Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27713
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระ บูรณากาญจน์
dc.contributor.authorองอาจ รัชเวทย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-15T04:40:34Z
dc.date.available2012-12-15T04:40:34Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27713
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractเนื่องจากวิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งขึ้นครั้งแรกในเนื้อที่จำกัดและไม่ได้คาดว่าจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารต่อมาไม่ได้ปฏิบัติตามผังแม่บทที่เคยกำหนดไว้ การขยายตัวจึงเป็นไปตามความเห็นชอบของผู้บริหารแต่ละท่านซึ่งดำรงตำแหน่งไม่นานนัก การขยายพื้นที่ของวิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพแต่ละครั้งเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า ทำให้การขยายตัวไม่สัมพันธ์กับพื้นที่และอาคารที่มีอยู่เดิม เพื่อให้การใช้ที่ดินและอาคารที่มีอยู่เดิม และที่จะได้เพิ่มขึ้นมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงและวางผังของวิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพของผังบริเวณและอาคารเดิม รวมทั้งสภาพการใช้สอยปัจจุบัน ศึกษาสภาพแวดล้อมโดยรอบบริเวณที่อาจมีผลกระทบต่อโครงการ ตลอดจนนโยบายด้านการบริหารในส่วนที่เกี่ยวข้อง และกำหนดแนวทางในการจัดสภาพแวดล้อมกายภาพของวิทยาเขตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเดิม สภาพแวดล้อมโดยรอบบริเวณและนโยบายการเรียนการสอน งานวิทยานิพนธ์นี้จึงได้ทำการค้นคว้า โดยวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้อาคารเรียน ความสัมพันธ์ของอาคารระหว่างแผนกวิชาต่าง ๆ ที่ตั้งของอาคารหน่วยสนับสนุนการศึกษา ความหนาแน่นของการใช้ที่ดิน ตลอดจนสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ นอกจากนี้ได้ออกแบบสอบถามอาจารย์ 57 คน นักศึกษาประมาณ 200 คน และสถาปนิก 6 คน ซึ่งทั้งหมดสังกัดวิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ และได้ค้นคว้าจากหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงและวางผังสถาบันอาชีวศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากการศึกษาได้พบแนวความคิดในการออกแบบแผนผังแม่บทวิทยาลัยเทคนิคโดยทั่วไป มักจะแยกพื้นที่ใช้สอยเป็นสามเขต คือ เขตการศึกษา เขตพักผ่อนและกีฬา และเขตพักอาศัย ภายในเขตการศึกษาก็มักจะจัดกลุ่มอาคาร เป็นสองประเภท คือประเภทที่มีหน้าที่ใช้สอยใกล้เคียงกันและสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน อีกประเภทหนึ่ง คือ กลุ่มที่ต้องการความสงบแยกจากกลุ่มที่มีเสียงรบกวน ส่วนอาคารที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน หรืออาคารที่ทำหน้าที่บริการทั่วไปนั้น จัดไว้ส่วนกลางของเขตการศึกษา นอกจากนั้นพยายามแยกทางสัญจร โดยยานพาหนะออกจากระบบทางเดินเท้า หลังจากได้ศึกษาปัญหาต่าง ๆ แล้วได้ทดลองออกแบบการแบ่งเขตใช้ที่ดิน 3 รูปแบบ และออกแบบถนนและผังบริเวณ 5 รูปแบบ เพื่อเลือกแบบที่ดีที่สุดมาพิจารณาปรับปรุงและวางผังแม่บทในชั้นรายละเอียดต่อไป จากผลการวิจัย เพื่อให้รับกับการขยายตัวตามโครงการพัฒนาการศึกษาระยะละ 5 ปี รวมสามระยะ โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ พ.ศ.2525 นักศึกษาที่เต็มโครงการประมาณ 5,000 คน สำหรับเนื้อที่ 120 ไร่ และงบประมาณในระยะแรก 16 ล้านบาท เห็นควรปรับปรุงและวางผังแม่บทของวิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ โดยแยกเขตการศึกษา เขตพักอาศัย เขตพักผ่อนและกีฬา ออกจากกัน สำหรับเขตการศึกษาควรแยกกลุ่มโรงฝึกงานออกจากกลุ่มอาคารเรียน โรงฝึกงานที่มีลักษณะใช้สอยใกล้เคียงกันควรอยู่กลุ่มเดียวกัน โรงฝึกงานไม่ควรอยู่ห่างจากอาคารอื่น ๆ เพราะมีเสียงรบกวนสูงและมีฝุ่นละอองมาก ควรให้ความสำคัญแก่คนเดินเท้ามากกว่าผู้ใช้ยานพาหนะสร้างทางเดินเท้าที่คุ้มแดดฝนเชื่อมโยงระหว่างอาคารต่าง ๆ สร้างลานจอดรถใกล้อาคารวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิชาช่างกล คณะวิชาสามัญและอาคารอำนวยการให้เพียงพอและมีร่มเงาพอสมควร ส่วนบริการต่าง ๆ เช่นโรงอาหาร ศูนย์พัสดุและอุปกรณ์และร้านค้า ควรมีพื้นที่พอเพียงและอยู่ในตำแหน่งกลาง เจตนาของการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อแสดงให้เห็นการศึกษาและกระบวนการแก้ปัญหาของการวางผังอย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งเกี่ยวพันกับรูปแบบการดำเนินงานและลักษณะการใช้สอยสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาแบบต่าง ๆ ในทำนองเดียวกันหวังว่าข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาในการออกแบบจะแสดงให้เห็นการใช้คุณค่าของความงามจากประโยชน์ใช้สอยและวิธีพัฒนาการวางผังให้เป็นประโยชน์ คาดว่าผลสรุปจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะเสนอความคิดเห็นบางประการที่ตรงกับความคิดเห็นของผู้บริหารในการสนับสนุนโครงการในอนาคตสำหรับลักษณะและขอบเขตที่เหมือนกัน
