Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27429
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงเดือน อ่อนน่วม
dc.contributor.authorกมล ชื่นทองคำ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-10T07:40:13Z
dc.date.available2012-12-10T07:40:13Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745639214
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27429
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์การวิจัย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 2.เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย 3.เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบทดสอบขึ้น 2 ฉบับ ฉบับที่หนึ่งคือแบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบซ้อนภาพ แบบทดสอบแยกภาพ แบบทดสอบประกอบภาพเป็นรูปสีเหลี่ยมจัตุรัส แบบทดสอบนับรูปลูกบาศก์และแบบทดสอบหมุนภาพ ฉบับที่สองคือแบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบทดสอบที่สร้างมีความตรงตามเนื้อหาเนื่องจากได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว แบบทดสอบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงเท่ากับ .8027, .8093, .7221, .8851 และ .8875 ตามลำดับ แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงเท่ากับ .8416 ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ ของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 401 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Cluster Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบค่า ซี ผลการวิจัย 1.ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ต่อกัน ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .4401 2.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชายและหญิงไม่แตกต่างกัน 3.ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงปานกลางและต่ำไม่แตกต่างกัน 4.นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5.นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ปานกลางมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่า นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงมีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ปานกลางและต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6.นักเรียนชายและหญิงมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน 7.นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ปานกลาง มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์สูงมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ปานกลางและต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.description.abstractalternativePurposes The purposes of this study were : 1.To study the relationships between spatial ability and problem solving ability. 2.To compare the correlations between spatial ability and problem solving ability of boys and girls. 3.To compare the correlations between spatial ability and problem solving ability of students with different levels of learning achievement in mathematics Procedures Two test were constructed by the researcher. The first test was the spatial ability test which was consisted of the pattern synthesis test, the figure dividing test, the complete square figure test, the cubes counting test and the movement sequence test. The second one was mathematical problem solving ability test. Every test had test had content validity because it was examined by experts. Reliability coefficients of spatial ability tests were .8027, .8093, .7221, .8851 and .8416 respectively. The reliability coefficient of the mathematical problem solving ability test was. 8416 . Subjects used in this study were 401 prathom suksa four students in schools under the authority of the Bangkok Metropolitan Administration. They were assigned by using stratified rand sampling and multistage cluster random sampling techniques. Arithmetic mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, one-way analysis of variance and the z-test were used for analyzing data. Result 1.The correlation coefficient between the spatial ability and the mathematical problem solving ability was statistically significant at the level of .01; the correlation coefficient was .4401 2.The correlation coefficients of the spatial ability and the mathematical problem solving ability were no differences between boys and girls. 3.The correlation coefficients of the spatial ability and the mathematical problem solving ability were no differences among students with high, average and low mathematical achievement. 4.There were significant differences in spatial abilities between boys and girls. 5.Students with average mathematical achievement had higher spatial abilities than students with low mathematical achievement and students with high mathematical had higher spatial abilities than students with average and low mathematical achievement at .01 significant level. 6.There were no difference in mathematical problem solving ability between boys and girls. 7.Students with average mathematical achievement had higher mathematical problem solving abilities than students with low mathematical achievement and students with high mathematical achievement had higher mathematical problem solving abilities than students with average and low mathematical achievement at .01 significant levels.
dc.format.extent631100 bytes
dc.format.extent488741 bytes
dc.format.extent1349672 bytes
dc.format.extent541823 bytes
dc.format.extent1079865 bytes
dc.format.extent698385 bytes
dc.format.extent1482981 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeRelationships between spatial ability and mathematical problem solving ability of prathom suksa four students in schools under the authority of the Bangkok Metroplitan Administrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Gamol_Ch_front.pdf616.31 kBAdobe PDFView/Open
Gamol_Ch_ch1.pdf477.29 kBAdobe PDFView/Open
Gamol_Ch_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Gamol_Ch_ch3.pdf529.12 kBAdobe PDFView/Open
Gamol_Ch_ch4.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Gamol_Ch_ch5.pdf682.02 kBAdobe PDFView/Open
Gamol_Ch_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.