Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27339
Title: รูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพตามความคาดหวัง ของผู้บริหารและอาจารย์นิเทศก์ ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: The professional student teachers management model as expected by the administrators and college supervisors within the north-eastern teachers colleges group
Authors: เสริมพงศ์ หงส์พันธุ์
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้บริหารและอาจารย์นิเทศก์เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิชาชีพในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต 2. เพื่อเสนอรูปแบบการจดประสบการณ์วิชาชีพของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความคาดหวังของผู้บริหารและอาจารย์นิเทศ สมมุติฐานของการวิจัย ความคาดหวังของผู้บริหารและอาจารย์นิเทศเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิชาชีพในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและอาจารย์นิเทศก์ทุกคนในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2523 จำนวนทั้งสิ้น 460 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประเมินค่า ( Rating scale ) เกี่ยวกับความคาดหวังของผู้บริหารและอาจารย์นิเทศก์ในเรื่องการจัดประสบการณ์วิชาชีพของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือในอนาคต ซึ่งผู้วิจัยได้นำไปหาความเชื่อมั่น .86 จากจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไปทั้งสิ้น 460 ฉบับ ได้รับคืนมาจำนวน 412 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.57 การวิเคราะห์ข้อมูลได้ทำโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่า z แล้วรวบรวมแนวความคิดทั้งหมดและอาจารย์นิเทศก์ มาสร้างเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือผลการวิจัย ความคาดหวังของผู้บริหารและอาจารย์นิเทศก์เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์วิชาชีพของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือในด้านนโยบาย จุดมุ่งหมาย ระยะเวลาการฝึก หน่วยงานที่รับผิดชอบ การกำหนดและสรรหาบุคลากร กิจกรรมและวิธีดำเนินงาน การวัดผลและประเมินผล การจัดประสบการณ์วิชาชีพนั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงยอมรับสมมุติฐานด้านนโยบาย ประชากรทั้งสองกลุ่มมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องนักศึกษาวิชาเอกใดออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพอาจารย์ภาควิชานั้นต้องออกนิเทศ นักศึกษาทุกคนต้องผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจตรงกัน ด้านจุดมุ่งหมาย ประชากรทั้งสองมีความเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่อง วิทยาลัยครูควรส่งเสริมให้อาจารย์นิเทศก์ได้ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับการสอนในโรงเรียนแล้วนำมาพัฒนาการสอนในวิทยาลัย และนักศึกษาต้องได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองในเรื่องบุคลิกภาพและทัศนคติที่พร้อมจะเป็นครูได้ ด้านระยะเวลาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประชากรทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยในเรื่อง ให้มีระยะเวลาฝึก 18 สัปดาห์ฝึกเต็มเวลา สำหรับนักศึกษา ป. กศ. ชั้นสูง และระดับปริญญาตรี 4 ปี และฝึก 9 สัปดาห์ฝึกเต็มเวลา สำหรับปริญญาตรี 2 ปี หน่วยงานที่รับผิดชอบ ประชากรทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยที่จะให้เป็นความรับผิดชอบของสำนักงานจัดประสบการณ์วิชาชีพ หรือคณะกรรมการจัดประสบการณ์วิชาชีพ ตามความเหมาะสม การกำหนดและสรรหาบุคลากร ประชากรทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยในเรื่อง ผู้ที่จะทำหน้าที่นิเทศได้ต้องมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ ผู้ที่จะทำหน้าที่กำหนดและสรรหาบุคลากรควรเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับโรงเรียน อาจารย์นิเทศควรจะมีทั้งอาจารย์นิเทศทั่วไป อาจารย์นิเทศก์วิชาเอกและวิชาโท อาจารย์นิเทศทั่วไปควรมาจากคณะครุศาสตร์ อาจารย์นิเทศฝ่ายโรงเรียน 1คน ควรรับรับผิดชอบนักศึกษาไม่เกิน 1 คน สำหรับระดับประถมศึกษา และไม่เกิน 2 คน สำหรับระดับมัธยมศึกษา นักศึกษาที่จะฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้ ต้องเรียนวิชาบังคับวิชาการศึกษามาแล้ว ต้องมีสุขภาพดี มีบุคลิกภาพเหมาะสมและมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 กิจกรรมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประชากรทั้งสองกลุ่มเห็นด้วยที่จะให้มีทั้งการฝึกสอน ฝึกงาน บริการสังคมและพัฒนาชุมชน โดยมีวิธีดำเนินงานเป็น 3 ขั้นตอนคือ ก่อนฝึก ขณะฝึกและหลังฝึก ทั้งนี้โดยจะต้องมีการปฐมนิเทศ มีการสัมมนา และปัจฉิมนิเทศนักศึกษาประสบการณ์วิชาชีพ ตลอดจนให้นักศึกษาได้เลือกโรงเรียนที่จะไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพล่วงหน้า โดยมีเวลานานเพียงพอ การวัดและประเมินผล ประชากรทั้งสองกลุ่มเห็นด้วย ที่จะให้อาจารย์นิเทศก์กับอาจารย์นิเทศก์ฝ่ายโรงเรียนเป็นผู้ตัดสินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา ทั้งนี้โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาประเมินผลตนเองด้วย ส่วนระบบตัดสินผลฝึกประสบการณ์วิชาชีพควรเป็นระบบผ่าน-ไม่ผ่าน สำหรับการประเมินผลหน่วยงานนั้น ควรจะมีการทำเอกสาร เผยแพร่การทำงาน มีแบบประเมินผลของหน่วยงาน และรายงานให้ผู้บริหารวิทยาลัยทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
