Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27881
Title: แนวทางการจัดบุคลากรในการควบคุมการก่อสร้างในโครงการภาคราชการ กรณีศึกษา โครงการขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000-10,000 ตารางเมตร
Other Titles: Guidelines for team organization for government construction project case study : project area between 2,000-10,000 sq.m.
Authors: สุกฤตา สกุลเกื้อกูลสุข
Advisors: อวยชัย วุฒิโฆสิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การจัดการ
การตรวจสอบงานก่อสร้าง
ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
Construction industry -- Management
Building inspection
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในโครงการก่อสร้างโครงการหนึ่งๆ นั้นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำงานนั่นก็คือ ขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งโครงการก่อสร้างโครงการหนึ่งนั้นจะประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ที่มีความสำคัญแตกต่างกันไป ในปัจจุบันการก่อสร้างในโครงการต่างๆ มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ความละเอียดซับซ้อนในตัวงานมีมากขึ้น การว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างจึงมีความสำคัญมากขึ้น โดยในส่วนของภาคราชการนั้นจะมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 เป็นตัวกำหนดกรอบของค่าจ้างในการควบคุมงานในโครงการต่างๆ ไว้อย่างค่อนข้างจำกัด นั่นหมายถึงการรับงานในโครงการขนาดเล็กงบประมาณการก่อสร้างน้อย เป็นผลทำให้ได้รับค่าจ้างที่ไม่คุ้มกับการจัดบุคลากรที่มีประสบการณ์สูงในการดำเนินงาน และในทางกลับกันในโครงการขนาดใหญ่งบประมาณก่อสร้างสูงอัตราค่าจ้างจึงสูงขึ้นตามไปด้วย การจัดบุคลากรในการทำงานจึงสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่และคุ้มกับค่าจ้างที่ได้รับ วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อศึกษาถึงปัจจัยพื้นฐาน หน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงคุณวุฒิและประสบการณ์ของบุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมงานก่อสร้างในโครงการภาคราชการ กรณีศึกษา โครงการขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000-10,000 ตารางเมตร รวมถึงศึกษาจากโครงการจริงเพื่อวิเคราะห์ความไม่สมดุลกันระหว่างค่าจ้างที่ได้รับกับการปฏิบัติงานจริง โดยมีขั้นตอนในการศึกษาดังนี้ 1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการดำเนินโครงการ สรุปผลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ 2. รวบรวมข้อมูลจากเอกสารเพื่อเข้าใจระบบโครงสร้าง ข้อมูลขององค์กร และรวบรวมปัจจัยในการบริหารจัดการบุคลากรในโครงการก่อสร้างที่เคยเป็นมาในภาพรวม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ 3. เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างบริษัทและจากโครงการกรณีศึกษา 4. สรุปผลวิเคราะห์ภาคทฤษฎีและการสัมภาษณ์ภาคสนาม มาสรุปผลการศึกษาแนวทางการจัดบุคลากรในการควบคุมงานโครงการก่อสร้าง จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่บุคลากรผู้ให้บริการวิชาชีพควคุมการก่อสร้างที่อยู่ประจำโครงการภาคราชการขนาด 2,000-10,000 ตร.ม.จะมีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพประเภทภาคี และประสบการณ์การทำงานไม่เกิน 5 ปี โดยในส่วนของบุคลากรผู้มีประสบการณ์สูงจะไม่จัดให้มีการประจำโครงการเนื่องจากค่าบริการวิชาชีพสูง เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายให้สามารถครอบคลุมได้ทั้งโครงการ สรุปได้ว่า บริษัทต่างๆ จะต้องกำหนดบุคลากรตามแนวทางหรือข้อกำหนด (TOR) จากภาคราชการเนื่องจากหากไม่ระบุตามข้อกำหนด อาจจะทำให้ไม่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับงานโครงการนั้นๆ ได้ เพราะฉะนั้นการจัดบุคลากรตาม TOR จึงกำหนดทั้งประสบการณ์และคุณวุฒิสูง ทำให้ค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้างไม่สะท้อนความจริงของค่าปฏิบัติวิชาชีพทั้งหมด เนื่องจากบุคลากรประสบการณ์สูงจะมีค่าปฏิบัติวิชาชีพสูงตามไปด้วย การกำหนดบุคลากรจึงต้องมีการศึกษาถึงความเหมาะสมของประสบการณ์ คุณวุฒิ รวมถึงรูปแบบของโครงการ เพื่อลดช่องว่างระหว่างค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้างตามที่ทางราชการกำหนด กับค่าบริการวิชาชีพตามมาตรฐานอัตราค่าตอบแทนวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทยให้แคบลง โดยอาจมีการทำคู่มือกำหนดอัตราค่าจ้างเป็นขั้นบันไดให้เหมาะสมตามลักษณะงานแต่ละประเภท โดยเน้นไปที่งานภาคราชการเพื่อให้องค์กรไม่ประสบกับการขาดทุนและให้ผลงานเป็นไปตามเป้าหมายได้
Other Abstract: The most important step in a construction project is the construction process. At present, the process has improved significantly and a lot more attention to details has been implemented. As a result, hiring the right consultant company to supervise the construction is important. The government construction project has to abide by the 2,535 construction regulations outlined by the Office of the Permanent Secretary which requires remuneration for an independent consultant to supervise a government construction project, which is very small. As a result, the project budget can’t afford the high remuneration fees required by the highly qualified consultant companies. In contrast, this is not a problem for larger government construction projects. The purpose of this study was to investigate the factors, responsibilities, qualifications and experience of the consultants supervising government construction projects. The data were collected from a case study which was a construction project covering an area of 2,000-10,000 square meters and other existing projects to analyze the imbalance between the remuneration earned and the actual performance. The study procedures included a) a study of related concepts, theories, laws, project operations and concludes with the results so that they can be implemented, b) a collection of documented data to understand the structure of the system, the information concerning the organization and factors of personnel management in the previous construction projects to be used as a base for constructing a questionnaire and an interview, c) field data gathered using a questionnaire and interviews where sample companies provided data, d) analysis of the data and summary of the research results to be used as guidelines to foster improved team organization for government construction projects. Most of the consultants supervising the government construction projects, which covered an area between 2,000 and 10,000 square meters, graduated with a Bachelor degree and have an Associate Engineering license, but less than five years experience. Those with more than 5 years experience were not hired because of their high profession fees. The government agency had to make sure that the budget covered the whole project. It can be concluded that the consultant company should recruit its employees according to the government TOR because if the employees’ qualifications do not meet the TOR, they will not be selected to supervise the government construction projects. However, the remuneration paid according to the qualifications and the experience required by the TOR does not reflect the actual professional fees. The consultants with extensive experience require higher professional fees. When assigning a consultant to supervise a government project, the consultant company has to consider his or her qualifications and experience and the type of project carefully to reduce the gap between the remuneration specified by the government and the actual professional fees specified by the Consulting Engineers Association of Thailand. There should be a guidebook outlining the hierarchical rate of remuneration according to the type of project so that a company is not faced with a loss and gets the job done.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27881
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1438
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1438
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sukrita_sa.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.