Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27458
Title: เศรษฐกิจวัดในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2325-2453)
Other Titles: The economy of the wat in Bangkok 1782-1910
Authors: อุทิศ จึงนิพนธ์สกุล
Advisors: ฉัตรทิพย์ นาถสุภา
วไล ณ ป้อมเพชร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณทิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สถาบันวัดและสงฆ์ไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาบันตัวแทนที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย วัดและสงฆ์มักได้รับการพิจารณาว่าอยู่เหนือความต้องการทางโลก แต่ในสภาพที่เป็นจริงวัดและสงฆ์ก็ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจซึ่งวัดต้องเข้ามาเกี่ยวพันด้วย เนื่องจากวัดต้องมีการใช้จ่ายทางเศรษฐกิจเพื่อกิจการศาสนาเหมือนเอกชนอื่น แต่การศึกษาความเป็นมาของเศรษฐกิจวัดไทยยังมิได้มีการศึกษากันอย่างจริงจัง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเป็นงานที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจวัดในกรุงเทพมหานคร ในระหว่างปี พ.ศ.2325-2453 อันเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของวัดอย่างใหญ่หลวง เพื่อมุ่งให้เกิดความเข้าใจความเป็นมาของเศรษฐกิจวัดไทยตั้งแต่อดีตจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจใหม่และเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจวัดในกรุงเทพมหานครภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนั้น รวมทั้งการดำเนินนโยบายของรัฐต่อเศรษฐกิจวัดตลอดจนถึงการพัฒนาการของเศรษฐกิจวัดและผลกระทบของเศรษฐกิจวัดต่อเศรษฐกิจและสังคมส่วนรวม ผลของการวิจัยพบว่าแม้วัดมิได้กำเนิดมาเพื่อเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจแต่วัดก็มีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจมาตั้งแต่สมัยโบราณในฐานะเป็นผู้ครอบครองปัจจัยการผลิตที่สำคัญ อันได้แก่ ที่ดินและแรงงานซึ่งวัดได้อาศัยปัจจัยเหล่านี้สร้างให้วัดกลายเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งสถาบันหนึ่งในประวัติศาสตร์สังคมศักดินาไทยอย่างไรก็ตาม เนื่องจากเศรษฐกิจวัดมิได้พัฒนาขึ้นมาจากทรัพย์สินภายในของวัดเอง แต่มาจากการรับความอุดหนุนจากรัฐและราษฎรเป็นสำคัญ ประกอบกับพุทธจักรไม่เคยมีอำนาจเท่าเทียมหรือเหนือกว่าอาณาจักรอย่างศาสนจักรในยุโรปสมัยกลาง ทำให้เศรษฐกิจวัดไม่สามารถเป็นอิสระจากรัฐและพัฒนาเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งได้ ดังวัดในยุโรปสมัยกลาง การควบคุมจากรัฐและกฎวินัยของสงฆ์เองกีดกันการพัฒนาเศรษฐกิจของวัดแต่วัดก็อาศัยความสัมพันธ์แบบพึ่งพาและอภิสิทธิ์จากรัฐ รวมทั้งการเป็นผู้กุมเนื้อนาบุญอันเป็นหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าของราษฎร มาเป็นเครื่องมือในการได้มาซึ่งผลประโยชน์ทรัพย์สินของวัด การสร้างระบบความเชื่อที่ว่าวัดและสงฆ์คือความอยู่รอดของศาสนา ทำให้วัดสามารถดูดซับผลประโยชน์จากราษฎรได้อย่างเนียบเนียนและเต็มใจ ดังนั้น วัดจึงอาศัยบุญเก่าคือทรัพย์สินเดิมที่รัฐมอบให้กับการกุมหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าสร้างเศรษฐกิจวัดให้มั่นคงขึ้น เป็นเหตุให้รัฐและราษฎรต้องเสียค่าใช้จ่ายในกิจการศาสนาสูงมาก รายจ่ายทางศาสนาหรือภาษีวัดจึงเป็นรายจ่ายที่สำคัญของแผ่นดิน จากนั้นวัดก็อาศัยทรัพย์สินเหล่านี้สร้างฐานเศรษฐกิจต่อไปจนปรากฎว่าวัดบางส่วนในกรุงเทพมหานครสามารถพึ่งพาตนเองจนเกือบไม่ต้องอาศัยการอุดหนุนจากรัฐและราษฎร การดูดกลืนผลประโยชน์จำนวนมากของวัดจากสังคมและถ่ายคืนให้แก่สังคมเป็นจำนวนน้อยทำให้วัดมีส่วนในการบั่นทอนเศรษฐกิจและสังคม แม้กระนั้นวัดก็มีคุณูปการทางจิตใจและสังคมอย่างยากที่จะมองข้ามไปได้ เศรษฐกิจวัดเจริญเติบโตมากขึ้นในรัชกาลที่ 5 จนบางวัดกลายเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจที่มีการดำเนินงานทาง ธุรกิจ มีทรัพย์สินในครอบครองและมีผู้จัดการผลประโยชน์แม้วัดจะมิได้ดำเนินธุรกิจเองโดยตรงก็ตาม การดิ้นรนของวัดเพื่อความอยู่รอดภายใต้ระบบเศรษฐกิจศักดินาผสมทุนนิยมนี้ ทำให้วัดต้องละทิ้งหน้าที่และความบริสุทธิ์บางส่วน การเบี่ยงเบนไปจากจุดมุ่งหมายเดิมของวัดและการกลายเป็นนายทุนน้อยของวัดในกรุงเทพมหานครในปัจจุบันกำลังเป็นสิ่งที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง
