Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27701
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ชัย อัครเศรณี-
dc.contributor.authorศิริกุล จงธนสารสมบัติ-
dc.contributor.author-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-12-15T03:16:19Z-
dc.date.available2012-12-15T03:16:19Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9745615552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27701-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractลักษณะอุตสาหกรรมเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในปัจจุบัน มุ่งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นสำคัญ แม้ว่าในระยะหลังจะมีการส่งออกบ้าง แต่ก็ยังมีมูลค่าน้อยมาก การผลิตยังคงต้องพึ่งพาวัตถุดิบและชิ้นส่วนจากต่างประเทศค่อนข้างสูง ทำให้ดุลการค้าของอุตสาหกรรมนี้ขาดดุล เมื่อขนาดตลาดจำกัด จึงเป็นผลให้ใช้กำลังการผลิตไม่ได้เต็มที่ต้นทุนจึงสูงกว่าที่ควร ยิ่งประสบกับการแข่งขันจากสินค้าลักลอบนำเข้า และสินค้าที่ผลิตจากโรงงานผิดกฎหมายซึ่งขายในราคาต่ำกว่ามาก อุตสาหกรรมนี้ก็แทบอยู่ไม่ได้ในขณะที่ผู้บริโภคก็ไม่ได้ประโยชน์จากสินค้าราคาถูกนั้น ทั้งนี้เพราะสินค้าผิดกฎหมายเหล่านั้นส่วนใหญ่ผลิตไม่ได้คุณภาพมาตรฐานซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาการกระจุกตัวของอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง เนื่องจากโรงงานเกือบทั้งหมดของอุตสาหกรรมนี้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรีเท่านั้น จากปัญหาข้างต้น จึงได้ทำการศึกษาโดยจะวิเคราะห์ถึง (1) ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของอุตสาหกรรมเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในปัจจุบันมีสภาพการผลิต การตลาด การใช้วัตถุดิบ ตลอดจนเทคโนโลยี่ที่ใช้ (2) วิเคราะห์นโยบายของรัฐว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพที่เป็นอยู่ของอุตสาหกรรมนี้อย่างไร (3) วิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขว่าจะทำได้อย่างไร ผลของการปรับปรุงดังกล่าวจะมีผลต่ออัตราการขยายตัวของผลผลิตหรือไม่เท่าใด จะทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้นหรือลดลง ในอัตราเท่าใด และจะทำให้รายได้จากภาษีของรัฐเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ทฤษฎีการคุ้มครอง เทคนิคการวัดอัตราการคุ้มครองผลผลิตและอัตราการคุ้มครองตามมูลค่าเพิ่มและใช้ Simple Regression Analysis ดูลักษณะความสัมพันธ์เพื่อคาดคะเนแนวโน้มในอนาคต เมื่ออัตราภาษีเปลี่ยนแปลงไป ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นมีสาเหตุที่สำคัญมาจากลักษณะโครงสร้างการคุ้มครองของอุตสาหกรรมหมวดนี้ มีอัตราไม่เหมาะสมและแตกต่างกันมาก ผลิตภัณฑ์บางชนิดได้รับการคุ้มครองสูงเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ โครงสร้างอากรขาเข้าที่เป็นอยู่ก็ไม่สนับสนุนให้มีการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบภายในประเทศ เนื่องจากอากรขาเข้าของชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่สำคัญหลายรายการมีอัตราต่ำกว่าหรือเท่ากับชิ้นส่วนวัตถุดิบที่นำมาผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปนั้น อุตสาหกรรมในประเทศจึงอยู่ในขั้นการประกอบเป็นส่วนใหญ่ อัตราภาษีการค้าและอากรขาเข้าผลิตภัณฑ์บางชนิดสูงมาก จูงใจให้เกิดโรงงานผิดกฎหมายและการลักลอบนำเข้า ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการเชื่อมโยงการผลิตระหว่างกิจการขนาดใหญ่กับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากโรงงานใหญ่จะทำการผลิตเองทุกขั้นตอนเพื่อลดต้นทุนภาษีการค้า นอกจากนี้ความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างอัตราภาษีการขายกับภาษีรับจ้างผลิต ก็เป็นอุปสรรคก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงไปเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า และเป็นปัญหามากในการตีความของเจ้าหน้าที่ภาษี ส่วนปัญหานโยบายและมาตรการอื่น ๆ คือ ขาดแผนงานส่งเสริมอุตสาหกรรมในภูมิภาคและอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขาดการพัฒนาระบบการส่งเสริมการส่งออก และการส่งเสริมเทคโนโลยี่ ตลอดจนขาดการเตรียมพร้อมด้านกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมในประเทศที่กำลังขยายตัว ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาคือ ควรมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมนี้อย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาข้างต้นโดย (1) ปรับระบบอัตราภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีอัตราใกล้เคียงกันมากขึ้น เพื่อปรับอัตราการคุ้มครองให้เหมาะสม (2) ปรับปรุงระบบการส่งเสริมการส่งออกให้มีประสิทธิผลมากขึ้น โดยปรับอัตราชดเชยภาษีอากรใหม่ ขยายเวลาให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก และควรมีการจัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อให้สินเชื่อการส่งออก ศึกษาติดตามตลาดต่างประเทศ (3) ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี่ และ (4) เพิ่มการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
