Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2743
Title: การบรรเทาอุทกภัยของกรุงเทพมหานครโดยใช้ทุ่งเก็บกักน้ำชั่วคราว
Other Titles: Flood mitigation for Bangkok Metropolitan by using detention storage
Authors: ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ
Email: Srisard.T@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภูมิศาสตร์
Subjects: อุทกภัย--ไทย--กรุงเทพฯ
ทุ่งมหาราช
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้แบ่งเป็นสี่ตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ลักษณะอุทกภัยของกรุงเทพฯ การวิเคราะห์ความจุของทุ่งมหาราช การประเมินผลกระทบของการเก็บกักน้ำที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และการจัดการการใช้ที่ดิน เพื่อลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในทุ่งเก็บกักน้ำ อุทกภัยในกรุงเทพมหานคร และที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง เกิดจากลักษณะทางอุทกวิทยาและธรณีสัณฐานของลุ่มน้ำและการใช้ที่ดิน ปัญหาที่น่าวิตกคือ การที่น้ำเหนือจากลุ่มน้ำตอนบนมีจังหวะเวลาเคลื่อนตัวลงมายังที่ราบตอนล่างตรงกับช่วงเวลาที่บริเวณนี้มักจะมีฝนตกหนักจากพายุหมุน ในปัจจุบันการสร้างคันกั้นน้ำสองฝั่งเจ้าพระยาเพื่อป้องกันพื้นที่เพาะปลูก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำเหนือแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น และอุทกภัยจากน้ำเหนือเกิดถี่ขึ้น น้ำจำนวนนี้ไม่อาจระบายลงทะเลได้ในช่วงน้ำทะเลขึ้นและจำเป็นต้องมีที่อยู่ ซึ่งในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เกษตรหรือเขตชุมชนศักยภาพการสูญเสียเพิ่มสูงขึ้นมาก ทุ่งมหาราชเป็นที่ลุ่มลึกมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ ๘๔๐,๐๐๐ ไร่ และเคยใช้เป็นทุ่งรับน้ำจากประตูระบายฉุกเฉินเหนือเขื่อนชัยนาทจากระดับคันกั้นน้ำที่มีอยู่ปัจจุบัน ทุ่งนี้มีความจุถึง ๔,๔๐๐ ล้าน ลบ.ม. เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำหลากขนาด 25 ปี เช่น ปี 2523 ซึ่งมียอดน้ำหลากประมาณ ๓,๗๐๐ ล้าน ลบ.ม. การเก็บกักน้ำจะไม่มีผลกระทบต่อเขตชุมชนเมือง เนื่องจากส่วนใหญ่ตั้งอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำ ภายในแนวคันกั้นน้ำบ้านเรือนตั้งอยู่บนโคกเนินสูง และร้อยละ ๗๐-๙๐ มีใต้ถุนสูงกว่า 2 เมตรขึ้นไป จากการวิเคราะห์ระดับเก็บกักน้ำคาดว่าบ้านเรือนส่วนใหญ่ในทุ่งจะอยู่พ้นน้ำ เกษตรกรในทุ่งมหาราชมีความเป็นอยู่ที่ปรับเข้ากับภาวะน้ำหลากได้อย่างดี ประชากรในพื้นที่นี้แสดงความรับรู้ต่อปัญหาอุทกภัยของกรุงเทพมหานครและส่วนใหญ่แสดงความยินยอมที่จะให้ใช้ทุ่งมหาราชเป็นทุ่งเก็บกักน้ำถ้ามีการชดเชยอย่างเหมาะสมผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ความเสียหายของข้าวนาปี การเก็บกักน้ำขนาด ๒๕ ปี จะมีผลทำให้ข้าวนาปีเสียหายถึงประมาณหนึ่งพันล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ โครงการนี้เสนอให้เลื่อนเวลาการปลูกข้าวนาปีให้เร็วขึ้น โดยที่การเก็บเกี่ยวจะแล้วเสร็จก่อน ช่วงที่จะมีการผันน้ำเข้าเก็บกัก (กันยายน-ตุลาคม) ซึ่งการจัดเวลาเพาะปลูกเช่นนี้ในปัจจุบันมีปฏิบัติในโครงการชลประทานในที่ราบเจ้าพระยาตอนล่างอยู่แล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือ ประชากรในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างควรจะมีความสำนึกร่วมกันที่จะรับภาระค่าใช้จ่ายในการบรรเทาอุทกภัย
Other Abstract: This research is composed of 4 parts: the analysis of factors contributing to floods in Bangkok and the lower plain, the analysis of the capacity of the proposed Maharaj detention basin, socioeconomic assessment of the impacts of flood storage and landuse management in reduction of economic loss in the detention basin. Flood in the lower plain is the result of the hydrology and geomorphology of the Chao Phraya basin and landuses. The main problem is the coincidence of the arrival time of the flood from the upper basin and the timing of depression storms in the lower plain. At present, construction of dikes along the Chao Phraya river to protect its vast agricultural land is one of the causes of the increase in size of floods from the upper basin. Hugh masses of water cannot drain into the sea during high tide and thus will occupy the available space. The potential losses either in agricultural areas or in urban areas increase rapidly. Maharaj basin is an elongated lowland on the eastern bank of the Chao Phraya, with about 382,000 acres of agricultural land. This area had been used for emergency flood diversion through the Chainat Dam's spillway. At the height of exsting flood dykes, the Maharaj basin has storage capacity of about 4400 mcm enough to contain a flood mass of 3700 mcm-a flood level that occurs approximately once in every 25 years. Flood storage would not have impact on urban areas in the Maharaj area, because these are mostly located outside the flood dykes. Within the basin, houses are found in high areas and about 70% to 90% have floors at a height of at least 2 meters above the ground. The way of life in this area shows a good adjustment to consistent flooding. The basin residents are aware of serious flood losses incurred in Bangkok. Most do not object to the idea of flood detention, if sufficient compensation is provided. The storage of 25-year flood masses may damage wet-season rice worth about 1000 millions bath. Beginning the wet-season rice growing period one month earlier is suggested asa way of preventing this loss.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2743
Type: Technical Report
Appears in Collections:Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisard(flo).pdf20.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.