Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27496
Title: ปัญหาการบริหารงานการทำบัตรรายการของห้องสมุดโรงเรียนรัฐบาล ระดับมัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Problems of cataloging administration of the government secondary school libraries in Bangkok metropolis
Authors: อุทพินธุ์ จิตราทร
Advisors: ประคอง กรรณสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การบริหารห้องสมุด
การทำบัตรรายการ
ห้องสมุดโรงเรียน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Library administration
Cataloging
School libraries -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2516
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อสำรวจสภาพที่แท้จริง ปัญหา และอุปสรรคการบริหารงานการทำบัตรรายการห้องสมุดโรงเรียนรัฐบาลระดับมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ศึกษาความคิดเห็นของครูบรรณารักษ์ที่มีต่อการจัดตั้งศูนย์บัตรรายการของห้องสมุดโรงเรียน และเพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆ ของครูบรรณารักษ์ เพื่อทำการแก้ไขและปรับปรุงการทำบัตรรายการของห้องสมุดโรงเรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งใช้วิธีการส่งแบบสอบถามไปให้ครูบรรณารักษ์จำนวน 70 คนได้รับคำตอบกลับคืนมา 62 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.57 ผลการวิจัยปรากฎว่าโรงเรียนส่วนใหญ่ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2499 ถึง 2507 ครูบรรณารักษ์ร้อยละ 91.93 เป็นหญิง ร้อยละ 53.23 มีวุฒิทางบรรณารักษ์ศาสตร์ และร้อยละ 47.77 ไม่มีวุฒิทางบรรณารักษ์ศาสตร์ แต่สามารถปฏิบัติงานในห้องสมุดได้ ทั้งนี้ เนื่องจากผ่านการอบรมวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และกรมสามัญศึกษา ครูบรรณารักษ์ ร้อยละ 53.23 ไม่มีเวลาทำงานในห้องสมุดได้อย่างเต็มที่ เพราะต้องทำงานหน้าที่อื่นนอกเหนือจากงานห้องสมุด เช่น ทำการสอน และเป็นครูประจำชั้นเป็นต้น ห้องสมุดโรงเรียนร้อยละ 56.45 มีเจ้าหน้าที่ 2 คน เป็นครูบรรณารักษ์ 1 คน ผู้ช่วย 1 คนและ ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.70 ไม่มีเจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด ห้องสมุดโรงเรียน ร้อยละ 61.29 ต้องการขยายเนื้อที่ของห้งสมุดให้กว้างขวางขึ้น เพราะส่วนใหญ่ได้ดัดแปลงมาจากห้องเรียน ครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการทำบัตรรายการคือ เครื่องพิมพ์ดีด ห้องสมุดโรงเรียน 32 โรง มีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย 1 เครื่อง แต่ไม่มีเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษ ห้องสมุดโรงเรียนร้อยละ 22.58 ที่ไม่มีตู้บัตรรายการและส่วนใหญ่ร้อยละ 69.45 มีรายได้จากเงินบำรุงการศึกษาประมาณ 5,001 ถึง 10,000 บาท ห้องสมุดโรงเรียนทุกแห่งจัดบริการที่เหมือนกันคือ บริการให้ยืมแต่มีห้องสมุดโรงเรียน ร้อยละ 54.84 ที่ไม่ได้จัดการปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ใช้ห้องสมุดไม่เป็น ห้องสมุดโรงเรียนร้อยละ 98.39 จัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมของคิวอี้ โดยใช้หนังสือคู่มือระบบการจัดหมวดหมู่ทศนิยมฉบับย่อของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และร้อยละ 41.67 เริ่มจัดทำบัตรรายการในระหว่าง พ.ศ. 2515 ถึง 2518 โดยใช้หัวเรื่องในหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทยของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ปัญหาต่างๆ ที่ครูบรรณารักษ์ประสบในการบริหารงานคือ ปัญหาการเงิน บุคลากร การให้บริการ และการใช้บัตรรายการของนักเรียน ปัญหาเหล่านี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางที่เป็นปัญหามากคิดเป็นร้อยละ 88.70 คือ การขาดพนักงานพิมพ์ดีด โดยเฉลี่ยแล้ว ครูบรรณารักษ์มีความเห็นด้วยเป็นอย่างมากในเรื่องการจัดตั้งศูนย์บัตรรายการของห้องสมุดโรงเรียน และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงการบริหารงานการทำบัตรรายการของห้องสมุดโรงเรียนหลายประการ เช่น ให้มีศูนย์บัตรรายการเพื่อจัดทำและจำหน่ายบัตรรายการของหนังสือที่จัดพิมพ์ใหม่โดยทันที รวมทั้งจัดพิมพ์รายชื่อหนังสือดังกล่าวนี้ให้โรงเรียนทราบ ข้อเสนอแนะ จากการวิจัยได้พบปัญหาต่างๆ ดังกล่าว ซึ่งเป็นอุปสรรคในการบริหารงานการทำบัตรรายการ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหา ผู้บริหารควรถือว่าห่องสมุดเป็นงานสำคัญ และมอบหมายให้ครูบรรณารักษ์ทำหน้าที่ในห้องสมุดแต่เพียงอย่างเดียว กรมสามัญศึกษาควรจัดวิชาการใช้ห้องสมุดให้เป็นวิชาบังคับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ควรแก้ไขและปรับปรุงหนังสือคู่มือระบบการจัดหมวดหมู่ทศนิยมฉบับย่อ และหนังสือหัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทยของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรมีการจัดตั้งศูนย์บัตรรายการห้องสมุดโรงเรียน และเห็นว่าควรมอบหมายหน้าที่นี้ให้แก่หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Other Abstract: The main purpose of this study were: (1) to survey the actual situation, the problems of and the obstacles to the cataloging administration of the Government Secondary School Libraries in Bangkok Metropolis; (2) to survey the opinions of teacher-librarians concerning the establishing of a School Library Cataloging Center; (3) to collect the recommendation of teacher – librarians so as to improve cataloging in school libraries. The following data was obtained by sending questionnaires to 70 teacher-librarians, and of which 62 (88.57%) were answered and returned. The results were: the majority of school libraries (48%) were established during B.E. 1956 to 1964. The teacher-librarians (91.93%) were female. 53.23 percent were professional librarians and 47.77 percent were non-professional librarians. They had already had an in-service training provided by Thai library Association and by the Department of General Education Ministry of Education so that they were able to serve as librarians. The teacher-librarians (53.23%) were not full-time librarians. School libraries (56.45%) had two library staff members: head librarian and assistant; and the majority of school libraries (88.70%) had no typist. School libraries (61.29%) were facing space problem. Most of them have been converted from classrooms. 32 school libraries had only one Thai typewriter. School libraries (52.58%) had no card catalog cabinet. The majority of them (69.45%) had got a budget from tuition fees ranging from 5,001 to 10,000 baht. All school libraries offered a lending service but school libraries (54.84%) did not offer library orientation service for students. That was the reason why the students did not use the libraries. School libraries (98.39%) classified books by using the Thai version of “Dewey Decimal Classification” published by the Thai Library Association. The majority of school libraries (77.42%) started to do the cataloging during 1972-1975 by using “Subject Headings for Thai Books” published by the Thai Library Association. The common problems of teacher-librarians are the inadequacy of budget, the lack of personal, the poor services and the students’ use of card catalogs. The problem of the highest percentage (88.70%) is the lack of typists. All teacher-librarians strongly agreed with the idea of establishing a School Library Cataloging Center. Recommendations to improve cataloging in school libraries were also given. One suggestion put forward was that the School Library Cataloging Center should do the cataloging and sell card catalogs of newly-printed books immediately and make a list of these new-books. The main recommendations are as follows: The findings revealed many problems that were obstacles to the cataloging administration. To help solving these problems the administrators should have the teacher-librarians take responsibility for library work only. The Department of General Education should offer a course in the “Use of Libraries” as a required course for the students. The Thai Library Association should revise the Thai version of “Dewey Decimal Classification” and “ Subject Headings for Thai Books”. The Supervisory Unit, Department of General Education should serve as the School Library Cataloging Center.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2516
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27496
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Utapin_Ch_front.pdf513.43 kBAdobe PDFView/Open
Utapin_Ch_ch1.pdf605.69 kBAdobe PDFView/Open
Utapin_Ch_ch2.pdf910.79 kBAdobe PDFView/Open
Utapin_Ch_ch3.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Utapin_Ch_ch4.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Utapin_Ch_ch5.pdf466.85 kBAdobe PDFView/Open
Utapin_Ch_ch6.pdf989.2 kBAdobe PDFView/Open
Utapin_Ch_back.pdf873.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.