Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27491
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิต ภู่จินดา-
dc.contributor.authorชัญญพัชร์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-12-11T04:53:10Z-
dc.date.available2012-12-11T04:53:10Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27491-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit) หรือ BRT เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องที่กรุงเทพมหานครได้เลือกมาเพื่อให้เป็นโครงข่ายที่ช่วยเสริมความคล่องตัวในการเดินทางจากย่านต่างๆ เพื่อป้อนการเดินทางหรือรองรับผู้โดยสารรถไฟฟ้า และเติมเต็มโครงข่ายการสัญจรในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ทั่วถึง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นระบบรองที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบหลัก ทำให้ชาวกรุงเทพเดินทางได้อย่างครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ทีซึ่งได้แก่ ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้ใช้รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที โดยศึกษาพฤติกรรมการเดินทางและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทาง เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมกับพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที รวมถึงศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อบ่งชี้ถึงคุณลักษณะที่สำคัญของการเดินทางเพื่อเข้าถึงที่ทำงานและสถานศึกษาของผู้ที่ใช้ ทั้งยังเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่นๆได้ต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้ที่ใช้รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที 2) เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ซึ่งคำถามหลักของงานวิจัย คือ ผู้โดยสารเดินทางโดยใช้รถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) เป็นระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลักอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสตามวัตถุประสงค์ของ BRT หรือไม่ และสมมติฐานในงานวิจัยนี้ คือ กลุ่มประชากรที่เดินทางไปทำงาน (Work Trip) เดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสในขณะที่กลุ่มประชากรที่เดินทางไปเรียน (School Trip) ไม่ได้เดินทางโดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ผู้พักอาศัยจากบ้านเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง พบว่าส่วนใหญ่มีการมีการเปลี่ยนต่อการเดินทาง 1 ต่อ และรูปแบบที่ใช้กันมากที่สุดคือรถยนต์ส่วนบุคคล รองลงมาคือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ทั้งนี้ในส่วนของพฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารรถด่วนพิเศษ (BRT) ผู้โดยสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินทางไปทำงานและไปเรียนมีพฤติกรรมการเดินทางที่ไม่ได้เลือกใช้ BTS ในการเดินทางร่วมกับรถโดยสารด่วนพิเศษ BRTรูปแบบการเดินทางที่พบมากที่สุดของผู้โดยสารด่วนพิเศษ BRT คือใช้ยานพาหนะ 2 ต่อ โดยจะเลือกใช้รถโดยสารด่วนพิเศษ BRT และมาต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสมากที่สุดเพื่อเดินทางไปซื้อสินค้า รองลงมาคือการใช้รถเมล์และไปต่อรถโดยสารด่วนพิเศษ BRTเพื่อเดินทางไปทำงานและไปเรียนen
dc.description.abstractalternativeThe Bus Rapid Transit or BRT is a pilot project in Bangkok, has chosen to provide a network that allows for the flexibility to travel. Furthermore, this project was initiated in order to support the passenger train and expand to fill the network traffic in Bangkok. The objective is to provide a secondary system that can be connected to the main system. This makes all of Bangkok traveler’s trip is more complete. This theses aims to study the behavior of BRT passengers, including Socio-economic characteristics of BRT passengers by studying the behavior and the factors affecting the choice of a trip. To describe the relationship between the economic and soc ial behavior of BRT passengers, including the problem for the study of the critical features of travelling to workplace and academy of BRT passengers. It is also a guide for developing other forms of public transportation in the future. The purpose of this study : 1) Studying the behavior of BRT passengers 2) Analyzing and monitoring the achievement goal of the Bus Rapid Transit project. The main question of this research is travelling on BRT is secondary transport that connect to the main public transport or not. Moreover,hypothesis in this study is the population travel to work (Work Trip) linked to the BTS Skytrain. While the population who travel to school (School Trip) does not get connected to the BTS Skytrain. The result indicates that the travel of all residents is changing the route 1 from home to their destination. The most of traveling form is the private car, followed by the BTS Skytrain. In addition, the travel behavior of passengers in the bus rapid transit (BRT) which aims to travel to work and school, they don’t select BTS Skytrain for connecting to BRT. Moreover, most of traveling form of passengers in the bus rapid transit (BRT) is traveling with two vehicles. Traveling by BRT that connect to BTS Skytrain is the most selected for shopping trip, followed by traveling by a bus that connect to BRT for work trip and school trip.en
dc.format.extent3202297 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1989-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการขนส่งมวลชน -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectรถประจำทางด่วนพิเศษ -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.titleพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT)en
dc.title.alternativeTravel behavior of Bus Rapid Transit (BRT) passengersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpujinda@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1989-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanyaphat_sa.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.