่อเทคโนโลยีสารนิเทศ และบรรณารักษ์ทุกคนมีทัศนคติในทางที่ดีต่อวิชาชีพบรรณารักษ์ เป็นต้นว่า เห็นด้วยว่าเทคโนโลยีสารนิเทศช่วยให้การเผยแพร่ข้อสนเทศสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและบรรณารักษ์ควรร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเพื่อให้โครงการนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้มีผลสำเร็จตามเป้าหมาย บรรณารักษ์รู้สึกไม่กลัวมากว่าเทคโนโลยีสารนิเทศโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ จะทำให้วิชาชีพบรรณารักษ์หมดความหมายและความสำคัญในที่สุด และรู้สึกว่าการค้นหาข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างเร็วมากรวมทั้งรู้สึกว่าระบบสื่อสารข้อมูลและโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และวัสดุย่อส่วน ล้วนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เช่นกัน นอกจากนั้น ผลจากการศึกษาพบว่า บรรณารักษ์เห็นด้วยว่า ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาออกไปเป็นบรรณารักษ์มีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ควรผลิตบรรณารักษ์ที่มีทักษะทางคอมพิวเตอร์ด้วย เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติของบรรณารักษ์ที่มีต่อเทคโนโลยีสารนิเทศ จำแนกตามตัวแปรอิสระ คือ สภาพของการนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้ในห้องสมุด วุฒิการศึกษา ประเภทงานที่รับผิดชอบ และประสบการณ์การทำงาน โดยตั้งสมมติฐานไว้ว่า ตัวแปรอิสระที่กล่าวข้างต้นจะมีผลทำให้ทัศนคติแตกต่างกัน แต่ผลการวิจัยส่วนใหญ่พบว่าไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยมี 3 ประการ คือ 1) ผู้บริหารห้องสมุดควรสร้างบรรยากาศของความร่วมมือในการทำงานกับระบบใหม่ ๆ โดยจัดทำในรูปแบบต่าง ๆ ดังเช่น การให้การฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อส่งผลให้การดำเนินงานนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในห้องสมุดประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย 2) แก้ปัญหาหรืออุปสรรคที่สำคัญที่สุดของการนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้คือ งบประมาณห้องสมุดไม่เพียงพอ ด้วยวิธีขอความช่วยเหลือในเรื่องเงินทุนสนับสนุนหรืออุปกรณ์ทางเทคนิคใหม่ ๆ จากแหล่งเงินทุนต่างประเทศ และให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่งร่วมมือกันวางแผนระยะยาวเกี่ยวกับการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในลักษณะข่ายงานและ 3) ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ เพื่อเตรียมบรรณารักษ์รุ่นใหม่ให้สามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้
Other Abstract: The objectives of this research are: 1) to study academic librarians’ opinions and feelings on information technology and the library profession ; and 2) to compare academic librarians’ attitudes among four variables : the state of taking information technology to use in the library, qualifications, types of responsibilities and experience in work. Hypotheses are: 1) the attitudes of librarians among four groups: those who work in libraries which have used some information technology, those who work in libraries which plan to use it, those who work in libraries which have never used it and never plan to use it and those who work in libraries which have used some information technology and plan to use it in the future are different ; 2) librarians with a Bachelor’s degree have different attitudes on information technology from ones with a higher degree ; 3) librarians with different responsibilities usually have different attitudes on information technology ; and 4) librarians with little experience usually have different attitudes on information technology from ones with more experience. A survey research method was employed in this study. The data collecting method was a questionnaire survey. Each set of the questionnaires was distributed to three hundred and fourteen librarians who work in fifty-two central, faculty and campus libraries at nine universities in Bangkok. Two hundred and eighty-one librarians (84.49 percent) responded to the questionnaires. The data analysis was calculated by using the frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, T-test and F-test, especially, F-test, whenever an item was significantly different at the level of P < 0.05. Another step was to test the differences in each group by the Scheffe method. A computer program on SPSS – Statistical Package for the Social Sciences was employed. Results from this study indicate that the majority of librarians have positive attitudes on information technology and most of them have positive attitudes on library profession, such as, they agree that : information technology helps more quickly and easily the distribution of information ; librarians should cooperate with technology specialists in order to make the project of information technology a success ; librarians have little fear that information technology, especially, computer technology will destroy the library profession ; librarians feel that searching for information from a computer can be done quickly ; data communication and telecommunication system, computer and microform are beneficial. Besides, librarians agree that library science department should improve the curriculum in order to prepare graduate students with a working knowledge of computer. Comparing librarians’ attitudes on information technology with different independent variables : the state of taking information technology to use in the library, qualifications, types of responsibilities experience in work, according to the hypotheses these variables can make the attitudes different. But the majority of results are rejected the hypotheses. Recommendations of this study are : 1) the library administrators should create a climate of cooperation in working with new systems by various methods, for example, continuous and systematical training, i.e. in order to succeed in the use of automation in the library ; 2) problem-solving with the budget, libraries should be supported both with capital and modern equipment from foreign foundations. Besides, each university library must cooperate in long range planning in networking ; and 3) the library science department should improve the curriculum in order to prepare new graduate students to work with computers.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27264
ISBN: 9745665436
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srion_ja_front.pdf4.14 MBAdobe PDFView/Open
Srion_ja_ch1.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
Srion_ja_ch2.pdf17.71 MBAdobe PDFView/Open
Srion_ja_ch3.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Srion_ja_ch4.pdf40.74 MBAdobe PDFView/Open
Srion_ja_ch5.pdf10.37 MBAdobe PDFView/Open
Srion_ja_back.pdf11.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.