dc.description.abstractalternativeSince Chiangmai Campus was first established on specific site and was not expected to be rapidly outgrown. Each director, who was delegated authority for a short period of time, did not followed any master plan. The expansion has been made by his own decision. The site expansion occurred each time was, therefore, mostly unexpected. So there is no relation to the existing premises. In order to make the most benefit of the existing premises and the annexes, a research on the improvement and planning of Chiangmai Campus should be made by studying physical aspects of site and building condition, analyzing the efficiency in utilizing the premises. The surrounding environment and administrative policies related to the project should be studied, and the guidelines for establishing the future physical environment of Chiangmai Campus should be set, so that there is an integration of the campus environment with the surrounding environment as well as the instructional policies. A study has been made by analyzing the efficience of utilizing the premises, the density of site, the relations among buildings of different divisions, the location of the administration building and including public utility as well as public health. In addition, questionnaires had been filled out by 57 instructor, 200 students and 6 architects of the campus. Information from various documents on improvement and planning, of both native and foreign vocational institutes, have also been used as reference. The results obtained from the research and following feasibility study strongly imply that planning for a new master plan of the campus should establish separate zoning for educational, residential, recreational and sport facilities. In educational area, buildings are often set in 2 categories: one with similar facilities, and the other with the need to be apart from source of noise. The buildings which offer instructional facilities or general service should be set in the central part of educational area. Besides this, vehicular ways should be separated from classrooms, and they may be grouped together if their functional requirements are of a similar nature. In conclusion of an extensive study of the problems to seek possible approaches for an ideal solution, three different land-use studies and five schemes for traffic pattern and site-planning were investigated. The most appropriate and acceptable master-plan for the new physical developments of Chiangmai Campus, was finally selected. The expansion project will be implemented in 3 stages. Each stage will span over a period of 5 years, beginning in 1982. The completed final scheme will be able to accommodate facilities for a maximum enrollment of 5, 000 students, within a site of a 120 Rai. An Expected budget for the first stage of planning development will be 16 million Bahts. As a result of this study, it is advisable to lay a master-plan for the Chiangmai Campus by dividing the site into: educational area, residential area, recreational and sports area. On the educational area, workshops should be separated from classrooms. Similar workshops should be grouped. Woodworking shop should be set apart from other shops because of terrible noise and dust. More emphasis should be made for pedestrians than vehicles. Covered walks should be connected between buildings. Enough car parks should be built near Business Administration Department, Mechanical Department, Department of Academic Subjects, and Administration Building. Such facilities as refectory, Material and Equipment Center, Student Union and Co-op. should be spacious enough and be located in the central area. It is the intention of the author that this thesis should reveal a specific insight into the study process of tackling problems of planning, which involved the operational and utilization aspects of the various educational facilities. In the same context, it is hoped that the proposed design solution will demonstrate the application of aesthetic qualities to the functional approach of planning developments, It is hoped that the outcome of this thesis will offer some pertinent and relevant ideas for the authorities who concern with their future project implementations of similar nature.
dc.format.extent621816 bytes
dc.format.extent388138 bytes
dc.format.extent1195115 bytes
dc.format.extent1302544 bytes
dc.format.extent348343 bytes
dc.format.extent1520595 bytes
dc.format.extent391950 bytes
dc.format.extent867075 bytes
dc.format.extent1218868 bytes
dc.format.extent335882 bytes
dc.format.extent2065890 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleโครงการปรับปรุงและวางผังวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพen
dc.title.alternativePlanning development project for Institute of Technology and Vocational Education Chiangmai Campusen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ong-ard_Ra_front.pdf607.24 kBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch1.pdf379.04 kBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch2.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch4.pdf340.18 kBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch5.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch6.pdf382.76 kBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch7.pdf846.75 kBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch8.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_ch9.pdf328.01 kBAdobe PDFView/Open
Ong-ard_Ra_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.