Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27313
Title: ผลของสารปรับสภาพพื้นผิวที่มีต่อความแข็งแรงพันธะเฉือนระหว่างเรซินเสริมฐานแบบแข็งชนิดบ่มด้วยตัวเองและฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิก ชนิดบ่มด้วยความร้อน
Other Titles: The effect of chemical surface treatments on the shear bond strength between self cured hard reline resins and a heat cured acrylic resin denture base
Authors: รัชนี โอสถานนท์
Advisors: ชัยรัตน์ วิวัฒน์วรพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Chairat.W@Chula.ac.th
Subjects: ฟันปลอม -- พื้นผิว
ทันตวัสดุ
เรซินทางทันตกรรม
อะคริลิกเรซิน
แรงเฉือน (กลศาสตร์)
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับสภาพผิวหน้าฐานฟันเทียมก่อนการเสริมฐานด้วยสารละลายเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซิเตตในอัตราส่วนต่างกันที่มีต่อค่าความแข็งแรงพันธะเฉือน เตรียมชิ้นงานวัสดุฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนในท่อน้ำพีวีซีจำนวน 120 ชิ้นแบ่งเป็น 12 กลุ่ม แบ่งตามวัสดุเสริมฐานสามผลิตภัณฑ์คือยูนิฟาสเทรด® ยูเอฟไอเจลฮาร์ด® และโทคูยาม่า®รีเบสทูฟาส โดยก่อนการเสริมฐานทำการทาสารปรับสภาพผิวหน้าฐานฟันเทียมด้วยสารยึดติดที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ สารละลายเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซิเตตในอัตราส่วน 35:65, 25:75, 15:85 เป็นเวลา 15 วินาที ตามลำดับ ทดสอบความแข็งแรงพันธะเฉือนด้วยเครื่องทดสอบสากล นำชิ้นงานทั้งหมดที่แตกหักมาวิเคราะห์ตำแหน่งที่เกิดการแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ พบว่ากลุ่มยูนิฟาสเทรด®ที่ปรับสภาพผิวด้วยสารละลายเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซิเตตที่อัตราส่วน 25:75 มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะเฉือนมากกว่ากลุ่มที่ทาด้วยสารยึดติดที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กลุ่มยูเอฟไอเจลฮาร์ด® พบว่ากลุ่มที่ปรับสภาพผิวด้วยสารละลายเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซิเตตทุกอัตราส่วน มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะเฉือนมากกว่ากลุ่มที่ทาด้วยสารยึดติดที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับกลุ่มโทคูยาม่า® รีเบสทูฟาสนั้น การปรับผิวหน้าด้วยสารละลายเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซิเตต ไม่ได้ทำให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงพันธะเฉือนที่วัดได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่า การปรับสภาพผิวของวัสดุฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิกด้วยสารละลายเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซิเตตที่อัตราส่วน 25:75 ช่วยเพิ่มค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนให้สูงขึ้นในวัสดุเสริมฐานยูนิฟาสเทรด® และการปรับสภาพผิวของวัสดุฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิกด้วยสารละลายเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซิเตตทุกอัตราส่วนช่วยเพิ่มค่าความแข็งแรงพันธะเฉือนให้สูงขึ้นในยูเอฟไอเจลฮาร์ด® เมื่อเทียบกับการปรับสภาพผิวด้วยสารยึดติดที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ
Other Abstract: This research has the objective to study the effect of the denture base surface treatment, before reline denture, with methyl formate-methyl acetate solutions in many ratio on shear bond strength (SBS). One hundred twenty heat cured acrylic resin denture base in PVC tube were prepared and divided into twelve groups: according to three self cured hard reline resins (Unifast trad®, Tokuyama® RebaseII Fast ®, Ufi gel hard®), each product were devided into four subgroups according to surface treatment agents, adhesive agent according to manufacturer recommendation, methyl formate-methyl acetate solution at ratio 35:65, 25:75, 15:85 for 15 second respectively. The shear bond test was measured by the Instron Universal Testing Machine. Mode of failure was analyzed with Stereo Microscope. The mean SBS in groups of treatment surface with methyl formate-methyl acetate solutions at ratio 25:75, were relined with Unifast trad®, were significantly increased than that of adhesive agent according to manufacturer’s recommendation. Ufi gel hard® that treatment surface with methyl formate-methyl acetate solutions were significantly increased. The mean SBS of all groups of Tokuyama® RebaseII Fast were not significantly different. In conclusion, surface treatment with methyl formate-methyl acetate solution at ratio 25:75 enhanced more SBS in the denture base resin and Unifast Trad®, and these at all ratio enhanced more SBS between denture base resin and Ufi gel hard® than that treated with adhesive agents according to manufacturer recommendation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27313
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1964
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1964
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rachanee_os.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.