Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27538
Title: การศึกษาการจัดการสหกรณ์ร้านค้าในสถานศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study on management of cooperative stores in educational institutions in Bangkok Metropolis
Authors: อมรรัตน์ สุคนิชย์
Advisors: ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการจัดการของสหกรณ์ร้านค้าในสถานศึกษาตลอดจนพฤติกรรมการซื้อ ความสนใจ และการเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานในสหกรณ์ร้านค้าของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ การศึกษาวิจัยนี้ ได้รวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ ในส่วนข้อมูลปฐมภูมิ ผู้จัดการสหกรณ์ร้านค้าในสถานศึกษาต่าง ๆ เป็นผู้ให้ข้อมูลในเรื่องการจัดการ และได้ออกแบบสอบถามในเรื่องการซื้อและความสนใจในการดำเนินงานของสหกรณ์ร้านค้าไปยังนักศึกษา 12 สถาบัน จากจำนวนสถาบันการศึกษาที่มีสหกรณ์ร้านค้า เปิดดำเนินงานอยู่ 15 สถาบัน ผลการวิจัยปรากฏว่า นักศึกษาซื้อสินค้าจากสหกรณ์ร้านค้า เฉลี่ยประมาณเดือนละ 5 ครั้ง และมูลค่าในการซื้อแต่ละครั้งไม่มากนัก สินค้าที่ซื้อมากที่สุดคือ เครื่องเขียน ราคาสินค้าในสหกรณ์ร้านค้าตั้งไว้เท่ากับราคาสินค้าในร้านค้าอื่นๆ ไม่ได้ต่ำกว่าอย่างที่บุคคลทั่วไปเข้าใจ นอกจากนักศึกษาส่วนหนึ่งที่เป็นสมาชิกสหกรณ์จะได้รับเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนจำนวนหนึ่งในแต่ละปี ในด้านความสนใจและการเข้ามีส่วนร่วมดำเนินงานของนักศึกษายังมีน้อย โดยพิจารณาจากการเข้าเป็นสมาชิก การเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี และการเข้าร่วมดำเนินงาน สาเหตุสำคัญก็คือส่วนใหญ่ไม่เคยทราบข่าวคราวของสหกรณ์จึงไม่เกิดความสนใจ การดำเนินงานของสหกรณ์ร้านค้ายังไม่มีการวางโครงสร้างขององค์การอย่างแน่นอนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้การควบคุมเป็นไปได้ไม่เต็มที่ สหกรณ์ร้านค้ายังมีปัญหาในเรื่องเงินทุนมีอยู่จำกัดไม่สามารถขยายงานได้เต็มที่ ขาดแคลนพนักงานที่มีความสามารถในเชิงการค้าและการบริหาร เนื่องจากไม่มีเงินทุนมากพอในการจัดจ้าง การบริหารงานเท่าที่เป็นอยู่จึงไม่สามารถให้บริการแก่ บุคลากรในสถานศึกษาได้เต็มที่
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the management of cooperative stores in educational institutions, including the students’ buying behavior, the concentration and participation on the operation of the cooperative stores. This research has been conducted through the use of primary data and secondary data. The interview has been done to the manager of each cooperative stores and the questionnaires on buying behavior and concentration on the operation have been sent to the students in 12, out of 15 educational institutions which the cooperative stores are operated. The conclusion of this research shows that students purchase goods from the cooperative stores about 5 times a month and the amout of each purchasing is small. Stationeries are the highest purchasing goods. The prices of goods in the cooperative stores are the same as in another kind of stores. They are not lower than another stores as most people has expected. Most of the students rarely pay attention to the operation of the cooperative stores because they seldom have the relationship with the cooperative stores The operation of most cooperative stores still do not have the systematic pattern. So they cannot fully control the operation. The problems on the operation of the cooperative stores are:- limiting fund, scarcity of facilities, lacking of qualified personnel who have ability on selling and administration. Since the operation still has these problems, so the cooperative stores cannot effectively surve the needs of the customers in the educational institutions.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27538
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_Su_front.pdf400.54 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Su_ch1.pdf339.75 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Su_ch2.pdf632.17 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Su_ch3.pdf975.09 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Su_ch4.pdf844.13 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Su_ch5.pdf430.44 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_Su_back.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.