Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27393
Title: ผลสรุปงานวิจัยด้านขวัญในการปฏิบัติงาน ของครูโรงเรียนเอกชน
Other Titles: Research findings on morale of the private school teacher
Authors: สุวดี โพธิสิตา
Advisors: สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะด้านเนื้อหาและวิธีการวิจัยของงานวิจัยด้านขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนและเพื่อวิเคราะห์ข้อสรุปเกี่ยวกับสภาพขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน โดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์แบบเมทต้า โดยศึกษาจากงานวิจัยและวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับสภาพขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนถึงปี พ.ศ. 2528 จำนวน 18 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวิเคราะห์งานวิจัย ซึ่งดัดแปลงมาจากแบบวิเคราะห์งานวิจัยของกล๊าส (Glass) แบ่งออกเป็นตอนที่ 1 ลักษณะด้านเนื้อหาและวิธีการวิจัยนั้น กระทำโดยวิธีแจงนับความถี่ และหาค่าร้อยละ สำหรับการวิเคราะห์สภาพขวัญในการปฏิบัติงานของครูนั้น วิเคราะห์โดยใช้สถิติการบรรยายคือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า 1.ลักษณะด้านเนื้อหาและวิธีการวิจัย พบว่า เป็นงานวิจัยที่วิเคราะห์ตัวแปรขององค์ประกอบของขวัญตามความคิดเห็นและการรับรู้ของครู ประเภทของการวิจัยเป็นเชิงบรรยายทั้งหมด วัตถุประสงค์ของการวิจัยส่วนใหญ่เพื่อศึกษาสภาพระดับขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นครูในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีอันดับมาตรฐานค่อนข้างดี ครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทำหน้าที่สอนและสอนในระดับมัธยมศึกษาประเภทสามัญศึกษามากที่สุด เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างเอง และเป็นแบบสอบถามทั้งหมด ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบบันทึกรายการคำถามปลายเปิดและมาตรส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้สถิติบรรยาย โดยเฉพาะค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ส่วนสถิติอนุมานที่ใช้มากสุดคือ การทดสอบ t - test 2. ข้อสรุปเกี่ยวกับสภาพขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน พบว่า สภาพขวัญในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีค่าความแตกต่างระหว่างรายงานการวิจัยแต่ละเรื่องค่อนข้างสูง และผลสรุปตัวแปรที่มีสภาพขวัญดีที่สุดและไม่ดีที่สุดในแต่ละมิติดังนี้ มิติลักษณะของครูก่อนปฏิบัติวิชาชีพครู ตัวแปรที่อยู่ในระดับขวัญค่อนข้างดี คือ สุขภาพทางกายของครู และตัวแปรที่อยู่ในระดับขวัญปานกลางคือ สภาพเศรษฐกิจของครู มิติลักษณะของผู้บริหารและการบริหารงานโรงเรียน ตัวแปรที่อยู่ในระดับขวัญค่อนข้างดี คือการให้ความช่วยเหลือและร่วมมือกับครูในงานสอนของผู้บริหาร และตัวแปรที่อยู่ในระดับขวัญไม่ดี คือการช่วยค่ารักษาพยาบาล มิติสภาพแวดล้อมขณะปฏิบัติวิชาชีพครู ตัวแปรที่อยู่ในระดับขวัญค่อนข้างดี คือ นักเรียนให้การยอมรับนับถือครูและสนใจการเรียนดี และตัวแปรที่อยู่ในระดับขวัญปานกลาง คือ อาคารสถานที่เรียน
Other Abstract: Based on the idea of meta-analysis, this research was undertaken to analyze findings of the studies on teacher morale in private schools. The studies selected for the analysis were 18 related research studies and theses which were conducted during 1960 and 1985. The instrument used for the analysis was adapted from Glass’s Coding Form and was consisted of two parts : (1) Characteristic of the study, and (2) Finding. The data of both parts were analyzed, using descriptive statistics : frequencies and percentages for the first part, and means and standard deviations for the latter. The results of this analysis showed that those research studies and theses centered on analyzing factors of teacher morale based on teachers’ own perspective and perception ; that all those research studies and theses were descriptive ones, mostly with the main purpose of studying levels of morale of the private school teachers; that the samples were the teachers in large and good private schools in Bangkok and most of them taught at the secondary school level of the academic stream; that the data collection instruments were open-ended questionnaires and rating scales; and that the data analysis methods used in most of those research and theses were descriptive statistics and t-test. The results of this analysis also indicated that the morale or those private school teachers was at, on average, a moderate level, with a rather high deviation between them; that among teacher background variables, physical health contributed to the rather good teacher morale level while economic status contributed to the moderate one ; that among school administration and administrator variables, assistance and co-operation of the administrators contributed to the rather good morale level while hospitalization fee contributed to the bad one; and that among work environment variables, pupils’ acceptance and participation in the classroom contributed to the rather good morale level while school facilities contributed to the moderate one.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27393
ISBN: 9745662119
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwadee_Po_front.pdf454.64 kBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Po_ch1.pdf563.06 kBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Po_ch2.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Po_ch3.pdf421.52 kBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Po_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Po_ch5.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Suwadee_Po_back.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.