Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2810
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา ชาญสง่าเวช | - |
dc.contributor.author | วทัญญุตา ภู่โยธิน, 2520- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-25T05:03:16Z | - |
dc.date.available | 2006-09-25T05:03:16Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740310834 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2810 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en |
dc.description.abstract | การคัดเลือกแบคทีเรียที่ผลิตโปรติเอสในอาหารแข็งสูตรมีเดียม 73 ที่มี 20 เปอร์เซ็นต์ โซเดียมคลอไรด์ และพีเอช 5.5 จาก 45 ไอโซเลต โดยใช้บรรทัดฐานการมีค่าอัตราส่วนสูงที่สุด ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางวงใสต่อเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนี พบไอโซเลต SA.02 ซึ่งแยกจากเกลือสมุทรที่ใช้ในการผลิตซีอิ๊วระดับห้องปฏิบัติการ มีอัตราส่วนดังกล่าวสูงที่สุด และเพิ่มจำนวนเซลล์ได้ดีในอาหารสูตรมีเดียม 73 ที่มี 5-10 เปอร์เซ็นต์ โซเดียมคลอไรด์ ผลการจำแนกชนิดไอโซเลต SA.02 พบว่ารูปร่างเซลล์เป็นแท่ง ติดสีแกรมบวก มีสปอร์ ชนิดของแฟลกเจลาแบบเพอริไทรคัส เพิ่มจำนวนเซลล์เฉพาะในที่มีอากาศ และทดสอบด้านชีวเคมี รวมถึงหาลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA พบว่าไอโซเลต SA.02 มีลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA คล้ายกับลำดับนิวคลีโอไทด์ของ 16S rDNA ของ Halobacillus trueperi 99 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบด้านชีวเคมีเพิ่มเติม เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนกันระหว่างไอโซเลต SA.02 กับ Halobacillus trueperi และ Halobacillus thailandensis พบว่ามีผลการทดสอบทางชีวเคมีคล้ายกับ Halobacillus trueperi มากกว่าคล้ายกับ Halobacillus thailandensis จึงสรุปผลการทดลองว่า ไอโซเลต SA.02 อาจเป็น subspecies หนึ่งของ Halobacillus trueperi งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแรกที่พบ Halobacillus sp. ในเกลือสมุทร ผลการทำโปรติเอสจาก Halobacillus trueperi subspecies thailandensis ให้บริสุทธิ์ พบว่าแบคทีเรียนี้ขับโปรติเอสแอคติวิตีสูงสุด (65.6 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) ในอาหารสูตรมีเดียม 73 สูตรปรับปรุงที่มีสารสกัดจากยีสต์เพิ่มขึ้นเป็น 1.5 กรัมต่อลิตร ที่มี 5 เปอร์เซ็นต์ โซเดียมคลอไรด์ ทำโปรติเอสให้บริสุทธิ์โดยตกตะกอนด้วย 0-50 เปอร์เซ็นต์ แอมโมเนียมซัลเฟตอิ่มตัว และการทำดีอีเออี ไบโอ-เจล เอ, เซฟาเดกซ์ จี-50 เจลฟิวเตรชัน และ SDS-PAGE คู่กับการย้ายแถบโปรตีนจาก SDS-PAGE เจลไปยัง ซับสเตรต-PAGE เจล พบว่า สามารถทำโปรติเอสให้บริสุทธิ์ขึ้น 1.5 เท่า แต่มีร้อยละการตรวจพบแอคติวิตีเหลือเพียง 0.25 โปรติเอสมีน้ำหนักโมเลกุล 31 กิโลดาลตัน พบว่า 5 มิลลิโมลาร์ EDTA ยับยั้งการทำงานของโปรติเอสเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ จึงจัดเป็น metalloprotease | en |
dc.description.abstractalternative | Selection of halophilic protease-producing bacteria in M73 agar medium with 20% sodium chloride, pH 5.5, from 45 isolates based on a criterion of the highest ratio between diameter of clear zone and diameter of colony showed that the highest ratio was obtained for the isolate SA.02 isolated from sea salt, used in lab-scale production of soy sauce. The isolate grew well in Medium 73 with 5-10% sodium chloride. Identification was based on rod-shaped, Gram positive, spore production, peritrichous flagellation, strictly aerobes and other biochemical tests including sequencing of 16S rDNA. Homology comparisons with 16S rDNA sequences deposited at GenBank revealed that the isolate{174}s 16S rDNA was 99 % homology with that of Halobacillus trueperi. Additional biochemical tests revealed that isolate SA.02 more closely resembled Halobacillus trueperi than Halobacillus thailandensis. It was concluded that isolate SA.02 was a subspecies of Halobacillus trueperi. This is the first report on the isolation of Halobacillus sp. from sea salt. Optimization of Medium 73 led to an increased protease activity (65.6 unit.ml-1) when yeast extract was increased from 1.0 to 1.5 g.l-1. The enzyme was purified 1.5 folds with 0.25% recovery by 0-50% ammonium sulfate precipitation, DEAE Bio-gel A column chromatography, Sephadex G-50 gel filtration. SDS-PAGE followed by transfer of polypeptide bands to casein-polyacrylamide gel revealed the molecular weight of the enzyme was 31 kD. EDTA was found to almost 100% inhibit this protease activity therefore the enzyme was a metalloprotease. | en |
dc.format.extent | 2241065 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โปรติเอส--การทำให้บริสุทธิ์ | en |
dc.subject | แบคทีเรียชอบเค็ม | en |
dc.title | การทำให้บริสุทธิ์บางส่วนของโปรติเอสที่ผลิตโดยแบคทีเรียชอบเค็ม Halobacillus trueperi subspecies thailandensis | en |
dc.title.alternative | Partial purification of protease produced by halophilic Halobacillus trueperi subspecies thailandensis | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Kanjana.c@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vatanyuta.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.