dc.description.abstractalternativeThe consumer electronics and electrical industry has been in existence for about 20 years. Currently it is still oriented toward domestic market, but has recently developed capacity to export some products. It relies largely on imported raw materials and components. Given the market constraint, the producers cannot fully utilize their capacity, which lead to higher cost of production. The situation is aggravated by the fierce competition from smuggled goods as well as products of illegally established plants. Though their prices are much lower, those goods with mediocre quality may be harmful to the consumers the other problem is concentration of the industry in Bangkok, Samutprakarn and Nodhaburi. In light of these problems, the objectives of the study are to: (1) analyse the present state of the industry in terms of structure of production and trade, input situation, technological capabilities, location, etc., (2) review and discuss the government policy and measure that serve to assist and inhibit the growth of the industry; and (3) identify structural problem and propose a set of government actions for structural readjustment program. Inter alia, the implications on industrial growth, imports, and government revenue will be analysed and taken into account. For analytical purpose, the nominal and effective protective rate technique and the simple regression technique are employed. The study finds out that the differentiated protection structure is mainly responsible for inefficient expansion of the industry. The tariff structure is favourable to production for domestic comsumption but is biased against exporting. It also discriminates against production of components, since higher tariff rates are imposed on intermediate inputs rather than on finished components. In effect, development of the industry lies in the stage of assemblying. Moreover, prohibitively high tariff and business tax rates have resulted in the proliferation of illegally established factories and the influx of smuggled goods. Incase of business tax, firms tend to minimize direct taxation of their products by vertically integrating the stages of production. This is reflected in limited cases of subcontracting arrangement. Other factors affecting the efficient development of the industry are the lack of action program to assist the small-scale and rural industries, insufficient export promotion, and lack of technology and manpower planning to satisfy the industry’s requirement. The policy implication is that, there is urgent need to undertake structural adjustment in the industry. The measures to be implemented should include; (1) tax reform to create a more uniformity in protection structure; (2) improvement in export promotion program covering adjustment in tax rebate rates, extend the payback period for Export Promissory Note, set up an Export Credit Insurance Institution, and various trade measures by the Ministry of Commerce; (3) technology development program; and (4) promotion for the extensive application of industrial standards. The study has investigated and confirmed the feasibility of these measures.
dc.format.extent673928 bytes-
dc.format.extent810303 bytes-
dc.format.extent2847120 bytes-
dc.format.extent2608977 bytes-
dc.format.extent1003344 bytes-
dc.format.extent631652 bytes-
dc.format.extent2626086 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleอุตสาหกรรมเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า : การวิเคราะห์เชิงนโยบายen
dc.title.alternativePolicy analysis of the consumer electronics and electrical goods industryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikul_Jo_front.pdf658.13 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_Jo_ch1.pdf791.31 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_Jo_ch2.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Sirikul_Jo_ch3.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open
Sirikul_Jo_ch4.pdf979.83 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_Jo_ch5.pdf616.85 kBAdobe PDFView/Open
Sirikul_Jo_back.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.