Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27315
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิฏราธร จิรประวัติ-
dc.contributor.authorฤทธิจักร คะชา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-03T08:33:59Z-
dc.date.available2012-12-03T08:33:59Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27315-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบุกเบิก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและลักษณะ รวมถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยในเจเนอเรชั่นวาย ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยแบ่งการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่นในด้านดนตรี ภาพยนตร์ แฟชั่น และศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 8 คน และ 2) การสนทนากลุ่มกับเจเนอเรชั่นวายชายจำนวน 4 กลุ่มซึ่งแบ่งตามความสนใจพื้นฐาน 4 ด้านดังกล่าว กลุ่มละ 6 คน รวมเป็น 24 คน โดยทุกคนมีลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มวัฒนธรรมย่อยในเจเนอเรชั่นวายหรือเด็กแนว หมายถึง วัยรุ่นที่มีแนวทางเป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการฟังเพลง หรือการแต่งกาย โดยทั่วไปแล้วเด็กแนวมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกับเจเนอเรชั่นวายทั่วไป คือมีความเป็นตัวของตัวเอง และมีความเป็นปัจเจก มีรสนิยมที่คาบเกี่ยวกับความมีสาระเสมอ นิยมเปิดรับสื่อประเภทอินเทอร์เน็ต มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางอารมณ์มากกว่าตรรกะเหตุผล มีความสนใจรวมถึงกิจกรรมที่มักทำในเวลาว่างคล้ายเจเนอเรชั่นวายกระแสหลักคือการดูโทรทัศน์ ฟังเพลง อ่านหนังสือ และเล่นอินเทอร์เน็ต แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น เด็กแนวมีแนวโน้มที่จะปฏิเสธเพลงจากค่ายใหญ่ แต่จะชอบเพลงที่มาจากค่ายเล็กซึ่งไม่เป็นที่นิยมมากจนเกินไปนัก ซึ่งการที่เด็กแนวไม่ชอบสิ่งที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ก็เนื่องมาจากเด็กแนวนั้นมีค่านิยมที่ต้องการจะแตกต่าง และตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นกระแสหลักอยู่เสมอ นอกจากนี้แล้ว เด็กแนวยังมีทัศนคติที่ดีต่อบุคคลที่มีความสามารถและประสบความสำเร็จได้ด้วยแนวทางของตนเองen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to: 1) study the definition and characteristics, and 2) study the lifestyle of subculture groups in Generation Y. This research is an exploratory research, using qualitative method; by interviewed 8 experts in music, movie, fashion and art/creativity of subculture groups, and conducted focus group discussion with 24 males divided into 4 groups of those fields of interest. It was found that subculture groups in Generation Y are people who have individuality and act in their own ways, about music, fashion etc. Their characteristics are the same as Generation Y in general, possess individuality, act no nonsense, oftenly expose to internet, response to emotional stimuli rather than functional one. Most of activities and interests are also the same as Generation Y, watching TV, listening to music, reading books and using internet. Subculture groups tend to deny mainstream music but prefer unpopular music from small companies, because of their values that want to be different and always question mainstream. Furthermore, they have positive attitude towards someone talented and successful on their own ways.en
dc.format.extent3084237 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1966-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเจนเนอเรชันวายen
dc.subjectวัฒนธรรมย่อยen
dc.subjectรูปแบบการดำเนินชีวิตen
dc.titleรูปแบบการดำเนินชีวิตของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยในเจเนอเรชั่นวายen
dc.title.alternativeLifestyle of subculture groups in Generation Yen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVittratorn.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1966-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rittijak_ka.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.