Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27560
Title: บทบาทของกรมการค้าภายใน ในการรักษาระดับราคาสินค้าภายในประเทศ
Other Titles: The role of internal trad department in domestic price stabilization
Authors: อภิญญา เบญจางค์วิษณุ
Advisors: กนกมารถ วิสุทธิพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงนโยบายในการรักษาระดับราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์ โครงสร้างพื้นฐานของกรมการค้าภายใน การดำเนินงานของกรมการค้าภายในในปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรค์ในการดำเนินงานรักษาระดับราคาสินค้าของกรมการค้าภายใน การศึกษาเน้นหนักเฉพาะด้านการส่งเสริมและการควบคุมสินค้าโดยออกแบบสอบถามความคิดเห็นของร้านค้าที่ได้รับความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน และวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการส่งเสริมและการควบคุมสินค้า จากการศึกษาปรากฏว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาที่ประสบผลสำเร็จพอสมควร คือทางด้านการส่งเสริม การส่งเสริมร้านค้าในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน ส่วนใหญ่ปฏิบัติและประกอบกิจการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่จะให้คนไทยสามารถมีร้านค้าและประกอบอาชีพ ด้วยตนเอง และยังใช้บริหารประโยชน์ที่ตนถึงจะได้รับจากกรมการค้าภายใน การส่งเสริมบริษัทจังหวัดก็นับได้ว่าการดำเนินงานเป็นที่น่าพอใจ เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นสามารถเป็นตัวแทนของกรมการค้าภายในในการกระจายสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพไปสู่ประชาชนในส่วนภูมิภาคได้บริโภคสินค้าในราคาพอสมควรได้เป็นอย่างดี ด้านการควบคุมสินค้ามีส่วนช่วยให้ราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพบางชนิดไม่สูงขึ้นเป็นการตรึงราคาสินค้าและช่วยลดภาวะความกดดันทางค่าครองชีพของประชาชนลงได้บางส่วน ซึ่งมีผลทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าได้ในราคายุติธรรม และป้องกันมิให้เกิดการปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม เอารัดเอาเปรียบของผู้ผลิตจำหน่ายที่มีต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ การพิจารณากำหนดราคาสินค้าก็คำนึงถึงผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่ผู้ผลิตผู้จำหน่าย ตลอดจนเอื้ออำนวยให้มีการขยายการลงทุนให้มากขึ้นอีกด้วย ปัญหาในการดำเนินงานรักษาระดับราคาสินค้าได้แก่ การบริหารงานมีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อน การขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ การขาดการประสานงานกับหน่วยราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง การประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับสินค้ายังมีน้อย กฎหมายที่ใช้มีช่องว่างเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงานและไม่สามารถครอบคลุมปัญหาได้ทั่วถึง ปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ มีผลกระทบต่อราคาสินค้า การขาดความร่วมมือจากผู้บริโภคในการต่อต้านพ่อค้าที่เอารัดเอาเปรียบ ข้อเสนอแนะ 1. ด้านการส่งเสริมการค้า ควรมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการส่งเสริมร้านค้าในความส่งเสริมของกรมการค้าภายใน นอกจากนี้ควรมีการสนับสนุนจัดตั้งบริษัทให้ครบทุกจังหวัด และจัดตั้งบริษัทอำเภอขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าในอำเภอนั้น 2. ด้านการควบคุมสินค้า ควรมีการปรับปรุงหน่วยงานที่มีการดำเนินงานซ้ำซ้อน ให้มีการประสานงานกันมากขึ้น โดย ตั้งสำนักคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านควบคุมสินค้าโดยเฉพาะ และให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ให้จับกุมและมีบทลงโทษพ่อค้าผู้ผลัดให้มากกว่าเดิม เพื่อไม่ให้มีการฉวยโอกาสหลีกเลี่ยงและเกรงกลัวในกฎหมายมากขึ้น
Other Abstract: The objective of this dissertation is to study the Ministry of Commerce’s policies regarding commodity price stabilization, the organization structure of the Department of Internal Trade, its past and present operation including operational problem and obstacles encountered by the Department. The study focuses on the trade promotion and the control aspects. The opinions of retail shops supported by the Department were surveyed via questionnaires and both operational aspects were analysed. The study found that the past operation of the Department which can be regarded as successful is the promotion aspect. Most of the Department’s objectives in this field were achieved i.e. there has been an increase in the number of retail shops owned by Thai people and the provincial trading companies have became well-known. Moreover, these 2 types of trade were able to function as the Department’s agent in the distribution of commodities to both rural and urban areas. Regarding the control aspect, the Department’s operation has helped slowing down and maintaining commodities prices in the market which in turn have direct effects on the cost of living. The problems found in the operation are the overlapping of responsibilities in many functions of the Department, shortages of officers in charge, inadequate budget, poor coordination between relevant departments, low publicity, gaps in laws which facilitate violation, external economic factors, lack of cooperation from the public It is then suggested That 1. Promotion aspect. There should be an amendment in rules and regulation of retail shop promotion. The Department should also bring about more supportive measures to increase the number of provincial trading companies, if these are able to act government agents. 2. Control aspect. The Department should encourage more cooperation between relevant functions, by setting up a price fixing and anti-monopoly central committee office responsible for commodities price fixing and preventing trade monopolization. Moreover, there should be an amendment in the price fixing and anti-monopoly act to eliminate the existing gap and allow stiff penalty measures.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27560
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apinya_Be_front.pdf479.66 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_Be_ch1.pdf389.33 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_Be_ch2.pdf688.22 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_Be_ch3.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_Be_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Apinya_Be_ch5.pdf679.92 kBAdobe PDFView/Open
Apinya_Be_back.pdf901.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.