Other Abstract: Purposes : 1. To study and compare the expectation of both the administrators’ and college supervisors’ concerning the professional student teachers management within the North-Eastern Teacher CollegegGroup in the future. 2. To propose the model of the professional student teachers management within the North-Eastern Teachers College Group according to the administrators’ and the college supervisors’ expectation. Hypothesis : There is no significant difference concerning the professional student teachers management within the North-Eastern Teachers Colleges Group as expected by administrator’ and the college supervisors’. Procedures : The population consisted of 460 administrators and college supervisors working in North-Eastern Teachers College Group during the second semester of academic year 1980. The instrument used in this research was a questionnaire which constructed in the form of checklist, rating scale, and open-ended for investigating the expectation of professional students management within of the North-Eastern Teachers College Group in the future. The reliability of the instrument was 0.86. the 460 copies of questionnaire were sent out, and 412 copies or 89.57 percent were returned. The obtained data were analyzed statistically by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and z-test. Then the model of the professional students management in the future was established as held by the administrator’ and college supervisors’ expectations. Finding : There was no significant difference concerning the professional students management in the North-Eastern Teachers College Group in the future as expected by administrators’ and college supervisors’ in the areas of the policies, objectives, training period, responsible unit, the personel administration, the activities and procedures, and the evaluation, of the management at the .05 level, the hypothesis was retained. Concerning the policies, it was found that the simple had strongly agreed on the following matters : when the certain majoring students practice their professional training, the instructors in that department should be responsible in the supervising them ; all students must pass the professional training ; and the personnel related to the professional students management should have consistent understanding. Concerning the objectives, the sample had strongly agreed on the following matters : Teacher College should encourage their college supervisors to study that instructional problems evidenced in the school and improve the instructional in the colleges according to school instructional problems evidenced; and the students must be learned and self-developed their professional characteristies and attitudes. Concerning the training period, the sample had agreed that it should last 18 week, full time, for the students at higher certificate in education level and bachelor’s degree level, 4-year curriculum, where as it should be 9 weeks, full time for the students at bachelor’s degree level, 2-year curriculum. Concerning the responsible unit, the sample had agreed that, it should be under the responsibility of professional Student Teacher Section or the Committed of the Professional Student Teacher. Concerning the personnel selection, the sample had agreed on the following matters : the personal taking charge of supervising students must have qualification related to the criterion. The selection of the personnel for the professional student teacher should come from the co-operation of the teachers college and the schools. The college supervisors consisted of general supervisors which come from the faculty of education, major minor subject supervisors should come directly from the departments concerned. In an elementary school level a cooperating teacher should supervise only one student, and not more than two in secondary school level. Prior to the professional training, the students must have studied required education courses, must have good health, sound characteristics and should have not less than 2.00 grade point everage. Concerning the activities of professional training, the sample had agreed that the professional training activities should include student teaching, practicum, community services, and community development. These activities should lie under the three steps of procedures : pre-training period, during training period and post-training period. The required activities of professional training are the orientation, the seminars, and the evaluation including the selection of the school prior to training period.Concerning the measurement and evaluation, the sample had agrees that the evaluation of the professional training of the students should come from the matual agreement between the college supervisions and the cooperating teachers. The students must have opportunity to evaluate themselves. The evaluation system should be a pass-fail system. The evaluation of the professional student teachers can be administered by using pamphlet evaluation form, and should report to college to the college administrators at less once a year.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27339
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sermpong_Ho_front.pdf574.2 kBAdobe PDFView/Open
Sermpong_Ho_ch1.pdf645.76 kBAdobe PDFView/Open
Sermpong_Ho_ch2.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Sermpong_Ho_ch3.pdf405.53 kBAdobe PDFView/Open
Sermpong_Ho_ch4.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Sermpong_Ho_ch5.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Sermpong_Ho_back.pdf762.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.