Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27553
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
dc.contributor.authorวินีย์ ตะสถิตย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-11T17:37:10Z
dc.date.available2012-12-11T17:37:10Z
dc.date.issued2522
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27553
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษากระบวนการใน การดำเนินงานนิเทศการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 2. เพื่อศึกษาโครงการและกิจกรรมที่ปฏิบัติจริงที่โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตศึกษา 2 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและครูโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 2 ที่สังกัดกรมสามัญศึกษา เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งพวกได้โรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 44 โรงเรียน และสุ่มจำนวนประชากรโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งพวก ได้ตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 662 คน แยกเป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 155 คน และครูผู้สอนจำนวน 507 ได้รับแบบสอบถามคืน 607 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 91.69 เป็นคำตอบของผู้บริหารโรงเรียน 146 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.19 และเป็นคำตอบของครูผู้สอน 461 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.92 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่าและแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าอัตราส่วนวิกฤต สรุปผลการวิจัย 1. การปฏิบัติในด้านกระบวนการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษาโดยสรุปแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า การปฏิบัติในด้านนี้อยู่ในเกณฑ์น้อย 2. การปฏิบัติด้านโครงการต่างๆที่จัดทำในการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา โดยสรุปแล้วผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นขัดแย้งกันโดยผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นว่า การปฏิบัติในด้านนี้อยู่ในเกณฑ์น้อย แต่ครูมีความเห็นว่า การปฏิบัติในด้านนี้อยู่ในเกณฑ์น้อยที่สุด 3. การปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการศึกษาโดยสรุปแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า การปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งได้แก่การปฏิบัติในด้านกิจกรรม การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตร การปฏิบัติในด้านการส่งเสริมวิชาการแก่ครูและการปฏิบัติในด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร ส่วนในด้านที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน โดยที่ผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นว่าการปฏิบัติในด้านนี้อยู่ในเกณฑ์น้อยแต่ครูมีความเห็นว่า การปฏิบัติในด้านนี้อยู่ในเกณฑ์น้อยที่สุด ซึ่งได้แก่ การปฏิบัติในด้าน การนิเทศการสอนและการปฏิบัติงานนิเทศในด้านการประเมินผล และยังมีอีกด้านหนึ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความคิดเห็นขัดแย้งกันโดยที่ผู้บริหารโรงเรียนมีความเห็นว่าการปฏิบัติในด้านนี้อยู่ในเกณฑ์มาก แต่ครูมีความเห็นว่าได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งได้แก่การปฏิบัติในด้านการใช้โสตทัศนูปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและห้องสมุด 4. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการนิเทศการศึกษาภายในโรงเรียนประถมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความเห็นตรงกันว่า มีปัญหาและอุปสรรคมากในด้านขาดแคลน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน ขาดแคลนวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญทางการนิเทศการศึกษา ขาดแรงสนับสนุนจากหน่วยงานเจ้าสังกัด และมีขาดตัวบุคคลที่รับผิดชอบในการจัดการดำเนินงานนิเทศในโรงเรียนโดยตรง เพราะมีงานล้นมืออยู่แล้ว
dc.description.abstractalternativeThe specific purposes of this research are as follows : 1. To study the supervisory process in elementary schools in Educational Region II 2. To study the projects and actual performances in elementary schools in Educational Region II 3. To study the problems of supervisory management in elementary schools in Educational Region II Methods and Procedures The sample involved in this survey were administrators and teachers from elementary schools in Educational Region II under the auspices of the General Education Department, the Municipality and the Provincial Administrative Organization. There were altogather 44 schools with a total sample of 662. A of662 questionnaires were sent out and 607 questionnaires or 91.69 percent were returned. Data were analyzed using percentage, arithmetic mean J standard deviation and Z-test. The Research Results 1.The Administrators and teachers agreed that there was little performance in supervisory procession in elementary schools. 2.The administrators disagreed with the teachers about the performace of supervisory projects in elementary schools. The administrators rated the performance as little but the teachers rated it as the least. 3.The administrators and teachers agreed in rating the performance of supervisory activities for curriculum development, academic promotion for teachers, and extra curriculum as little. The administrators disagreed with the teachers about the performance in supervisory teaching and in evaluation; the administrators rated the performance as little but the teachers' rated it as the least. The administrators disagreed with the teachers about the performance in using visual aids, facilities and library; the teachers rating was little but the administrators’ rating was one scale higher than the teachers'. 4. Concerning the problem of the supervisory administration in elementary schools; the administrators and teachers agreed that these problems dued to the lack of budget, equipment and materials, resource persons or experts, and the encouragement and support from the upper, level concerned. The other problem was the lack of persons who will be responsible for the supervisory management in the elementary schools.
dc.format.extent491340 bytes
dc.format.extent701514 bytes
dc.format.extent2981765 bytes
dc.format.extent428938 bytes
dc.format.extent3994440 bytes
dc.format.extent1231444 bytes
dc.format.extent1515021 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการนิเทศการศึกษา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา
dc.subjectSupervised study
dc.subjectElementary schools
dc.titleสำรวจการปฏิบัติจริงในการจัดการนิเทศการศึกษา ภายในโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 2en
dc.title.alternativeA survey of actual performance of educational supervision in elementary schools in educational region IIen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Winie_Ta_front.pdf479.82 kBAdobe PDFView/Open
Winie_Ta_ch1.pdf685.07 kBAdobe PDFView/Open
Winie_Ta_ch2.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Winie_Ta_ch3.pdf418.88 kBAdobe PDFView/Open
Winie_Ta_ch4.pdf3.9 MBAdobe PDFView/Open
Winie_Ta_ch5.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Winie_Ta_back.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.