Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27648
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรัฐ ศิลปอนันต์-
dc.contributor.authorสมคิด ศรีช่วง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-12-13T20:10:29Z-
dc.date.available2012-12-13T20:10:29Z-
dc.date.issued2519-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27648-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเรื่องระบบตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครู ในด้านวิวัฒนาการของระบบและปัจจัยที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่ง กำหนดอัตราเงินเดือน ตลอดจนต้องการสร้างมาตรฐานตำแหน่งข้าราชการครู ที่เน้นงานในหน้าที่ตามแนวทางของระบบจำแนกตำแหน่งที่ ก.พ. นำมาใช้ วิธีการศึกษาใช้การวิจัยเอกสารเป็นหลัก ประกอบกับการสัมภาษณ์บุคคล เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา แล้ววิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางที่กำหนด เขียนเป็นวิทยานิพนธ์ ระบบตำแหน่งของข้าราชการครู มีวิวัฒนาการมาจากพระสงฆ์ผู้สอนหนังสือศิษย์ตามกุฏิ เพื่อหวังในบุญกุศล จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้น ฆราวาสจึงเริ่มเข้าเป็นครูสอนหนังสือบ้าง และเมื่อโรงเรียนได้แพร่หลายออกไปมากในเวลาต่อมา ทั้งพระสงฆ์ทั้งฆราวาสก็ยังคงเป็นครูสอนหนังสืออยู่ในโรงเรียนเหล่านั้น แต่ในชั้นหลังงานสอนมีลักษณะเป็นวิชาชีพมากขึ้น การจัดก็มีระเบียบแบบแผนรัดกุมขึ้น จนความเป็นสงฆ์ไม่อาจโอนอ่อนผ่อนตามระเบียบเหล่านั้นได้ พระสงฆ์จึงได้พ้นไปจากระบบการศึกษา การกำหนดตำแหน่งครูในยุคต้นของการศึกษา ไม่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน ใครที่อ่านออกเขียนได้ก็เข้าเป็นครูได้ เงินค่าสอนพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ต่อมาเมื่อกรมศึกษาธิการเกิดขึ้น การจัดครูเข้าสอนในโรงเรียนจึงเริ่มคำนึงถึงคุณวุฒิทางวิชาชีพ แต่เนื่องจากบุคคลเช่นนี้มีจำนวนจำกัด ไม่พอแก่ความต้องการ หลักการที่กำหนดไว้จึงใช้จำกัดเฉพาะครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น ส่วนครูนอกสังกัดเช่นครูโรงเรียนประชาบาล ก็ยังคงใช้บุคคลที่เพียงอ่านออกเขียนได้เป็นครูอยู่ต่อไป การกำหนดเงินเดือนก็ยึดระดับความรู้ตามประกาศนียบัตรเป็นสำคัญ เนื่องจากความยึดมั่นในระบบศักดินาตามแนวทางของการปกครองทำให้มีการปรุงแต่งตำแหน่งข้าราชการด้วยยศบรรดาศักดิ์ ตามระบบศักดินาด้วย ครูบางส่วนที่มีฐานะเป็นข้าราชการ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางเหมือนข้าราชการอื่น แม้ระยะหลังได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตยแล้วก็ตาม แต่ระบบศักดินาก็มีได้หมดไปจากวงการข้าราชการ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสมัยหลัง จึงยังคงยึดถือชั้นยศของบุคคลประกอบกับคุณวุฒิทางการศึกษา ความมีอาวุโสและความสามารถในการทำงานเป็นหลักในการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนเรื่อยมา จนพบว่าระบบที่ใช้มานั้นไม่บังเกิดผลดีต่อราชการบ้านเมืองเท่าที่ควร คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจึงได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่ เพื่อยกเลิกชั้นยศนั้นไป และใช้ระบบจำแนกตำแหน่งแทน แต่ในวงการศึกษากลับมีปัญหาเกิดขึ้นอีก เพราะการจัดการศึกษาที่ไม่มีเอกภาพมาตั้งแต่ต้น จึงทำให้การกำหนดตำแหน่งครูแต่ละสังกัดมีความเหลื่อมล้ำกัน แม้จะมีลักษณะงานเป็นแบบเดียวกันก็ตาม การวิจัยครั้งนี้ได้สร้างรูปแบบมาตรฐานตำแหน่งและระดับเงินเดือนของครูตามระบบจำแนกตำแหน่ง โดยถือว่าสายงานสอน คือผู้สอนอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาเท่านั้น ซึ่งเรียกชื่อตำแหน่งผู้สอนในระดับประถมศึกษาว่า ครู และผู้สอนในระดับมัธยมศึกษาว่า อาจารย์ ทั้งนี้เพื่อให้ชื่อตำแหน่งเป็นเครื่องบอกระดับของการศึกษาด้วย การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนแตกต่างกันตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ระดับความยากง่ายของงานที่ปฏิบัติความชำนาญและคุณวุฒิประจำตำแหน่ง ส่วนระดับเงินเดือนที่แตกต่างกันมีอัตราเป็นไปตามบัญชีเงินเดือนท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน 2518-
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this research is to study position and salary systems of cevil servant teachers in terms of the system development and factors used in considering position classification. As for procedure of the research, documental research and interview techniques are applied. Data analysis follows the designed guidelines. The teacher position classification has developed from Buddhist monks teaching their followers in Buddhist temples. Not until the reign of King Mongkut when he established a modern school in the royal palace that secular people started to teach. When the schools were relatively widely expanded, both Buddhist monks and secular people still served as teachers. Several years later, more details were regulated that the monks were not able to allow themselves to follow and voluntarily stopped practicing teaching. There were not specific prerequisites for teaching positions during early periods of education. Any literate person was allowed to teach. Teaching wages were paid by the Royal consent. When the Department of Education was established, teaching assignments started to consider professional qualifications. However the availability of people was limited, the requirements set were only applicable for teachers under the Department of Education. Teachers under other jurisdictions, local schools for example, needed only literacy before their services. Salary scale was based on certificates held. In accordance with the nobility administrative system of Thailand, the officials titles were conferred by the sovereign and hence some teachers were enjoyed by the nobility. Though the Thai administrative system has been changed democratic system, the nobility system still lived. The Civil Service Code was in accordance, based on a person’s rank, qualification, seniority and ability in positioning and salary scaling The system was considered ineffective and hence the introduction of the position classification system for current dates. The problems occurred in educational circle. Because of the lack of unity in education, position classifications for teachers of the same types under different jurisdictions overlapse. The researcher has construct a model for primary and secondary school teachers position classification and salary scaling. The model suggests that primary school teaching positions be called “kru” while secondary school “archarn” for the identity of level of teaching practices. The positions and salary levels are based on types of duties and responsibilities, level of difficulties of the job, experiences and qualifications required for the position. The mode also suggests that the salary scale attached to the 2518 Civil Service Code be used.-
dc.format.extent531005 bytes-
dc.format.extent5486412 bytes-
dc.format.extent1485170 bytes-
dc.format.extent616038 bytes-
dc.format.extent1755176 bytes-
dc.format.extent575187 bytes-
dc.format.extent958237 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleระบบตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูen
dc.title.alternativePosition and salary systems of cevil servant teachersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkid_Sr_front.pdf289.69 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Sr_ch1.pdf287.81 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Sr_ch2.pdf560.07 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Sr_ch3.pdf204.23 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Sr_ch4.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Somkid_Sr_ch5.pdf307.35 kBAdobe PDFView/Open
Somkid_Sr_back.pdf306.97 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.