Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28214
Title: | การลดมลพิษในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยกระบวนการดูดซับด้วยไคโตซาน |
Other Titles: | Reduction of pollutants in wastewater from biodiesel production plant by adsorption with chitosan |
Authors: | วิภาวัลย์ พิทักษ์พูลศิลป์ |
Advisors: | มะลิ หุ่นสม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | mali@sc.chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดน้ำมัน ไคโตแซน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการดูดซับสารมลพิษในน้ำเสียจากกระบวนการผลิต ไบโอดีเซลด้วยไคโตซานในห้องปฏิบัติการ ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ค่าความเป็นกรด-เบส (2-8) ปริมาณตัวดูดซับ (0.5-5.5 กรัมต่อลิตร) เวลา (0.5-5 ชั่วโมง) และอัตราเร็วในการเขย่า (120-350 รอบต่อนาที) พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการลดสารมลพิษในน้ำเสียกระบวนการผลิตไบโอดีเซลด้วยไคโตซาน คือความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 4 ปริมาณตัวดูดซับ 3.5 กรัมต่อลิตร เวลา 3 ชั่วโมง และอัตราการเขย่า 350 รอบต่อนาที ซึ่งสามารถลดค่าบีโอดี ซีโอดี และไขมันและน้ำมัน ร้อยละ 68 93 และ 84 ตามลำดับ โดยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจะยังมีปริมาณบีโอดี และซีโอดี และไขมันและน้ำมันเท่ากับ 395 1,216 และ 105 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งยังมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานประมาณ 6 3 และ 7 เท่าตามลำดับ จึงนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วนั้นมาบำบัดซ้ำอีก พบว่าน้ำเสียมีสมบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อผ่านการบำบัด 5 ครั้ง กล่าวคือมีปริมาณไขมันและน้ำมัน บีโอดี และซีโอดี เท่ากับ 15 25 และ 183 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ โดยมีร้อยละการลดลงของสารมลพิษเท่ากับ 97.1 96.5 และ 97.7 ตามลำดับ ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านการดูดซับซ้ำนั้นสามารถปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมได้ การฟื้นฟูสภาพไคโตซานที่ผ่านการใช้งานด้วยกรดไนตริกและโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตร ครั้งที่ 1 และ 2 มีประสิทธิภาพในการดูดซับสารมลพิษใกล้เคียงกับไคโตซานที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน ไอโซเทอมของการดูดซับจะสอดคล้องกับแบบจำลองของแลงเมียร์ |
Other Abstract: | This research was carried out to reduce pollutants in wastewater from a biodiesel production plant by adsorption with chitosan. The investigated parameters were pH (2-8), dose of adsorbent (0.5-5.5 g/l), adsorption time (0.5-5 hr) and shaking rate (120-350 rpm). The results showed that the optimal conditions for reducing pollutants in biodiesel wastewater via chitosan were pH of wastewater of 4, dose of adsorbent of 3.5 g/l, adsorption time of 3 hr and shaking rate of 350 rpm. At this condition, greater than 68 93, and 84 % of BOD, COD and oil & grease were reduced, respectively. However, it still contained BOD, COD and oil & grease of around 395 1,216 and 105 mg/l respectively, which were better than the standard value of 6, 3 and 7-fold, respectively. The wastewater with accepted properties for discharging was obtained after 5 times of re-treatment. It contained oil & grease BOD, COD and of around 15, 25 and 183 mg/l or corresponding to 97.1, 96.5 and 97.7 % removal. The regeneration of chitosan with 0.1 M HNO₃ and NaOH for the 1st and 2nd time provided the chitosan having the adsorption efficiency close to the first chitosan. The adsorption isotherm of chitosan for biodiesel wastewater was the Langmuir isotherm. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28214 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1502 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1502 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wipawan_pi.pdf | 5.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.