Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28197
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภางค์ จันทวานิช | - |
dc.contributor.author | วัลยา มนัสเกษมสิริกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | ตาก | - |
dc.date.accessioned | 2012-12-27T06:56:36Z | - |
dc.date.available | 2012-12-27T06:56:36Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28197 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์การย้ายถิ่นและความต้องการทางการศึกษาของเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2) วิเคราะห์สิทธิและการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติ 3) ศึกษากระบวนการการจัดการศึกษาโดยองค์กรพัฒนาเอกชน 4) นำเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติโดยองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทย ในการศึกษาผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่ขององค์กรพัฒนาเอกชน และบุคลากรในศูนย์การเรียน รวมทั้งได้ทำการสัมภาษณ์นักเรียนซึ่งเป็นเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติในศูนย์การเรียนที่ดำเนินงานโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นพื้นที่ที่มีเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากสถานการณ์ที่เด็กย้ายถิ่นข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาในระบบโรงเรียนไทย จึงพบว่า มีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาจัดการศึกษาในรูปแบบศูนย์การเรียนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทำให้อำเภอแม่สอดกลายเป็นแหล่งการศึกษาสำหรับเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยพบว่ามีศูนย์การเรียนที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กย้ายถิ่นข้ามชาติมากถึง 47 แห่ง และมีนักเรียนศึกษาอยู่จำนวน 6,346 คน สำหรับกระบวนการการจัดการศึกษาประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษาให้เด็กมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม และการบริการทางการศึกษา เช่น การงดเว้นค่าเล่าเรียน บริการรถรับส่ง การจัดที่พักและอาหารให้แก่นักเรียน เป็นต้น ทางด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ โดยครูจะทำหน้าที่วางแผนการสอน ให้ความรู้ ประเมินผล และพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งหลักสูตรที่ใช้ในศูนย์การเรียนนั้นมีความหลากหลาย ทั้งหลักสูตรพม่า หลักสูตรกะเหรี่ยง หลักสูตรไทย และหลักสูตรอื่นๆ โดยครูจะเลือกเนื้อหาจากหลักสูตรต่างๆ ที่เหมาะกับพื้นฐานและความสามารถในการเรียนรู้ของนักเรียน สำหรับวิชาเรียนประกอบด้วย วิชาภาษาพม่า ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ในบางศูนย์การเรียนจะสอนวิชาอื่นเพิ่มเติม ได้แก่ ภาษากะเหรี่ยง ประวัติศาสตร์กะเหรี่ยง คอมพิวเตอร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา และงานฝีมือต่างๆ ปัจจุบันพบว่า ศูนย์การเรียนส่วนใหญ่จะเปิดสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา (grade1 –grade4) ซึ่งถือเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และในหลายศูนย์การเรียนเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา (grade 5- grade10) นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งศูนย์การเรียนที่เปิดสอนในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา (post ten grade11 –grade12) ข้อมูลการจัดการศึกษาสำหรับเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติขององค์กรพัฒนาเอกชน สามารถนำมาสรุปเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา โดยสิ่งที่ศูนย์การเรียนต้องพัฒนาประการแรก คือ มาตรฐานทางการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนการสอนให้มีมาตรฐาน โดยคำนึงถึงพื้นฐานและความต้องการของผู้เรียน มีการอบรมครูทุกคนให้มีประสิทธิภาพในการสอน การปรับปรุงสถานที่เรียน รวมทั้งต้องส่งเสริมให้ชุมชน ผู้ปกครอง และนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดศึกษา นอกจากนี้นโยบายทางการศึกษายังต้องสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคน และสุดท้ายรัฐบาลไทยควรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาให้การศึกษานอกระบบสำหรับเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติมีคุณภาพมากขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this thesis are 1) To study situation of migration and the education requirement of migrant children in Mae Sot district, Tak province. 2) To examine the right and the accessibility to education of migrant children in Thailand. 3) To study the process of education management for migrant children provided by NGOs 4) To present methods of education management for migrant children provided by NGOs in Thailand. In this regard, the author applied the qualitative research method by collecting information from secondary sources and in-depth interviewing with non-governmental organizations, school officers and 20 migrant children who study in migrant schools. The research found that in Mae Sot district, there are many migrant children who cannot access to formal education in Thai schools. From this situation, many non-governmental organizations set up schools to educate migrant children in various areas. Consequently, Mae Sot district has become the biggest education center for migrant children in Thailand with more than 47 migrant school and 6,346 migrant students. The education management process consists of supporting migrant school by giving opportunity to access to education and other education service, such as free tuition, school bus, dormitory and food. In the education management, the research found that teachers are the most important part of education management in terms of planning learning methods, teaching, learning assessment and developing teaching and learning. Many curricula are used in schools, Burmese Curriculum, Karen Curriculum, Thai Curriculum and others. Teachers will design subjects according to student’s background and students’ learning ability. Burmese, English, Thai, Math, Science, History and Geography are taught in every school. Moreover, Karen, Karen History, Computer, Art, Music, Sport and etc. are taught in some schools. Most of schools consist of kindergarten and primary level (grade 1-4) which are the basic education. Some open middle school (grade 5-7) and high school (grade 8-10). There is 1 school which opens higher education in post ten program (grade 11-12). From the study, education management should be developed. First of all, the education standard both curriculum and teaching should be developed with consideration on students’ needs and background. Secondly, teaching seminar and encouraging participation of communities, parents and students should be included in education development. Moreover the education policy should be opened for every child to be able to access and consider more on students’ background including their mother language and culture. Finally, Thai government should take part in developing migrant education to improve informal education to be more quality education for migrant children. | en |
dc.format.extent | 4871280 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.30 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษา -- แง่ประชากร | en |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว -- บุตร | en |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว -- ไทย -- ตาก | en |
dc.subject | องค์กรพัฒนาเอกชน | en |
dc.title | กระบวนการการจัดการศึกษาสำหรับเด็กย้ายถิ่นข้ามชาติโดยองค์กรพัฒนาเอกชน : กรณีศึกษาอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก | en |
dc.title.alternative | Process of education management for migrant children by NGOs : a case study of Maesot District, Tak Province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พัฒนามนุษย์และสังคม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Supang.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.30 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanlaya_ma.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.