Other Abstract: Wat and the Sangha in Thailand are deemed to be institutions fundamental to the existence of Buddhism standing aloof from worldliness. In reality, however, Wat and the Sangha are unavoidably influenced by social, political and especially economic environments. This is because Wat has religious expenses as well as other private institutions have their own Yet there has been no elaborate studies on the development of the economy of the Wat in Thailand before. The purpose of this thesis, therefore is to analyse the Wat economy in Bangkok between 2325 BE-2453 BE. Which was the period during which a great change occurred in the Wat economy. The development of the Wat economy was closely related to the bigger economic system. We should understand the government’s policies toward the Wat economy and the impact of the change in the Wat economy on the economy and the society as a whole. The research reveals that although the Wat did not originate as economic institution, Wat and economy was connected since the former time because Wat possessed the major means of production i.e. land and labor. By this Wat became one of the prosperous economic institutions in the history of Thai feudalism. Nevertheless, the fact that the economy of the Wat was supported principally by the government and townsmen and that Buddism, unlike the Catholic Church. In the Middle Age of Europe, had never been so powerful that it became a challenge to the Kingdom made the Wat economy dependent on the government. It was unable to evolve into a powerful economic institution. Moreover the rules and disciplines of Sangha hampend its economic development. Yet Wat benefited from this dependent relations privileges bestowed from the government and the belief of being the people “Fuca-na-bun” (the field on which man cultivates merit). The belief that Wat and the Sangha symbolized the survival of the religion enabled Wat to reap profits from the people discreetly and the people were reaped voluntarily hoping that the merit would reward them with a better life. Consequently the government and the people spent a great deal for religious activities. Wat turned this benefic into such a stable economic base. Some Wat became Self-reliant. Since Wat absorbed a great deal of benefits from the society while returned very little, Wat was, in a way , ruining the economy and the society. In the reign of King Rama V, the economy of the Wat was so prosperous that some became economic institution with business operated by managers. The struggle for survival under such feudal-capitalist economic system caused Wat to abandon its religious duty and integrity. The deviation from the original purpose of Wat in Bangkok to become the petty bourgeosic at present is indeed a matter of great concern
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27458
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Outit_Ju_front.pdf771.88 kBAdobe PDFView/Open
Outit_Ju_ch1.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Outit_Ju_ch2.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open
Outit_Ju_ch3.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Outit_Ju_ch4.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Outit_Ju_back.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.