Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/280
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์ทรงกลด คชเสนี สุทธิพิบูลย์-
dc.contributor.advisorอัมพร ม้าคนอง-
dc.contributor.authorอมรรัตน์ เหลืองแสงทอง, 2520--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-06T12:20:16Z-
dc.date.available2006-06-06T12:20:16Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741729677-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/280-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และเพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการ สื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตชั้นปีที่1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2545 จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 5500115 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ และแบบวิเคราะห์กลวิธีการ สื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้นิสิตบรรยายภาพจากแบบวัดเป็นภาษาอังกฤษพร้อมทั้งทำการบันทึกเสียง และถอดเทปข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การค่าร้อยละของผลรวมความถี่ของการใช้กลวิธีการสื่อสาร และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างของกลวิธีการ สื่อสารของนิสิตที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่างกันโดยการทดสอบด้วยไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษที่นิสิตชั้นปีที่1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้มากที่สุด คือ กลวิธีการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเกือบตรงกัน คิดเป็นร้อยละ 28.19 กลวิธีการสื่อสารที่นิสิตใช้ในอันดับรองลงมา คือ กลวิธีการกล่าวซ้ำ คิดเป็นร้อยละ 19.45 ส่วนกลวิธีการสื่อสารที่นิสิตใช้น้อยที่สุด คือ กลวิธีการพูดภาษาอื่นปนกับภาษาเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 0.16 นอกจากนี้เมื่อจำแนกตามระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตชั้นปีที่1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ใช้กลวิธีการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงหรือเกือบตรงกันมากที่สุด ใช้กลวิธีการกล่าวซ้ำในอันดับรองลงมา และใช้กลวิธีการพูดภาษาอื่นปนกับภาษาเป้าหมายน้อยที่สุดเช่นเดียวกันทุกกลุ่ม 2. นิสิตชั้นปีที่ 1 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับสูง ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตที่มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับสูงใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างจากนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับปานกลางและระดับต่ำ และนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับปานกลางใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษแตกต่างจากนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับต่ำen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate the use of Communication Strategies for oral communication of first year students, Chulalongkorn University and to compare the use of communication strategies for oral communication of first year students, Chulalongkorn University with different English learning achievement. The sample consisted of 60 first year students at Chulalongkorn University in the academic year 2002 who was purposively selected from those registered in the course 5500115 FOUNDATION ENGLISH 1. The research instruments were the Communication Strategies for Oral Communication Test and the Communication Strategies Analysis Form constructed by the researcher. The subjects were asked to describe the pictures in the test in English and their descriptions were tape-recorded then transcribed by the researcher. The statistical procedures employed to examine the data were percentage and Chi - Square Analysis with the value of significant different of .05 The results of this study revealed that : 1. First year students at Chulalongkorn University used Approximation Startegy the most at the percentage of 28.19, followed by Repetition Strategy at the percentage of 19.45 and L3 Switch Strategy the least at the percentage of 0.16. Besides, first year students with high, average and low English learning achievement used Approximation Startegy the most, followed by Repetition Strategy and L3 Switch Strategy the least. 2. First year students with different English learning achievement used communication strategies for oral communication significantly differently at .05: students with high English learning achievement used communication strategies for oral communication differently from those with average and low English learning achievement; and students with average English learning achievement used communication strategies for oral communication differently from those with low English learning achievement.en
dc.format.extent925371 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.644-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นิสิตen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การพูดen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en
dc.subjectความสามารถทางภาษาen
dc.titleการเปรียบเทียบกลวิธีการสื่อสารเพื่อการพูดภาษาอังกฤษ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันen
dc.title.alternativeA comparison of communication strategies for oral communication of first year students, Chulalongkorn University with different English learning achievementen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChansongklod.G@chula.ac.th-
dc.email.advisorAumporm.M@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.644-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat.pdf904.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.